ประวัติ และการดูเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย นิลศิลป์, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. กระเบื้อง

    กระเบื้อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,204
    ค่าพลัง:
    +600
    ขอบคุณมากครับ

    ขอบคุณมาก ๆ ครับคุณ Jin
     
  2. ไทยพุทธ

    ไทยพุทธ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    ได้ความรู้ดีมากครับ เพื่อเป็นการขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่มาแนะนำเรื่องเขี้ยวเสือ เลยส่งรูป เขี้ยวเสือกลวง กับ เขี้ยวหมูตัน ที่สะสมไว้มาให้ศึกษากัน และน้อมรับคำแนะนำติชมครับ :cool:

    * รายละเอียดเพิ่มเติม :
    - เขี้ยวเสือกลวง ความยาวประมาณ 4 นิ้ว กลวงตลอดเขี้ยว ไม่มีจารย์ ไม่สามารถถ่ายด้านในให้ดูได้เนื่องจากเชื่อมฝาปิดแล้วไว้สำหรับห้อยคอ โดยลักษณะกลวงของเขี้ยวเสือ เพื่อนสมาชิกลองดูตามลิ้งก์เลยครับ (ไม่ได้ถ่ายจากของจริง แต่เป็นลักษณะเดียวกัน) คลิ๊กดูที่ลิ้งก์
    - เขี้ยวหมูตัน ความยาวประมาณ 6 นิ้ว ตันตลอดเขี้ยว มีรอยจารย์ที่เขี้ยว ไม่สามารถถ่ายรอยจารย์มาให้ดูได้เนื่องจากคุณภาพกล้องไม่ดี

    * หมายเหตุ : ภาพที่นำมาแสดงมีขนาดใหญ่เพื่อการรับชมที่ชัดเจน และมีการปรับแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้ดูใกล้เคียงกับของจริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1210468b.jpg
      P1210468b.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      337
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2010
  3. งั้นมั้ง

    งั้นมั้ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    เอาด้วยคนครับ ใต้คางมียันต์ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  4. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    ตัวนี้ก็ไม่ใช่ครับ ของเลียนเเบบ
     
  5. งั้นมั้ง

    งั้นมั้ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    หรอครับ แสดงว่าผมขายของเรียนแบบชิ้นนี้ได้เงิน สามแสนกว่าบาท กำไรจังครับ catt3 งั้นผมขอลบรูปทิ้งละกันครับ จะได้ไม่มีใครจำผิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  6. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    55555555555!!!!

    ตัวนั้นน่ะครับ สามเเสน

    ระวังเค้าจะฟ้องเอาเด๋วเหมือนยายผีป่าครับ
     
  7. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    เอางี้ดีกว่าครับผมจะให้กำไรคุณ อย่าขายเลยครับสามเเสนผมให้เลยสี่เเสนบาท เเต่มีข้อเเม้ว่าต้องผ่านตาพี่หมึก ท่าพระจันทร์ก่อนนะครับ

    0854890591
     
  8. งั้นมั้ง

    งั้นมั้ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณครับ สำหรับความหวังดี แต่ว่าขายไปแล้วครับ แล้วเค้าก็เอาไปเช๊คเรียบร้อยแล้วครับ เค้าพอใจก็เลยจ่ายเงินผมมาครับ หรือว่าเค้ามีเงินเหลือก็ไม่ทราบครับ อีกอย่างครับ ผมว่า เสือหลวงพ่อปาน อายุการสร้าง 100 กว่าปี และก็การแกะผมว่าแล้วแต่ว่าใครจะแกะยังไง ดังนั้นผมมองว่าไม่มีพิมพ์ที่ตายตัวครับ ส่วนอายุความเก่าผมว่าก็ไม่ต่างกับพระเครื่องหรอกครับ มันก็แล้วแต่ตาคนว่าจะตีกันไปยังไง แล้วก็ของอย่างนี้ผมว่าขึ้นอยู่กับความพอใจของคนซื้อกับคนขายครับ หรือว่าคุณอายุ 100 ปีหรือครับ ถึงได้มาฟันธง ถ้าใช่ต้องขอโทษด้วยครับ ที่ล่วงเกิน ;ปรบมือ

