ภาพงานบุญต่อเนื่องของชมรมคนรักหลวงปู่ทวด

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 12 เมษายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    คุณชินพร สุขสถิตย์ได้มอบ"ไม้ชินบัญชร" จากลังที่ใส่เหรียญเจริญพร,พระกริ่งชินบัญชร ถวายให้โดยหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ระยองปลุกเสกโดยตรงมาหนึ่งแผ่นใหญ่
    นี่แหละ...ไม้จากลังที่ใส่เหรียญเจริญพร,พระกริ่งชินบัญชรถวายให้หลวงปู่ทิมท่านปลุกเสกแหละ..!!!! <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. เอก ขอนแก่น

    เอก ขอนแก่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    400
    ค่าพลัง:
    +1,349
    หมอฟอร์ดครับ
    ผงพรายนี้บรรจุในทุกเนื้อหรือไม่ครับ หรือบรรจุเฉพาะเนื้อนวโลหะ
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตั้งใจว่าจะบรรจุผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมไว้ในพระกริ่งทุกเนื้อเลยครับเพราะมีประสบการณ์ที่ดีๆกันมากอยากให้ผู้ที่มีศรัทธาได้องดีที่หายากไว้บูชาครับ
     
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    เปิดรับบริจาคมวลสารเนื้อโลหะมงคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นชนวนพระกริ่งชนวนหล่อพระวัดต่างๆและเหรียญเพื่อหลอมหล่อสร้างพระกริ่งดีหลวงรวมทั้งเปิดรับบริจาคมวลสารเนื้อผงพระพุทธคุณต่างๆเพื่ออุดฐานพระกริ่งดีหลวงนี้

    [​IMG]

    และหากท่านใดอยากร่วมหล่อพระกริ่งดีหลวงขอเชิญ

    วันที่5ธันวาคม2551ที่ วัดเชิงท่า ลพบุรี

    รวมทั้งหากใครไม่สะดวกเปิดรับแผ่นทองเขียนชื่อวันเดือนปีเกิดส่งมาร่วมหล่อหลวงพ่อทวดเท่าองค์จริง29นิ้วเพื่อเป็นองค์จำลองในการสร้างหลวงพ่อทวดองค์ขนาด3เมตรถวายวัดบ้านเกิดหลวงพ่อทวดคือ
    วัดดีหลวง สทิงพระ สงขลา


    ตอนนี้กำลังรวบรวมมวลสารเนื้อชนวนโลหะและเนื้อผงต่างที่เป็นมหามงคลหากใครมีจิตศรัทธาอยากร่วมบุญสามารถติดต่อส่งมวลสารได้ที่
    คุณภานุเดช เงารังสี

    เลขที่20ซอย4 ถนน รามวิถี อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

    คุณป๋อง

    0816901081


    <!-- / message -->
     
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30> DSC07289.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หนึ่งในมวลสารสำคัญคือเสาเก่าที่เป็นเสาหอพระไตรปิฏกสมัยรัชกาลที่1ซึ่งทันสมเด็จพระสังฆราชศรี เเละสมเด็จโตอย่างเเน่เเท้เเน่นอนเเละนี่เรียกได้ว่าเสาสองสมเด็จได้อย่างเเท้จริง


    รับมอบจากรองเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม
     
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้เป็นความย่อๆเรียกว่า “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” พิมพ์ขึ้นปีพ.ศ. 2466 กล่าวว่า “…สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า “โต” เมื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ได้นามฉายาว่า “พรหมรังสี” อุบัติขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ที่บ้านท่าหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา…” โยมบิดาของสมเด็จ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี โยมมารดาชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    <SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    บรรพชาและอุปสมบท

    เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปีพ.ศ. 2350 ได้โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯรับไว้ในพระราชูปถัมภ์

