ประวัติ และการดูเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย นิลศิลป์, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    น่ารัก องค์นี้ อยู่กับแฟน ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  2. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    ปัจุบันแต่งชุดสวยแล้วครับ ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0460-1.JPG
      IMG_0460-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266.4 KB
      เปิดดู:
      1,446
  3. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    ปัจจุบันผมใช้องค์นี้อยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  4. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    องค์นี้ขนทั้งตัวเลยครับ แถมยิ้มหวานด้วย ^^

    ผมดูไม่เป็นนะครับ แต่ชอบมากๆเลยเก็บ เริ่มที่1ตัว และก็มาเรื่อยๆเลยทีนี้

    ผมศรัทธาหลวงปู่ครับ ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0441-2.JPG
      IMG_0441-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      762.1 KB
      เปิดดู:
      2,189
    • IMG_0439-2.JPG
      IMG_0439-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      206.6 KB
      เปิดดู:
      1,445
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2009
  5. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    อิอิ มาแว้ว มาแว้ว...เยี่ยมจินจินคร้าบบบ...ค่อยมาเว้ากัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2009
  6. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เพิ่งได้เสือมาใหม่ 1 ตัว ครับ เป็นโคนเขี้ยว เป็นเสืออ้าปาก ตัวใหญ่ มีรูกลวงตามแบบฉบับเขี้ยวเสือ เนื้อไม่ถึงกับฉ่ำมาก อาจเป็นได้ว่าไม่ได้แขวนติดตัวติดเอว แต่เก่า และมีรอยแตกอ้าร้าวบนตัวเขี้ยว หลายรอย แตกจากบนลงล่าง ตามลักษณะของเขี้ยวเสือ มิใช่เขี้ยวสัตว์อื่น

    ศิลปการแกะพิมพ์องค์นี้ แกะได้สวยงามอลังการ ปราณีตมากมากครับ แต่เสียดายฐานเขี้ยว หลุดร่อนนิดหน่อย 2 ข้าง เจ้าของเดิมติดกาวไว้ แต่กาวหลุดทำให้เนื้อแหว่งไป หางของเสือตัวนี้แกะม้วนขึ้นไปบนหลัง ปราณีต ถูกตำราการแกะ องค์ที่ได้มา ดูง่ายตรงการลงจารเป็นลายมือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย แน่นอน จารครบสูตร ลึก หนักแน่น ลำตัวมีรอยจารหลายรอยจาร ใต้ฐานมีทั้งยันต์กอหญ้า และ ฤ ฤา จารลึก หน้าขา จารตัวอุ 2 ขา ซ้าย ขวา ที่พิเศษองค์นี้มีจารที่คางเสือด้วย อาจเป็นไปได้ว่าตัวนี้เขี้ยวใหญ่ จึงเหลือพื้นที่จารมาก ต้องให้เพื่อนถ่ายรูปให้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2009
  7. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    นำข้อมูลประวัติท่านมาให้อ่านกันเพิ่มเติมครับ เห็นว่ามีความพิเศษในบทความ และน่าสนใจ แสดงถึงการแสดงฤทธิ์อภิญญาของพระสงฆ์ในเขตบวรพุทธศาสนา เป็นลักษณะคำบอกเล่า หลวงพ่อปานเองท่านมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 และท่านเคยได้พบรัชกาลที่ 5 ซึ่งนานมากแล้ว ขอนำข้อมูลมาให้อ่านกันครับ จากเค้าโครงเรื่องของนักเขียนหลายท่าน เช่น คุณสุรสีห์ ภูไท ฯลฯ เคยเขียนประวัติไว้...