    ลืมตอบไป ส่วนเรื่องฟ้องไม่กลัวครับ เพราะว่าก่อนซื้อได้ตกลงแล้วครับ ถ้าเค้าไม่พอใจผมก็ยินดีคืนเงินให้ตามระยะเวลาตกลง นี่ก็เลยระยะเวลาตกลงมาหลายเดือนแล้ว เจ้าของเงินเค้ายังไม่เห็นจะเดือดร้อนเลยครับ

    ของอย่างนี้มันอยู่ที่คนซื้อกับคนขายครับ.....พี่น้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  9. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    โอเคครับ เข้าใจละครับ ห้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


    ยังไงกรุณาลงรูปโชว์อีกรอบนะครับ เกิดมาไม่เคยเห็นเสือตัวสามเเสน เเพงจังเรย
     
  10. งั้นมั้ง

    งั้นมั้ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    เฮ้อ.........งั้นผมจะแนะนำเว๊ปให้ครับ ลองเข้าไปดูครับ จะได้เป็นวิทยานทานครับ ตัวเป็นล้านก็มีครับ

    ไม่รู้จะขำไรนักหนา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2010
  11. KRITA

    KRITA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2,060
    ค่าพลัง:
    +7,264
    มีกะเค้าอยู่หนึ่ง เดี๋ยวเอาลงมาให้ติชมกันครับ
     
  12. of2321

    of2321 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +865
    ได้มาจากสมุทรปราการครับ รบกวนพี่ๆๆสายหลวงพ่อปาน ดูให้หน่อยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2010
  13. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    มาดูวัตถุมงคล รุ่น 100 ปี เสาร์ 5 ที่ออกในนามวัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) ลองย่องไปที่วัดน่าจะพอเหลือครับ พอดีเพิ่งได้โบรชัวร์มาจากพี่ที่สนามกีฬาเลยนำมาให้ดูครับ ถ้าไม่มีรุ่นเก่าก็หารุ่นใหม่ได้ครับ

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2010
  14. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    พยัคฆราช อาจารย์สมชาย วัดปริวาสราชสงคราม รุ่นเสาร์ 5 เสือสำนักนี้ก็เข้มขลังและชื่อลือเรื่องมานาน

    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ตามด้วยวัตถุมงคลหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นสร้างอุโบสถ

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เมื่อวันเสาร์ที่ 10 ก.ค.53 ที่ผ่านมา ได้เข้าไปบูชาเหรียญหลวงปู่พริ้งวัดบางปะกอก รุ่นสร้างพระอุโบสถ แทนหลังเดิมที่ชำรุด และมีการทำถนนทำให้ถนนรอบโบสถ์สูงกว่ากำแพงโบสถ์แล้ว รูปไข่ หลังพระพุทธ ส้ราง 20,000 เหรียญ บูชา 299 บาท มี 2 แบบคือ แบบผิวไฟ และแบบรมดำ เหรียญสวยมากๆเลยครับ และบูชาล็อคเก็ตรูปไข่ใหญ หลวงปู่พริ้ง 299 บาท สำหรับเหรียญกลมขนาด 4 ซม. ทั้ง 2 พิมพ์คือ พิมพ์นั่งโต๊ะ และพิมพ์มารวิชัย เหรียญจะมีขนาดใหญ่แต่รูปถ่ายในโบรชัวร์จะลงขนาดเล็ก ลองหยิบไม้บรรทัดมาเทียบดูครับขนาด 4 ซม.จะใหญครับ เหรียญนี้ผมไม่ได้บูชามา ไปร่วมทำบุญสร้างพระอุโบสถด้วยกันครับ ได้วัตถุมงคลหลวงปู่พริ้ง เสด็จเตี่ย ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่พริ้งครับ ท่านให้พระโอรสไปบวชเณรอยู่กับหลวงปู่ 3 พระองค์ครับ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ท่านกล่าวชมเชยหลวงปู่พริ้งว่าหลวงปู่ท่านเก่งกรรมฐานมาก สมารถเนรมิตกระดูกมาจับต้องได้ ขณะพิจารณาร่างกาย