    ธุดงควัตรและไม่ปรารถนาสมณศักดิ์

    ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณ และเกียรติคุณแต่ท่านไม่ยอมรับ (ปกติท่านไม่ปรารถนายศศักดิ์ดังจะเห็นได้จากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ไม่ปรารถนายศศักดิ์จึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระเปรียญ) ต่อมาเล่ากันว่า “…ท่านออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆกัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลไก่จัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง นอกจากนี้ยังมีปูชนียสถานที่เจ้าประคุณสมเด็จฯได้สร้างไว้ในที่ต่างๆอีก ซึ่งทุกอย่างที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระคุณท่าน อนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ ณ ที่ใดๆท่านย่อมเป็นที่รักใคร่ของมหาชนทุกหนทุกแห่งและด้วยบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จฯนี้เอง จึงทำให้บรรดาพุทธศาสนิกชนในยุคนั้นเคารพเลื่อมใส ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปองค์ใหญ่โตที่ท่านสร้างจะต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้าง จึงจะทำได้สำเร็จ ฉะนั้น จึงสรุปได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมื่อท่านจะทำการใดคงจะต้องมีผู้อุทิศทั้งทรัพย์และแรงงานช่วยทำการก่อสร้างปูชนียวัตถุจึงสำเร็จสมดังนามของท่านทุกประการ

    สมณศักดิ์สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ทรงโปรดปรานสมเด็จฯเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2395 ได้พระราชทานสมณศักดิ์ครั้งแรกถวายเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติ ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี ครั้งนั้นท่านยอมรับสมณศักดิ์ (โดยมีเหตุผลที่ทำให้ต้องยอมรับสมณศักดิ์) ครั้นต่อมาอีก 2 ปี คือพ.ศ. 2397 ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ “ พระเทพกวี “ อีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามจารึกตามหิรัญบัตรว่า “สมเด็จพระพุฒาจารย์” เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ อนึ่งกิตติคุณ และชื่อเสียงของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ขจรกระจายไปทั่วทิศานุทิศว่า “ เจ้าประคุณสมเด็จ คือ ที่พึ่งของสัตว์โลกผู้ตกอยู่ในห้วงของความทุกข์ทั้งมวล”

    องค์หลวงพ่อโตอนุสรณ์งานก่อสร้างครั้งสุดท้าย

    ในราวปี พ.ศ. 2410 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ องค์หลวงพ่อโต ที่วัดอินทรวิหาร ครั้นท่านทำการก่อสร้างได้สูงถึงพระนาภี (สะดือ) ก็มีเหตุให้ไม่สำเร็จ เพราะวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สิ้นชีพตักษัย (มรณภาพ) บนศาลาเก่าบางขุนพรหม สิริอายุคำนวณได้ 84 ปี 2 เดือน 5 วัน และมีชีวิตอยู่ในสมณเพศได้ 65 พรรษา
     
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ปราชญ์ปรีชาแต่เยาว์วัย
    มีเรื่องเล่าว่า ในตอนที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)จะไปอยู่วัดระฆังฯ นั้น คืนวันหนึ่งพระอาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นาค เปรียญเอก วัดระฆังฝันว่า มีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้ของท่านหมด แล้วตกใจตื่น (ดูเหมือนพระอาจารย์จะเชื่อมั่นว่า ฝันอย่างนั้นท่านจะได้ศิษย์ที่ฉลาดหลักแหลมคนหนึ่ง) วันรุ่งขึ้นเผอิญเจ้าคุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตไปฝากเป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรม พระอาจารย์ก็รับไว้ด้วยความยินดี
    ในสมัยที่สมเด็จฯ เป็นสามเณร ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ ได้พระราชทานเรือกราบกัญญาหลังคากระแชงให้ท่านใช้สอยตามอัธยาศัย แม้พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงพระเมตตา ครั้นอายุครบอุปสมบทในปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงพระกรุณาโปรดให้บวชเป็นนาคหลวงที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

    เรื่องประวัติสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น หนังสือประวัติขรัวโต (พระยาทิพโกษา เรียบเรียง) กล่าวว่า ท่านได้ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ เป็นพื้น และไปศึกษาในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ บ้าง และว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระสังฆราชนั้น ก่อนจะเรียนท่านทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า วันนี้ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลจนตลอดตามที่กำหนดไว้ ท่านทำดังนี้ทุกครั้ง จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า “ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก”