    เมืองสมุทรปราการ เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่ง มีวัดพุทธศาสนาอยู่ ๑๐๐ กว่าวัด มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายสำนัก เท่าที่ผ่านมา พระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม แก่กล้าด้วยพระเวทย์ ในย่านบางบ่อเห็นจะไม่มีใครเกิน หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปได้ (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า

    ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

    ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย

    เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด


    หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน ตามประวัติกล่าวกันว่า ท่านไปเรียนวิชานี้ จากหลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี ปรมาจารย์ด้านการสร้างเสือ ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู

    โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน

    หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้

    ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้

    นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯยังเป็นหัวหน้าสายรุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสี ซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสายมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้ มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น

    เนื่องจากหลวงพ่อปานมีอาคมขลัง มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์ เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

    เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อนที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔-๖ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน ขลังมาก”

    อานุภาพเสือหลวงพ่อปานวัดคลองด่าน แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย ปรากฏว่าเสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว

    ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์


    หลวงพ่อกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สมัยก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน (ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดฯให้เปลี่ยนชื่อ ตำบลบางเหี้ย เป็น ตำบลคลองด่าน คลองบางเหี้ย เป็นคลองด่าน และอำเภอบางเหี้ย เป็นอำเภอคลองด่าน ) ...

    บรรดาชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้เด็กป๊อดซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน

    เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กผู้ติดตาม แต่เด็กคนนั้นบอกกับท่านว่า

    “เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว”
    หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า
    “พอแล้วหลวงตา”

    หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย

    พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า
    “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”

    แล้วรับสั่งถามว่า
    “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”

    หลวงพ่อปานทูลตอบว่า
    “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)

    พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า

    “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว

    คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"

    จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า

    “ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”

    พระราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว

    บุญญาภินิหารของหลวงพ่อ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ
    อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่านเตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า

    “คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”

    พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า
    “อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”

    พระผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์

    ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา

    เรื่องนี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด

    ต่อมาเป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ

    ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ

    เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)

    เนื่องจากหลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า

    หลวงพ่อปานเห็นดังนั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

    ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”

    ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย

    ธรรมะของหลวงพ่อ:

    เป็นคำกลอนภาษาขอม ซึ่งท่านเขียนไว้ แปลมาเป็นภาษาไทยโดย ท่านพระครูสาธิตธรรมนารถ วัดราชนิยม จ.ชลบุรี ดังนี้