    สว่นเสือวัดปริวาส รุ่นเสาร์ 5 ไปตอนนี้ไม่เห็นมีของเลย พระบอกว่าของยังพอมีแต่รอเขาทำบัญชีก่อน ตอนนี้ทางวัดเปิดให้บูชา รุ่นมหามงคล 118 ปีอยู่ มีทั้งสมเด็จ เหรียญเม็ดแตง เสือมีหลายเนื้อ นำรูปบางส่วนมาฝากครับ

    นำรูปมาฝากครับ
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2010
  17. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    [​IMG] [​IMG]

    ประวัติหลวงพ่อพริ้งครับ ช่วยหลวงปู่สร้างโบสถ์กันนะครับ

    ขออนุญาตนำบทความบทหนึ่งของ คุณแทน ท่าพระจันทร์ จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด และขอบพระคุณภาพถ่าย 1 ภาพจากพี่อรวรรณ์ จันทร์ปะทิว (รูปสมทบทุนสร้างโบสถ์ผมนิลศิลป์นำมาจากเว็ป abhakana ขอขอบคุณครับ)

    สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราคุยกันถึงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอกกันบ้างครับ หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระของท่านมีทั้งเหรียญและพระเนื้อผง และเป็นที่นิยมของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาครับ

    ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดบางปะกอก ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์ บูรณะ กทม. ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านเป็นชาวบางปะกอกโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อสุ่น ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่วัดพลับ โดยอยู่กับพระน้าชายชื่อพระอาจารย์ดี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดทอง นพคุณ และต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้มาอยู่ที่วัดบางปะกอก อีก 2-3 ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ และเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคสงครามอินโดจีน สมณศักดิ์สุดท้ายที่ท่านได้รับก็คือ พระครูประศาสน์สิกขกิจ พระครูชั้นพิเศษ แต่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้งบ้าง หลวงปู่พริ้งบ้าง

    การศึกษาวิชาของท่านนั้นสืบไม่ได้ว่าท่านเรียนมาจากที่ใดเข้าใจว่าท่านคงศึกษามาจากที่วัดพลับนั่นเอง หลวงพ่อพริ้งท่านมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และทางหมอยา ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปะกอกใหม่ๆ ในย่านนี้มีนักเลงหัวไม้อยู่หลายก๊กงานวัดเมื่อไรก็จะมีการตีกันอยู่เป็นประจำ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ต่างๆ ก็เกรงกลัวท่านไม่กล้ามาก่อเรื่องอีก บ้างก็ฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่ก็หายหน้าหายตาไปเลย

    ในสมัยก่อนนั้นการเดินทางไปยังวัดบางปะกอกยังยากลำบาก ต้องเดินทางโดยเรือพาย แต่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมากราบท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ เช่นเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งท่านได้รับการบอกกล่าวมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ว่ายังมีพระอาจารย์ที่เก่งมีวิทยาคมสูงอยู่ทางบางปะกอก ซึ่งหลวงพ่อพริ้ง ครั้นต่อมาเสด็จในกรมฯ ท่านจึงได้มาลองวิชากับหลวงพ่อพริ้ง จนฝากตัวเป็นศิษย์ และนำพระโอรสมาบวชเป็นสาม เณรกับท่านถึง 3พระองค์ นอกจากนี้ทหารเรืออีกมากมายก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพริ้ง บางครั้งมีเรือจอดกันที่หน้าวัดแน่นขนัดไปหมด ผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อพริ้งต่างก็มาขอของขลังบ้าง ลงกระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บ้างเวลามีงานไหว้พระครูประจำปี ขบวนเรือจะจอดกันยาวเหยียดไปจนถึงปากคลอง ซึ่งจรดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางเกือบกิโลทีเดียว

    หลวงพ่อพริ้งท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง เช่น ลูกอมเนื้อผงเหรียญรูปท่านปี พ.ศ.2483 พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ไพ่ตอง พิมพ์พระคง และสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ธงผ้ายันต์เชือกคาดเอว ตะกรุด ฯลฯ เป็นต้น พระเครื่องของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อครั้งตอนสงครามอินโดจีนพระเครื่องและเครื่องรางของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว

    หลวงพ่อพริ้งท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ด้วยทุกครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านนิมนต์หลวงพ่อพริ้งลงแผ่นทองคำเพื่อนำไปหลอมในการสร้างพระกริ่งของท่าน ปรากฏว่าเมื่อช่างได้นำแผ่นทอง แดงของท่านลงในเบ้าหลอมรวมกับแผ่นทองแดงของอาจารย์ท่านอื่นๆ มีแผ่นทองแดงที่ไม่หลอม ละลายอยู่แผ่นหนึ่ง จึงนำขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นแผ่นทองแดงของหลวงพ่อพริ้ง จึงได้ทำการหลอมต่อ แต่ทำอย่างไรแผ่นทองแดงนั้นก็ไม่ละลาย ถึงกับต้องนิมนต์หลวงพ่อพริ้งมาจากวัด เมื่อท่านกำกับ ปรากฏว่าแผ่นทองแดงนั้นละลายไปอย่างง่ายดาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปอย่างกว้างขวาง

    หลวงพ่อพริ้งท่านมรณภาพลงในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2490 ในวันที่ท่านมรณภาพนั้นท่านได้ให้ลูกศิษย์ประคองท่านลุกขึ้นนั่งแล้วท่านก็ประสานมือในท่าสมาธิ ครู่เดียวท่านก็มรณภาพลง สิริอายุได้ 78 ปี เหรียญพระเนื้อผงและลูกอมของท่านนั้นปัจจุบันหายากพอสมควรครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2010
  18. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เสือวัดปริวาส รุ่น มหามงคล 108 ปี รุ่นนี้น่าเก็บสะสมครับ เชิญไปที่วัดได้เลยครับ หรือจะบูชาทางไปรษณีย์ก์ได้ตามด้านหลัง ผมนำมาบอกกล่าวด้วยใจบริสุทธิ์ครับ เพิ่งเข้าไปบูชามาเหมือนกัน เลยมาบอกกล่าวพี่ๆน้องๆครับ

    รุปสุดท้ายไม่ชัด

    จม.ธนาณัติได้ที่ พระบุญเรือง ปุญญวโร

    วัดปริวาสราชสงคราม ถนนพระราม 3 ซอย 30 เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10124
    ปณ.สาธุประดิษฐ์+ค่าจัดส่ง 50 บาท

    โทร.081-173-7312, 02-6825032 081-240-2970

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Picture 005.jpg
      Picture 005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178.4 KB
      เปิดดู:
      2,907
    • Picture 006.jpg
      Picture 006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      383.6 KB
      เปิดดู:
      168
    • Picture 007.jpg
      Picture 007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      308.9 KB
      เปิดดู:
      191
    • Picture 008.jpg
      Picture 008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      300.4 KB
      เปิดดู:
      155
    • Picture 009.jpg
      Picture 009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      315.2 KB
      เปิดดู:
      153
    • Picture 010.jpg
      Picture 010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      263.9 KB
      เปิดดู:
      202
    • Picture 011.jpg
      Picture 011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      298.2 KB
      เปิดดู:
      218
    • Picture 012.jpg
      Picture 012.jpg
      ขนาดไฟล์:
      333.2 KB
      เปิดดู:
      165
    • Picture 013.jpg
      Picture 013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.5 KB
      เปิดดู:
      159
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2010
  19. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    พอดีได้ไปที่อำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี และได้เข้ากราบนมัสการ รูปหล่อหลวงปู่ม่วง ณ วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี ผู้ปลุกเสกเหรียญพระอริยสงฆ์อันดับหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ท่านเป็นพระคณาจารย์ยุคเก่า วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อของท่าน ได้แก่ พิรอดแขน แหวนพิรอด รวมถึงเหรียญรุ่นแรกพิมพ์หน้าแก่ ถือเป็นเหรียญหลักในวงการ เหรียญแท้หายากมาก (ทราบมาว่าพิมพ์หน้าหนุ่มไม่ทันท่าน)