    สมเด็จฯ ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ช้านานอย่างไรไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ว่าท่าน
    รอบรู้ชำนาญพระไตรปิฎก เรื่องนี้มีหลักฐานประกอบในหนังสือเรื่อง ตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทรว่า “หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพนฯ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ท่านยังเป็น พระมหาโต เป็นลำดับมา จนสอบได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค” และในหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ โปรดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ (เริ่มสอบวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙) โปรดให้พระเทพกระวี (โต) วัดระฆังฯ เป็น กรรมการองค์หนึ่ง เพราะชำนาญพระไตรปิฎก ต่อมาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์” ดังนี้

    สมเด็จฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญพระไตรปิฎกมาก ถึงได้รับยกย่องว่า “หนังสือดี” องค์หนึ่งในสงฆมณฑล เกียรตินิยมว่า “หนังสือดี” นั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในเรื่องประวัติวัดเบญจมบพิตรดังนี้

    “ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าหนังสือดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องได้เป็นเปรียญประโยคสูง หรือเปรียญประโยคสูงจะได้รับยกย่องว่าหนังสือดีไปทุกองค์ เพราะแปลหนังสือได้เป็นเปรียญประโยคสูงเป็นสำคัญเพียงว่ารู้ภาษาบาลีดี ความรู้หลักพระศาสนาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จะรู้ได้แต่ด้วยอ่านพระไตรปิฎก
    คุณธรรมที่ยกย่องว่ารู้หนังสือดีนั้น ท่านกำหนดว่าต้องบริบูรณ์ด้วยองค์ ๒ คือรู้ภาษาบาลีดีจนสามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ถ่องแท้เป็นองค์อัน ๑ กับต้องได้อ่านพระไตรปิฎกหมดทุกคัมภีร์ หรือโดยมากเป็นองค์อีกอย่าง ๑ จึงนับว่า “หนังสือดี”

    สมเด็จฯ ท่านศึกษารอบรู้ชำนาญทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ (ข้อนี้เป็นจุดเด่น ของท่านอันหนึ่ง ด้วยปรากฏว่าผู้มีชำนาญ เฉพาะแต่คันถธุระหรือวิปัสสนาธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ที่เชี่ยวชาญทั้ง ๒ ธุระนั้น หาได้ยากยิ่ง) และท่านเป็นนักเสียสละ เมื่อได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ท่านก็ใช้จ่ายไปในการสร้างสิ่งสาธารณกุศลต่างๆ ดังมีปูชนียวัตถุสถานปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันดีงาม ควรแก่การเคารพบูชาของสาธุชนทั่วไป ดังนี้ นับว่าท่านได้บำเพ็ญบารมีธรรมเต็มเปี่ยม ดังบทบาลีว่า กตํ กรณียํ (บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์แล้ว) และเพราะเหตุนี้ท่านจึงทรงอภินิหารเป็นวิสามัญบุคคลหาผู้เสมอเหมือนได้โดยยาก

    คุณธรรมของสมเด็จฯ ที่นับว่ายอดเยี่ยมอย่างหนึ่งคือมักน้อยสันโดษ ปรากฏว่าท่านมีอัธยาศัยยินดีในปัจจัยตามมีตามได้ ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ก็เอาไปใช้จ่ายในการกุศลต่างๆ มีสร้างวัดเป็นต้น

    ส่วนความเมตตา เกื้อกูลอนุเคราะห์ สงเคราะห์แก่คนทุกชั้นไม่เลือกหน้า แม้ที่สุดโจรมาลักของ ท่านก็ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่โจร ดังมีเรื่องเล่ากันอยู่ข้างจะขบขันว่า ครั้งหนึ่งท่านนอนอยู่ มีโจรขึ้นล้วงกุฏิ โจรล้วงหยิบตะเกียงลานไม่ถึง ท่านช่วยเอาเท้าเขี่ยส่งให้โจร ท่านว่ามันอยากได้