    อิมัสมิง กาเย ...
    เกสา ว่า ผม อย่าได้ชื่นชม ว่าผมโสภา
    เก้าล้านแสนเส้น ล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้สงกา ว่าเป็นแก่นสาร
    โลมา คือ ขน งอกทั่วตัวตน ว่าขนสาธารณ์
    เก้าโกฏิแสนเส้น มิเป็นแก่นสาร เวลาถึงกาล สาบสูญบรรลัย
    นะขา คือ เล็บ ยาวนักมักเจ็บ ว่าเล็บทั้งหลาย
    เปื่อยเน่าผุพอง เป็นหนองภายใน คนพาลเอาไว้ ย่อมเป็นกังวล
    ทันตา คือ ฟัน สามสิบสองอัน ข้างล่างข้างบน
    งอกขึ้นภายหลัง น่าชังเหลือทน หลุดถอนคลอนหล่น ทนทุกขเวทนา
    ตะโจ คือ หนัง ห่อหุ้มกายัง เท่าผลพุทรา
    หุ้มห่อรอบตัว ทั่วทั้งกายา เมื่อม้วยมรณา แร้งกาจิกกิน
    มังสา คือ เนื้อ อย่าได้เอื้อเฟื้อ เนื้อเก้าสิบชิ้น
    เน่านองกองเกื้อ อยู่เหนือแผ่นดิน แร้งกาจิกกิน เมื่อสิ้นอาสัญ
    นะหารู คือ เอ็น เมื่อเรายังเป็น เอ็นชักไหวหวั่น
    เอ็นใหญ่เก้าร้อย เอ็นน้อยเก้าพัน รัดรึงตรึงกัน ผูกพันกายา
    อัฐิ คือ กระดูก เอ็นนั้นพันผูก กระดูกนานา
    ได้สามร้อยถ้วนล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้สงกา ว่าเป็นแก่นสาร
    อัฐิมิญชัง กระดูกนั้นยัง มีเยื่อยืดยาน
    อยู่ในกระดูก หล่อเลี้ยงสังขาร เวลาถึงกาล สาบสูญบรรลัย
    วักกัง คือ ม้าม อยู่แอบแนบข้าง ริมเนื้อหัวใจ
    ผู้มีปัญญา จดจำเอาไว้ เร่งคิดให้ได้ ถึงพระอนิจจา
    หะทะยัง คือ หัวใจ พระท่านขานไข ว่าใจนานา
    ใจขึ้งใจโกรธ ใจโทษโทสา ใจมารแกล้วกล้า ฆ่าสัตว์ทั้งหลาย
    ใจมักเสียดส่อ ใจลวงใจล่อ ให้เขาหลงใหล
    ใจมืดใจมัว หลงตัวจนตาย ใจดำนี้ไซร้ เหมือนสัตว์เดรัจฉาน
    ใจร้ายใจพาล จะจมอยู่นาน ในจตุราบาย
    ใจมักทำบุญ ให้คิดถึงคุณศีลทานทั้งหลาย
    ให้แล้วให้เล่า ข้าวน้ำมากมาย ให้เร่งขวนขวาย มุ่งหมายทำบุญ
    ไหว้พระสวดมนต์ กุศลผลคุณ ใจมักเจือจุน ด้วยใจศรัทธา
    ใจนั้นสุภาพ ละอายแก่บาป ใจไม่หยาบช้า
    ซื่อสัตย์มั่นคงจำนงเจรจา หาโทษโทสา ไม่มีแก่ตน
    ใจดังดวงแก้ว ประเสริฐเลิศแล้ว ส่องโลกโลกา
    กุศลผลบุญ ทำไว้นานา เราท่านเกิดมา ไม่เป็นแก่นสาร
    ใจถือขันติ เมตตาปรานี ฝูงสัตว์ทุกวัน
    เหนี่ยวเอามรรคผล ให้พ้นกันดาร แม้นสิ้นอาสัญ ย่อมพ้นอบาย
    ไปสู่พระนิพพานแล ....


    ในการปฏิบัติของหลวงพ่อปานนั้น ท่านได้กล่าวถึง ทาง ๗ สาย คือ

    สายที่ ๑ ทางไปนรก คือ บุคคลผู้มีใจเร่าร้อนไปด้วยกิเลสอยู่ตลอดเวลา

    สายที่ ๒ ทางไปเปรตอสุรกาย คือ บุคคลผู้มีโลภะ และประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ

    สายที่ ๓ ทางไปเดรัจฉาน คือ บุคคลมีโมหะเป็นอกุศลจิต

    สายที่ ๔ ทางมามนุษย์ คือ บุคคลผู้มี เบญจศีล

    สายที่ ๕ ทางไปเทวดา คือ บุคคลผู้มีเทวธรรม คือ หิริ โอตตัปปะ

    สายที่ ๖ ทางไปพรหม คือ บุคคลผู้ได้ฌาน

    สายที่ ๗ ทางไปพระนิพพาน คือ บุคคลผู้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งมวล

    และท่านได้กล่าวถึงพระนิพพาน ไว้ว่า

    “พระนิพพาน เป็นอสังขตธรรม ไม่มีธรรม คือ กุศล และอกุศลที่จะ ตกแต่งให้บังเกิดขึ้น และพระนิพพานเป็น อสังขตธาตุ ไม่มีธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีธาตุ ๖ และธาตุที่จะประชุมแล้วทรงไว้ และพระนิพพาน คือ ปรมัตถสุข เป็นสุขอย่างยิ่งอย่างเลิศนั่นเอง”

    สังขารทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น ก็แปรปรวนไปในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด หลวงพ่อปานท่านได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ (ปีเดียวกับ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงสิ้นพระชนม์) เวลา ๕ ทุ่ม ๔๕ นาที เป็นอันสิ้นสุดชีวิตพระอาจารย์ผู้มีฌานสมาธิอันกล้าแข็ง เป็นที่พึ่งของมหาชนมากมาย ....