    วัดหลวงปู่เงียบสงบดีมากครับ มีวัตถุมงคลสร้างขึ้นใหม่อยุ่หลายรุ่นทั้งพระผง เหรียญย้อนยุค พิรอดแขนสร้างขึ้นใหม่ ที่สร้างและปลุกเสกโดยหลวงพ่อเสงี่ยม ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านได้วิชาหลวงปู่ม่วงไว้มาก เข้านมัสการหลวงปู่ และบูชาวัตถุมงคลได้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน หลวงพี่ที่ดูแล วัตถุมงคลท่านใจดี และเมตตามากๆ ท่านแถมวัตถุมงคลให้หลายแบบเลยครับ ได้บุญ และช่วยพัฒนาวัดด้วยครับ แวะไปกันนะครับ

    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี

    พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน อ.บ้านทวน(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อ.พนมทวน จ.กาญรนบุรี) จ.กาญจนบุรี ชาตะเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๖๖ ณ บ้าน ต.บ้านทวน จ.กาญจนบุรี โยมบิดาชื่อมั่น โยมมารดาชื่อใย สมัยนั้นไม่มีนามสกุล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน พออายุได้ ๑๑ ขวบ ซึ่งเป็นวัยควรแก่การเรียน บิดามารดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการศรี วัดบ้านทวนซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอมอย่างโบราณ สมัยนั้นต้องไปเรียนที่วัด กุลบุตรที่ไปเรียนต้องปรนนิบัติอุปฐากอาจารย์ คือเป็นศิษย์พระ รับใช้ท่าน กินนอนที่วัดเสร็จ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใดเลย การเรียนมิใช่จะเรียนแต่หนังสือแต่อย่างเดียว ยังได้ฝึกวิชาการต่างๆ เช่น การช่างและวิทยาคนอื่นๆ ซึ่งนิยมกันในครั้งนั้นเนื่องจากวัดเป็นแหล่งกำเนิดศิลปะวิทยาการทั้งปวง

    ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้สมควรแก่ความนิยมในสมัยนั้นแล้ว ก็ได้ลาอาจารย์ออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ได้เป็นกำลังของครอบครัว ด้วยนิสัยท่านว่านอนสอนง่าย ขยันขันแข็ง ทั้งยังเป็นคนมีร่างกายแข็งแรงใจคอกว้างขวาง กล้าหาญ มีสติปัญญา จะเล่าเรียนวิชาแขนงใด ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยเหตุนี้ พอรุ่นหนุ่มก็มีสมัครพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก มีลักษณะเป็นหัวหน้าคน พูดจริงทำจริง เด็ดขาด แต่ใจบุญ เพราะไปอยู่วัดหลายปี

    เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านทวน โดยมี พระอธิการศรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ช้าง วัดบ้านทวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์ยังหาหลักฐานอยู่ ยังไม่ทราบแน่ว่าเป็นใคร เพราะเป็นเรื่องเก่าแก่หาคนรู้ยากจริง เพียงแต่คนนี้เล่า คนโน้นเล่า ฟังแล้วยังสับสนอยู่ พอจะเชื่อได้ว่าท่านเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสมุทรสงคราม มีวิชาทำแหวนพิรอดอันลือชื่อ ถักลวดลายได้งดงาม มีทั้งแหวนพิรอดใส่นิ้วและสวมแขน ดังจะได้กล่าวต่อไป