    เรื่องหนึ่งว่า ครั้งหนึ่งท่านไปเทศน์ในต่างจังหวัดโดยทางเรือ ได้เครื่องกัณฑ์เทศน์หลายอย่างมีเสื่อหมอนเป็นต้น ขากลับมาพักแรมคืนกลางทาง ตกเวลาดึกมีโจรพายเรือเข้าเทียบเรือของท่าน พอโจรล้วงหยิบเสื่อได้แล้ว เผอิญท่านตื่นจึงร้องบอกว่า “เอาหมอนไปด้วยซิจ๊ะ” โจรได้ยินตกใจกลัวรีบพายเรือหนี ท่านจึงเอาหมอนโยนไปทางโจรนั้น โจรเห็นว่าท่านยินดีให้ จึงพายเรือกลับมาเก็บเอาหมอนนั้นไป

    อีกเรื่องหนึ่งว่า ครั้งหนึ่งท่านไปเทศน์ที่บ้านทางฝั่งพระนคร (ว่าแถววัดสามปลื้ม) โดยเรือพาย ท่านนั่งกลาง ศิษย์ ๒ คนพายหัวท้าย ขากลับมาตามทาง ศิษย์ ๒ คนคิดจัดแบ่งเครื่องกัณฑ์เทศน์กัน คนหนึ่งว่า “กองนี้ของเอ็ง กองโน้นของข้า” อีกคนหนึ่งว่า “กองนี้ข้าเอา เอ็งเอากองโน้น” ท่านเอ่ยถามขึ้นว่า “ของฉันกองไหนล่ะจ๊ะ” เมื่อถึงวัดศิษย์ ๒ คนได้ขนเอาเครื่องกัณฑ์เทศน์กันไปหมด ท่านก็มิได้บ่นว่ากระไร
    คุณธรรมของสมเด็จฯ อย่างหนึ่งคือ ขันติ ท่านเป็น ผู้หนักแน่นมั่นคง สงบจิตระงับใจไม่ยินร้าย เมื่อประสบ อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ดังจะนำเรื่องมาเป็นอุทาหรณ์ เรื่องหนึ่ง
    ครั้งหนึ่งมีบ่าวของท่านพระยาคนหนึ่ง บ้านอยู่หลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี เสพสุรามึนเมาเข้าไปหาสมเด็จฯ ถามว่า “นี่หรือคือสมเด็จที่เขาเลื่องลือกันว่ามีวิชาอาคมขลัง อยากจะลองดีนัก” พอพูดขาดคำก็ตรงเข้าชก แต่ท่านหลบทันเสียก่อน แล้วท่านบอกให้บ่าวคนนั้นรีบหนีไปเสีย ด้วยเกรงว่ามีผู้พบเห็นจะถูกจับกุมมีโทษ ความนั้นได้ทราบถึงท่าน พระยาผู้เป็นนาย จึงจัดการลงโทษบ่าวคนนั้น โดยเอาโซ่ล่ามไว้กับขอนไม้ที่สนามหญ้าหน้าบ้าน ท่านทราบเรื่องได้ไปเยี่ยม เอาเงิน ๑ สลึงกับอาหารคาวหวานไปให้บ่าวคนนั้น ทุกวัน ฝ่ายท่านพระยาคิดเห็นว่า การที่สมเด็จฯ ทำดังนั้น ชะรอยท่านจะมาขอให้ยกโทษโดยทางอ้อม จึงให้แก้บ่าว นั้นปล่อยให้เป็นอิสระ

    สมเด็จฯ ทรงคุณธรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ ท่านมีคารวะอ่อนน้อม กล่าวกันว่าท่านไปพบพระพุทธรูป ท่านจะหลีกห่างราว ๔ ศอก แล้วนั่งลงกราบ ที่สุดไปพบหุ่นพระพุทธรูปท่านก็ทำดังนั้น เคยมีผู้ถาม ท่านตอบว่าดินก้อนแรกที่หยิบขึ้นมาปั้นหุ่น ก็นับเป็นองค์พระแล้ว เพราะผู้ทำตั้งใจมาแต่เดิมที่จะทำพระพุทธรูป ในหนังสือ “บุญญวัตร” นายชุ่ม จันทนบุบผา เปรียญ เรียบเรียง (พิมพ์ชำร่วยเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพอุบาสิกาเผื่อน จันทนบุบผา ณ เมรุวัดระฆังฯ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๙๕) ความตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องสมเด็จฯ เคารพหุ่นพระพุทธรูป ดังคัดมาลงไว้ต่อไปนี้