    กระผมขอกราบอาราธนาพระบารมี แห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดอภิบาลรักษา ให้ท่านทั้งหลายมีแต่ความสุข ความเจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอให้ สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไร จงปลาศนาการไปโดยเร็วพลัน และขอให้ท่านทั้งหลาย ได้เข้าถึงพระวิสุทธิธรรม สมความปรารถนาของทุกท่าน....ด้วยเทอญ


    หลวงพ่อปานเป็นชาวบางบ่อ ท่านเกิดที่ คลองนางโหง ตำบลบางเหี้ย (ตำบลคลองด่านในปัจจุบัน) จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อ ปิ่น บิดามีเชื้อจีน ชื่อ "ปลื้ม" มารดาเป็นคนไทย เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ชื่อ ตาล อาชีพทำป่าจาก ครอบครัวของท่านอยู่ที่หมู่บ้านโคกเศรษฐี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓

    คนที่ ๑ ชื่อ นายเทพย์
    คนที่ ๒ ชื่อ นายทัต
    คนที่ ๓ ชื่อ นายปาน (หลวงพ่อปาน)
    คนที่ ๔ ชื่อนายจันทร์
    คนที่ ๕ ชื่อนางแจ่ม

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้ ลูกหลานของหลวงพ่อปาน ได้ใช้ชื่อของบรรพบุรุษมาตั้งเป็นนามสกุลว่า "หนูเทพย์"

    เมื่อตอนเป็นเด็ก บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนี เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้เรียนหนังสือไทย ต่อมาไม่นานเจ้าคุณได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

    เมื่อยังเยาว์ ท่านได้ใช้ชีวิตแบบชาวชนบทคนธรรมดา ครั้นเมื่อเติบโตสู่วัยหนุ่ม เริ่มมีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันในเพศตรงข้ามตามวิสัยปุถุชน วันหนึ่งท่านได้ดั้นด้นไปบ้านสาวคนรัก แต่พอล้างเท้าก้าวขึ้นบันได เกิดอัศจรรย์ขึ้นบันไดไม้ตะเคียนอันแข็งแรงพลันหลุดออกจากกัน ทำให้ท่านพลัดตกจากบันได ท่านจึงคิดได้ว่าเป็นลางสังหรณ์บอกถึงการสิ้นวาสนาในทางโลกเสียแล้ว เมื่อกลับถึงบ้านจึงครุ่นคิดตัดสินใจอยู่หลายวัน ผลที่สุดจึงตัดสินใจออกบวช

    เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง โดยมีท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ

    หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ดั้นด้นไปจนถึง"วัดอ่างศิลา" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ"หลวงพ่อแตง" เจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสนาธุระ ไสยเวทย์มนต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ " เขี้ยวเสือโคร่ง ซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง " เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงได้อำลาพระอาจารย์ "หลวงพ่อแตง" มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเองพร้อมด้วยพระอาจารย์เรือน เพื่อนสหาย ณ วัดบางเหี้ย (ปัจจุบันคือวัดมงคลโคธาวาส) และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสโดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูปได้ปกครองพระลูกวัดทั้งด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตลอด

    จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ประตูน้ำที่กั้นแม่น้ำบางเหี้ย หรือประตูน้ำชลหารพิจิตรในปัจจุบัน ได้เกิดรั่วไม่สามารถปิดกั้นน้ำให้อยู่ได้ไม่ว่าช่างจะซ่อมอย่างไร จนกระทั่งข้าราชการในท้องถิ่นได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ให้ทรงทราบเพื่อขอพึ่งพระบารมีพระองค์ท่าน