    ท่านม่วง ได้ฉายาว่า จันทสโร บวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบ่นสวดมนต์ได้แม่นยำจนจบพระปาฏิโมกข์ เป็นที่น่าสังเกตว่า พระภิกษุในชนบทสวดมนต์เก่ง จะเอาบทไหนได้ทั้งนั้น ไม่เคยสวดแล้วล้ม เสียงดังฟังชัด การทำนอง สังโยค ลีลาไพเราะน่าฟัง จะเอาเร็วก็เพราะ ช้าก็เพราะ สมัยนั้นนอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังชอบเรียนธรรมกรรมฐาน สมถะ วิปัสสนาธุระ และไปฝึกพลังจิต คือการเดินรุกขมูลธุดงค์ในป่าลึกเข้าผจญต่อความทุกข์ทรมานและเสี่ยงกับสัตว์ร้าย เรียกว่าใครดีใครอยู่ ถ้าพลาดก็ไม่ได้กลับวัด เอาชีวิตไปทิ้งเสียกลางป่าก็มาก ด้วยโรคภัยไข้เจ็บมันรุนแรง สมัยก่อนมันทุรกันดารจริงๆไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ อาณาเขตเมืองกาญจน์ติดต่อกับประเทศพม่า การเดินธุดงค์ก็นิยมไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองเมืองร่างกุ้ง พระมุเตาเมืองหงสาวดี และพระภิกษุม่วงองค์นี้ก็ธุดงค์ไปถึงพม่าดังกล่าว นับว่าท่านมีความอดทนต่อความยากลำบากด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง

    ท่านเป็นผู้ที่ขยันและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ไม่เคยขาดทำวัตรสวดมนต์ สนใจในการศึกษาเล่าเรียน พอบวชได้ ๘ พรรษา ก็ได้เป็นคู่สวดประจำวัดบ้านทวน พอพรรษา๑๒ เจ้าอาวาสวัดบ้านทวนว่างลง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบล เรียกว่าเจ้าอธิการม่วง ท่านมีความสามารถทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ จึงมีคนเลื่อมใสเคารพนับถือเป็นอันมาก พรรษา๒๑ ได้เป็นพระอุปัชฌายะ อุปสมบทกุลบุตรปีหนึ่งๆมากมาย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวน ต่อมาสมัย ร.๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี เสด็จเมืองกาญจนบุรี ทรงเห็นความเป็นไปของคณะสงฆ์ในจังหวัดกาญจนบุรีเรียบร้อย ก็โปรดและทรงยกย่องเจ้าวัดเจ้าคณะนั้นๆ นับแต่พระครูวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) เจ้าคณะเมือง ตลอดมาถึงเจ้าคณะ แขวงอำเภอและพระคณาธิการ

    อนึ่ง ในการนี้ เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน อายุเวลานั้นชราถึง ๘๑ ปีแล้ว ได้เดินทางไปรับเสด็จถึงเมืองกาญจนบุรี และทูลการงานได้คล่องแคล่ว ทรงโปรดว่า ไม่วางตนว่าเป็นผู้ชราและอยู่เฉยเสีย ยังมีน้ำใจอยากรู้อยากเห็นหาความรู้ สมกับคำของพระพุทธเจ้าที่ว่า เด็กที่เล่าเรียนมีความรู้ สติปัญญาย่อมดีกว่าคนแก่ที่ไม่ได้เล่าเรียนไม่มีความรู้ ดีแต่มีอายุแก่แต่อย่างเดียว จะเห็นได้ว่า เจ้าอธิการม่วงท่านไม่ถือความมีอายุของท่าน ท่านสนใจเรื่องวิชาความรู้เป็นสำคัญ ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงเสด็จตอบถึงวัดบ้านทวน เป็นการแสดงน้ำพระทัยและรับสงเคราะห์ในเรื่องตำรับตำราที่จะเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแต่งไว้ เช่นนวโกวาท วินัยมุข บุพสิกขาวรรณา ฯลฯ นับว่าเจ้าอธิการม่วงได้เห็นการณ์ไกล ทำให้วัดบ้านทวนเจริญด้วยการศึกษาเป็นอันมาก ด้วยคุณงามความดีของเจ้าอธิการม่วง