    “ข้าพเจ้าได้รับบอกกล่าวจากท่านพระครูปลัดสัมพิพัฒนสีลาจารย์ (ชม จันทนบุบผา) ถานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) วัดระฆังฯ ผู้เป็นลุงมาอีกต่อหนึ่ง ท่านเล่าว่า เมื่อครั้งท่านเป็นเด็กอายุราว ๑๕ ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านปลัดฤกษ์ คราวหนึ่งไปสวดมนต์ที่บ้านชาวเหนือ (คือบ้านช่างหล่อปัจจุบันนี้) ไปพร้อมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ที่บ้านนั้นเขาเอาหุ่น พระพุทธรูปตั้งผึ่งแดดไว้ห่างทางเดินราว ๒ ศอก เมื่อสมเด็จฯ เดินผ่านมาในระยะนี้ท่านก้มกายยกมือขึ้นประนมเหนือศีรษะกระทำคารวะ พระและศิษย์ที่ไปด้วยก็กระทำตาม เมื่อขึ้นบ้านงานและนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว นายเทศผู้ช่วยเจ้าภาพซึ่งคุ้นเคยกับสมเด็จฯ ได้เรียนถามว่า “กระผมสงสัยเพราะไม่เคยเห็นเจ้าคุณสมเด็จฯ กระทำดังนี้” ท่านจึงตอบว่า “แต่ก่อนไม่เคยเห็นจริงจ้ะ แต่วันนี้เป็นเหตุบังเอิญจ้ะ เพราะฉันเดินผ่านมาในเขตอุปจารของท่านไม่เกิน ๔ ศอก จึงต้องทำดังนี้” นายเทศจึงเรียนว่า “ยังไม่ยกขึ้นตั้งและยังไม่เบิกพระเนตร จะเป็นพระหรือขอรับ” ท่านตอบว่า “เป็นจ้ะ เป็นตั้งแต่ผู้ทำหุ่นยกดินก้อนแรกวางลงบนกระดานแล้วจ้ะ เพราะผู้ทำตั้งใจให้เป็นองค์พระอยู่แล้ว เรียกอุทเทสิกเจดีย์ยังไงล่ะจ๊ะ” เมื่อสวดมนต์จบแล้ว ขากลับผ่านมาท่านก็กระทำอย่างนั้นอีก

    รุ่งขึ้นท่านไปฉัน ตอนนี้ท่านเห็นพระตั้งอยู่ไกลออกไปราว ๖ ศอก ต่อจากทางที่ท่านไปเมื่อวาน ท่านไปหยุดยืนอยู่ตรงหน้าพระ และประนมมือพร้อมกับพระที่ไปด้วย ประมาณสัก ๑ นาทีแล้วจึงขึ้นไปบนเรือน เมื่อกระทำภัตตกิจเสร็จ เจ้าภาพถวายเครื่องสักการะและท่านยถาสัพพีเสร็จแล้ว ท่านก็นำธูปเทียนดอกไม้ที่เจ้าภาพถวายไปสักการบูชาพระที่ขึ้นหุ่นไว้นั้น พร้อมกับพระสงฆ์ที่ตามมาด้วยกันแล้วจึงกลับวัด”

    เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จฯ ไปพบพระเณรแบกหนังสือคัมภีร์ไปเรียน ท่านจะต้องนั่งประนมมือหรือก้มกายแสดงคารวะพระธรรม แม้ใครจะฉายรูปฉายาลักษณ์ของท่านในอิริยาบถใดก็ตาม ถ้าในที่นั้นมีหนังสือเทศน์ ท่านจะต้องหยิบขึ้นมาถือประหนึ่งเทศน์เสมอ อีกอย่างหนึ่งถ้าท่านไปพบพระเณรกำลังแสดงธรรม (เทศน์) อยู่ ท่านจะต้องหยุดฟังจนจบแล้วจึงไปในที่อื่น
    ว่าที่ท่านทำดังนี้ ด้วยท่านประสงค์จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้าทรงสดับธรรมที่พระอนุรุทธ์แสดง ความว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปพบพระอนุรุทธ์กำลังแสดงธรรมอยู่ พระองค์ได้ประทับยืนฟังจนจบ เมื่อพระอนุรุทธ์ ทราบ จึงทูลขออภัยที่ทำให้ประทับยืนนาน พระองค์ทรงตรัสว่า แม้จะนานกว่านั้นสักเท่าไรก็จะประทับยืน เพราะพระองค์ทรงเคารพในธรรม ดังนี้
    อนึ่งว่ากันว่า พระภิกษุจะมีพรรษาอายุมากหรือน้อย ก็ตาม เมื่อไปกราบท่านๆ ก็กราบบ้าง (ว่าจะกราบท่านกี่ครั้ง ท่านก็กราบตอบเท่านั้นครั้ง) พระอุปัชฌาย์เดช วัดกลางธนรินทร์ จังหวัดสิงห์บุรีว่า ครั้งหนึ่งไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดระฆังฯ เมื่อกราบท่าน ท่านก็กราบตอบ พระอุปัชฌาย์เดชนึกประหลาดใจ จึงกราบเรียนถามว่าทำไมท่านจึงต้องทำดังนั้น ท่านตอบว่า ท่านทำตามบาลีพุทธฎีกาที่ว่า วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ ผู้ไหว้ (กราบ) ย่อมได้รับไหว้ (กราบ) ตอบ ดังนี้

    ไม่ถือยศศักดิ์
    สมเด็จฯ เป็นพระเถระที่ไม่ถือยศถือศักดิ์ ชอบประพฤติ อย่างพระธรรมดาสามัญ (พระลูกวัด) ท่านเคยพูดกับคนอื่นว่า ยศช้างขุนนางพระจะดีอย่างไร ท่านจะทำอะไร ท่านก็ทำตามอัธยาศัยของท่าน ไม่ถือความนิยมของผู้อื่นเป็นสำคัญ เป็นต้น ว่าท่านเห็นศิษย์แจวเรือเหนื่อย ท่านก็แจวแทนเสียเอง มีเรื่อง เล่ากันว่า คราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไปในงานที่บ้านแขวงจังหวัดนนทบุรี ขากลับเจ้าภาพได้ให้บ่าว ๒ คนผัวเมียแจวเรือมาส่ง ขณะที่มาตามทางจะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ บ่าว ๒ คนนั้นเกิดเป็นปากเสียงเถียงกัน ถึงกล่าวถ้อยคำหยาบคายต่างๆ ท่านได้ขอร้องหญิงชาย ๒ คนนั้นให้เลิกทะเลาะวิวาทกันและให้เขามานั่งในประทุน แล้วท่านได้แจวเรือมาเองจนถึงวัดระฆังฯ

    คราวหนึ่งมีผู้อาราธนาท่านไปเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้านในสวนตำบลราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี บ้านของเขาอยู่ในคลองเล็กเข้าไป ท่านไปด้วยเรือสำปั้นกับศิษย์ เวลานั้นน้ำแห้งเข้าคลองไม่ได้ ท่านก็ลงเข็นเรือกับศิษย์ของท่าน ชาวบ้านเห็นก็ร้องบอกกันว่า “สมเด็จเข็นเรือๆ” ท่านบอกว่า “ฉันไม่ใช่สมเด็จดอกจ้ะ ฉันชื่อขรัวโต สมเด็จท่านอยู่ที่วัด ระฆังฯ จ้ะ (หมายถึงว่า พัดยศสมเด็จอยู่ที่วัดระฆังฯ)” แล้วชาวบ้านก็ช่วยท่านเข็นเรือไปจนถึงบ้านงาน
    ตามปรกติสมเด็จฯ ท่านพูดจ๊ะจ๋ากับคนทุกคน แม้สัตว์ดิรัจฉานท่านก็พูดอย่างนั้น เช่นคราวหนึ่งท่านเดินไปพบสุนัขนอนขวางทางอยู่ ท่านพูดกับสุนัขนั้นว่า “โยมจ๋า ขอฉันไปทีจ้ะ” แล้วท่านก็ก้มกายเดินหลีกทางไป มีผู้ถามว่าทำไมท่านจึงทำดังนั้น ท่านว่า “ฉันรู้ไม่ได้ว่าสุนัขนี้เคยเป็น พระโพธิสัตว์หรือไม่ เพราะในเรื่องชาดกกล่าวว่า ในกาลครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสุนัข”
    ท่านยังแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ เมื่อพบสัตว์ประสบทุกข์ต้องภัยท่านก็ช่วยเหลือแก้ไขด้วยการุณยจิต ดังเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปต่างจังหวัดระหว่างทางได้พบนกติดแร้วอยู่ ท่านจึงแก้บ่วงปล่อยนกนั้นไป แล้วท่านเอาเท้าของท่านสอดเข้าไปในบ่วงนั่นทำเป็นทีติดแร้ว มีคนมาพบจะช่วยแก้บ่วง ท่านไม่ยอมให้แก้ บอกให้ไปตามเจ้าของแร้วมาก่อน เมื่อเจ้าของแร้วมาบอกอนุญาตให้ท่านปล่อยนกนั้นได้ ท่านจึงแก้บ่วงออกจากเท้า แล้วบอกให้เจ้าของแร้วกรวดน้ำ ท่านยถาสัพพี เสร็จแล้วท่านจึงออกเดินทางต่อไป ดังนี้