    ระหว่างที่ประทับอยู่ที่ประตูน้ำบางเหี้ยเป็นเวลา ๓ วันนั้น พระองค์ได้รับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อปานเข้าเฝ้าฯ เพื่อไต่ถามเรื่องต่างๆ โดยขณะที่หลวงพ่อปานเดินทางเข้าเฝ้าฯ นั้นได้ให้เด็กชายป๊อด ถือพานใส่เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปเสือไปด้วยซึ่งสมัยนั้นแกะจากเขี้ยวเสือจริงๆ เมื่อไปถึงที่ประทับ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กชายป๊อดที่ถืออยู่ แต่พบว่าไม่มีเขี้ยวเสืออยู่ในพานแล้วโดยเด็กชายป๊อดบอกว่าเสือกระโดดลงน้ำระหว่างทางจนหมดแล้ว

    หลังจากหลวงพ่อปานทราบจึงได้ให้นำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปหมู แล้วเสียบไม้แกว่งล่อเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งประทับทอดพระเนตรอยู่ตลอด จนถึงกับตรัสกับหลวงพ่อปานว่า "พอแล้วหลวงตา"

    สำหรับเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานนั้นได้จัดทำด้วยช่างแกะถึง ๖ คน จึงมีรูปร่างไม่เหมือนกันมีทั้ง อ้าปาก หุบปาก โดยช่างทั้งหมดจะเอาแมวมาเป็นต้นแบบในการแกะ


    ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"
    ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๕๓ เวลา ๔ ทุ่ม ๔๕ นาที พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  8. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ผมนิลศิลป์ทราบมาว่าคุณชวลิต (ต้น) แจ่มมณี จะเป็นเซียนที่เก่งด้านเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ในระดับประเทศครับ ลองหาข้อเขียน และรูปของผู้ชำนาญท่านนี้มาศึกษากันดูครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติม น่าสนใจมากครับ จึงนำมาให้อ่านกันจากเว็ป oknation.net โดยคุณเด็กคลองด่าน ขออนุญาติ และขอขอบคุณ คุณเด็กคลองด่านด้วยครับ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=1003 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left background=images_print/cl_logo.gif></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=10 background=images_print/dot.gif height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD align=left>






    </TD></TR><TR><TD align=left></TD></TR><TR><TD>เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน ไม่ใช่ของหลวงพ่อปานองค์เดียว

    ส่วนเขี้ยวเสือนั้น เตี่ยผม (เกิด 2475 เสียชีวิต 2542 อายุ67ปี) ท่านเล่าว่า ได้รับการเล่าต่อมาว่า
    สมัยก่อนพระที่ลงเขี้ยวเสือมีหลายองค์ มีหลวงพ่อปาน หลวงพ่อเรือน(เพื่อนหลวงพ่อปาน) หลวงพ่อทอง(เจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย แต่คนละองค์กับหลวงปู่ทองวัดราชโยธานะครับ) หลวงพ่ออิ่ม

    แต่สมัยนี้เหมารวมว่าเขี้ยวเสือเป็นของหลวงพ่อปานหมด เพราะ ลายมือการลงยันต์ก็หวัดคล้ายๆกันน่ะ แยกไม่ออกหรอก
    รุ่นต่อมาก็คือเสือหลวงตาสาย องค์นี้เตี่ยผมทันและสนิทด้วย เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปานหลวงตาสายลงเสือไว้เยอะเหมือนกัน คนที่ไม่มีเสือหลวงพ่อปาน ก็ใช้เสือหลวงตาสายได้มีคนบางปูเก่าโดนยิงกลางหลัง เสื้อขาดเป็นรูแต่กระสุนไม่เข้า เพราะแกแขวนเสือหลวงตาสายตัวเดียวเท่านั้