    ครั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จกลับ พ.ศ.๒๔๘๘ ได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรให้เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน เจ้าคณะแขวงฯ เป็นที่พระครูสิงคิคุณาธาดา อันชื่อนี้เดิมชื่อ สิงคีบุรคณาจารย์ เป็นรองเจ้าคณะเมือง อยู่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เมื่อพระครูสิงคีบุรคณาจารย์(สุด) มรณภาพ พ.ศ.๒๔๕๔ ในการตั้งใหม่ครั้งนี้ได้ทรงแก้เป็นพระครูสิงคิคุณธาดา ให้ได้ลำดับสัมผัสกัน ในยุคนั้นตั้งแต่เจ้าคณะจังหวัดลงมา ดังนี้

    วิสุทธิรังสี วัดใต้

    สิงคิคุณธาดา วัดบ้านทวน

    จริยาภิรัต วัดหนองขาว

    ยติวัตรวิบูล วัดศรีโลหะราษฎรบำรุง

    อดุลยสมณกิจ วัดเหนือ

    นิวัฐสมาจาร วัดหนองบัว

    วัตตสารโสภณ วัดดอนเจดีย์(เดิมชื่อวัดประจันตคาม)

    ในการเลื่อนสมณศักดิ์หลวงพ่อม่วงคราวนั้น เมืองกาญจน์ได้เลื่อนทั้งหมด ๔ องค์ด้วยกันคือ พระครูวิสุทธิรังสี(เปลี่ยน) วัดใต้ เป็นพระราชาคณะ มีนามว่า พระวิสุทธิรังสี ชินศาสนโสภี สังฆปาโมกข์ เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี ตั้งเจ้าอธิการพรต วัดศรีโลหะราษฎรบำรุง เป็นพระครูยติวัตรวิบูล เจ้าคณะหมวด ตั้งพระอธิการดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เป็นพระครูอดุลยสมณกิจ ชื่อนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงคิดสำหรับพระอธิการดี เพราะโปรดว่าการปฏิบัติและกิจวัตรดีพร้อม เรียกว่าดีสมชื่อ ท่านองค์นี้ต่อมาได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ คือพระเทพมงคลรังสีเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ต่อจากหลวงพ่อเปลี่ยนวัดใต้ นับว่าเป็นพระราชาคณะชั้นเทพองค์แรกของเมืองกาญจน์เลยทีเดียว

    ทีนี้จะเล่าถึงหลวงพ่อม่วง เมื่อได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูสิงคิคุณาธาดา บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใส ได้แสดงมุทิตาจิตทำบุญฉลองเป็นงานใหญ่ ด้วยอายุท่านก็ชรามาก ได้ออกเหรียญรูปไข่เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ห่มลดไหล่ เหรียญหลวงพ่อม่วงนั้น มี ๒ แบบ คือแบบเหรียญหล่อ และเหรียญปั๊ม เหรียญหล่อเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ มีอักขระขอมรอบเหรียญ ๘ ตัว ด้านหลังมีข้อความว่า “ที่ระฤก อุปชาวัดบ้านทวน” และมีอักขระขอมว่า อิโส มิโส โมอะ นะลือ มีทั้งเงินและสำริด ส่วนเหรียญปั๊มนั้นเป็นรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ มีอักขระขอมรอบเหรียญ ๑๖ ตัว ได้แก่ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ สัง วิ เพา ปุ กะ ยะ ปะ แปลว่า อิติปิโส มงคลฯ กับหัวใจพระธรรม ๗ คัมภีร์ ด้านหลัง มีข้อความว่า “ที่ระฤก อุปชาวัดบ้านทวน” และมีอักขระขอมว่า อิโส มิโส โมอะ นะลือ เช่นเดียวกัน มีเฉพาะเหรียญทองแดงเท่านั้น

    เหรียญของหลวงพ่อม่วงมีคนนิยมมาก มีประสบการณ์ในทางมหานิยม และแคล้วคลาดอันตรายเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรี ก็มีคนเห็นฤทธิ์มามาก เหนียวดีจริงๆ ขณะนี้ชักหายากแล้ว ด้วยเป็นเหรียญยุคก่อน ออกมานานแล้ว มีคำขวัญว่า “ใครมีเหรียญวัดบ้านทวน ใครจะมาก่อกวนก็ไม่ต้องกลัว”

    จะขอกล่าวถึงอุปนิสัยของท่านบ้าง ท่านเป็นพระใจดีมีพรหมวิหารธรรม ใครได้พบได้สนทนาด้วย ก็รู้สึกอิ่มเอิบใจ ไม่ถือตัวถือชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่คนทั่วไป นอกจากเหรียญของท่านแล้ว ท่านยังทำแหวนพิรอดดังมาก จนมีคำขวัญว่า “ของดีของขลังของเมืองกาญจน์ก็มีลูกอมวัดหนองบัว แหวนพิรอดวัดบ้านทวน” ซึ่งดีทางคงกระพันชาตรี เวลาแจกเอาใส่เตาไฟ ไฟไม่ไหม้ จึงหยิบมาแจก นับว่าใช้อาคมกล้ามาก อันตำราทำแหวนพิรอดถักนี้เป็นของโบราณ สืบแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยนั้นในราชสำนักมีอาจารย์ฆราวาสชื่อดัง ๒ คน คือ พระวิชาจารย์มนตรี(อาจารย์ชาตรี) กับหลวงราชปรีชาหาญ(อาจารย์พิรอด) อาจารย์ ๒ คนนี้เคยไปกับ พระวิสูตรสุนทร(ปาน)หรือโกษาปาน ถึงประเทศฝรั่งเศส และได้ลองวิชาอาคมให้พระเจ้าหลุยส์ ประเทสฝรั่งเศสเป็นที่พอพระทัยมาก ได้รับรางวัลกลับเมืองไทยมากมาย

    หลวงพ่อม่วง(พระครูสิงคิคุณธาดา) บำรุงศาสนกิจมาด้วยความเรียบร้อย ท่านไม่เคยเจ็บป่วยออดแอด แต่พอชรามากก็หนีกฎธรรมดาไม่พ้น ได้ถึงมรณภาพด้วยโรคชรา สิริอายุได้ ๘๙ ปี ได้ทิ้งคุณงามความดีไว้เป็นที่ร่ำลือมาจนทุกวันนี้.

    ประวัติหลวงพ่อม่วง จันทสโร พระครูสิงคิคุณธาดา วัดบ้านทวน โดยคุณเภา ศกุนตะสุด
    (จากหนังสือที่ระลึกงานบรรจุศพนายกิตติ เหลืองไพบูลย์) .........ขอขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล-นิลศิลป์....


    นำรูปที่ไปมาให้ดู ผมไม่ได้ถ่ายเองหรอกครับ ไม่ได้นำกล้องไป แต่ได้ภาพจากผู้อาวุโสต่างวัยที่ไปกับผมด้วย ขอขอบคุณเขาด้วย ณ ที่นี้ ให้เขาช่วยถ่ายขอรูปเขามาบอกว่าจะนำไปลงเว็ป พร้อมนำประวัติหลวงปู่ให้อ่านกันครับ

    ประวัติหลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2010
  20. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    พี่อ๊อดเดินสายใหญ่เลยนะพี่ ไม่ค่อยเจอในบอร์ดเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...