    ปัจจุบันเขี้ยวเสือทีเห็นลงในหนังสือพระที่รวบรวมเขี้ยวเสือ เป็นของหลวงตาสายทั้งนั้น แต่ยัดอาจารย์เป็นของหลวงพ่อปานไปหมด แต่มีหนังสือ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน ของคุณคีโท ถั่วทอง ลงรูปเขี้ยวหลวงพ่อปาน และของหลวงตาสายให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
    รวมทั้งพระเครื่องหลวงพ่ออิ่มสร้างไห้หลวงพ่อปานปลุกเสกด้ว และยังมีการรวบรวมรูปพระรุ่นต่างของวัดบางเหี้ยและวัดใกล้เคียงไว้ได้อย่างละเอียด

    ศิษย์ที่เรียนวิชาของหลวงพ่อปานมีหลายคนบางคนเรียนแล้วก็บ้าไปเลย คนที่ไม่บ้าแต่เรียนไม่สำเร็จชื่อ ลุงอยู่ แกเคยเสกปรอทจากฝ่ามือเข้าตัวให้ดูตอนนั้นผมเด็กมาก

    ลูกศิษย์หลวงตาสาย คือหลวงตาเวก แกเรียนการวิชาจากหลวงตาสาย และจำวัดอยู่ที่วัด แต่ต่อมาเกิดขัดใจกับพระในวัดอย่างไรไม่ทราบ เลยต้องออกจากวัดไปอยู่ที่วัดอื่น ทำให้การสืบทอดวิชาในวัดบางเหี้ยขาดช่วงตอนนี้เอง เสียดายมากครับ






    </TD></TR><TR><TD align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>





    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=10 background=images_print/dot.gif height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=right bgColor=#cccccc></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2009
  9. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    อ่านเพลินเลยครับแฮะๆ

    ขอบคุณสำหรับบทความดีดีครับผม
     
  10. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน ของคุณคีโท ถั่วทอง

    หนังสือในตำนาน ท่านใดพอมีบ้างไหมครับ
     
  11. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    ถ่ายรูปเสร็จหรือยังครับ :VO มาแบ่งกันชมเน้อครับ

     
  12. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    พี่ขอบพระคุณครับ
    กิเลนงาเเกะตัวขอนี้ความกรุณาเเบ่งให้น้องไว้ใช้เถอะนะครับ

    กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เเล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ขอบคุณทุกท่านครับ โดยเฉพาะคุณขอบพระคุณ ขอถามว่าเสือตัวเล็กของคุณขอบพระคุณเป็นเขี้ยวซีกใช่ไหมครับ ไม่เต็มเขี้ยว

    เสือตัวใหม่นี้ผมแขวนแทบทุกวันเลยครับ ชอบ วันนี้ก็แขวนมา ต้องให้เพื่อนถ่ายรูปให้ครับ

    กิเลน ของหลวงพ่อใดครับ เขาตีเป็นของสายนครสวรรค์ หรือเปล่า อาจารย์เฮง วัดเขาดิน นะ

    ท่านใดมีอะไรนำมาลงดูกันครับ การหาเสือต้องหาองค์มี่มีจารเท่านั้นนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2009
  14. suchonn

    suchonn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    เสือไม้กัลปังหาดำ

    อยากทราบว่าเป็นของหลวงพ่อสาย วัดบางเหี้ย หรือเปล่าครับ
     
  15. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ถ่ายรูปเสือตัวใหม่มาแล้ว ลงไม่ได้ เว็ปไม่รู้เป็นไง รอก่อนเน้อ พี่น้องลงกันได้ไหมคร้าบบบ...ว่าแต่เสือกัลปังหาข้างบน ไหงไม่มีรูปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  16. suchonn

    suchonn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ต้องขอโทษด้วยนะครับ ลงรูปในระบบยังไม่ได้ แล้วจะพยายามลงให้ใหม่นะครับ
     
  17. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    เสือตัวเล็กเป็นปลายเขี้ยวครับคุณนิลศิลป์ มี รู ผมอยากได้เขี้ยวซีกมากๆแต่ยังไม่เคยผ่านมาเลยครับ

    สิงโตกิเลน ศิลป์เป็นของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน ครับ
     
  18. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
  19. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (เสือตัวนี้ของผมเอง เป็นส่วนโคนเขี้ยว ผมวานเพื่อนถ่ายรูปให้ อาจไม่ได้หลายมุมนัก) เขี้ยวชิ้นนี้น่าจะมาจากเสือที่อายุมากทีเดียว เพราะนอกจากเขี้ยวที่ใหญ่แล้ว บางส่วนของเนื้อเขี้ยวจะมีสีเขียวแซมด้วย ศิลปะการแกะยากที่จะหาช่างสมัยนี้ทำได้เสมอเหมือน แกะได้คม ลึก สังเกตุการวางเท้าคู่หน้า จะวางชิดกัน และเท้าคู่หน้าจะใหญ่เสมอ ดูมั่นคง แข็งแรง ได้สัดส่วน กรงเล็บจิกลงพื้น ในส่วนของตานั้นช่างจะแกะอยู่บนศีรษะ ลักษณะเหมือนเสือแหงนมองขึ้นฟ้า ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเอกลักษณ์ของเสือหลวงพ่อปาน

    การแกะเท้าคู่หลังจะแกะแบบลักษณะนั่งชันเข่า ขาหลังรองรับเท้าคู่หน้าได้อย่างสอดคล้องกัน ในส่วนของหาง เสือตัวนี้แกะหางม้วนขึ้นหลัง เป็นไปได้ว่าพื้นที่เขี้ยวมีมาก หางแบบนี้จะหาดูยาก ส่วนใหญ่จะแกะพันรอบฐาน การแกะฟันหน้า แกะฟันเขี้ยว แกะได้ปราณีต งดงาม

    ใต้ฐานจารครบสูตร ยันต์กอหญ้า ฦ ฦา ตามตัวเสือจารเต็ม คม ชัด ลึก ใต้คาง ลงจาร 1 อักขระ ขาคู่หน้าลง อุ ข้างละ 1 อักขระ แม้เสือตัวนี้จะไม่ฉ่ำมากนัก เพราะใช้ไม่มาก แต่การแตกระแหงของเขี้ยวก็มีให้เห็นเป็นแนวยาวจากบนลงล่างหลายรอย และเมื่อพลิกดูใต้ฐานเห็นรอยลานของเขี้ยวเป็นแนววงกลมรอบรูเขี้ยว จนเนื้อเขี้ยวปริหลุดแตกด้านข้างบ้างเล็กน้อย แสดงถึงความเก่าของเขี้ยวอย่างชัดเจน ประกอบกับศิลปะการแกะแล้ว เสือตัวนี้เก่าถึงยุคแน่นอน (สังเกตุเขี้ยวจะมีรูทะลุตลอดแนวเขี้ยว ตามแบบฉบับเขี้ยวเสือกลวง โดยรูเขี้ยวจะเป็นรูปวงรี หรือวงกลม)

    ขอบคุณคุณขอบพระคุณมากครับ ที่นำข้อมูลมาแนะนำกัน ตกลงเสือตัวเล็กเป็นปลายเขี้ยวนะครับ ไม่ใช่เขี้ยวซีก

    พี่น้องท่านใด มีข้อมูล หรือจะเสนอแนะอะไร เชิญได้นะครับ ร่วมด้วยช่วยกัน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2009
  20. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ภาพเสือ และข้อมูลนี้นำมาจาก www.teebangna.com/index.<WBR>asp?ContentID=1000002... ผมขอขอบคุณเจ้าของภาพ และเจ้าของเว็ปมากครับ

    [​IMG]


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    เสือหลวงพ่อปาน คลองด่าน หนึ่งในเบญจภาคีเครื่องราง ถือเป็นเครื่องรางยอดนิยม หายากมากๆ ศิลปะอย่างนี้ถือว่าถูกต้อง ตามหลักสากลนิยม องนี้พิเศษที่เจ้าของได้ใส่ตะกุดทองคำไว้ด้านในด้วย ทำให้รู้สึกเข้มขลังมีพลังยิ่งขึ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...