    เรื่องเทศน์ ๑๒ นักษัตร

    ท่านพระยาผู้หนึ่งเคยนิมนต์พระมาแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟังอยู่เนืองๆ ที่บ้านของท่าน วันหนึ่งท่านคิดอยากจะฟังเทศน์จตุราริยสัจ จึงใช้บ่าวคนหนึ่งว่าเจ้าจงไปนิมนต์สมเด็จฯ ที่วัดมาเทศน์จตุราริยสัจสักกัณฑ์หนึ่งในค่ำวันนี้ แต่ท่านไม่ได้เขียนฎีกาบอกชื่ออริยสัจให้บ่าวไป บ่าวก็รับ คำสั่งไปนิมนต์สมเด็จฯ ที่วัดว่าเจ้าคุณที่บ้านให้อาราธนาไปแสดงธรรมที่บ้านค่ำวันนี้ สมเด็จฯจึงถามว่า ท่านจะให้เทศน์ เรื่องอะไร บ่าวลืมชื่ออริยสัจเสีย จำไม่ได้นึกคะเนได้แต่ว่า ๑๒ นักษัตร จึงกราบเรียนว่า ๑๒ นักษัตรขอรับผม แล้วก็กราบลามา
    ฝ่ายสมเด็จฯ ก็คิดว่า เห็นท่านพระยาจะให้เทศน์อริยสัจ แต่บ่าวลืมชื่อไป จึงมาบอกว่า ๑๒ นักษัตร พอถึงเวลาค่ำท่านก็มีลูกศิษย์ตามไป เข้าไปแสดงธรรมเทศนาที่บ้านท่าน พระยาผู้นั้น มีพวกอุบาสก อุบาสิกามาคอยฟังอยู่ด้วยกันมาก

    สมเด็จฯ จึงขึ้นธรรมาสน์ ให้ศีลบอกพุทธศักราช แลตั้งนโม ๓ หนจบแล้ว จึงว่าจุณณียบทสิบสองนักษัตรว่า มุสิโก อุสโภ พยคฺโฆ สโส นาโค สปฺโป อสฺโส เอฬโก มกฺกโฏ กุกฺกุโฏ สุนโข สุกโร แล้วแปลเป็นภาษาไทยว่า มุสิโก หนู อุสโภ วัวผู้ พยคฺโฆ เสือ สโส กระต่าย นาโค งูใหญ่ สปฺโป งูเล็ก อสฺโส ม้า เอฬโก แพะ มกฺกโฏ ลิง กุกฺกุโฏ ไก่ สุนโข สุนัข สุกโร สุกร

    ฝ่ายท่านพระยาเจ้าของกัณฑ์กับพวกทายกทายิกาก็มีความสงสัยว่า ทำไมเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมาเทศน์ ๑๒ นักษัตร ดังนี้เล่า สงสัยว่าบ่าวจะไปนิมนต์ท่านเรียกชื่ออริย-สัจผิดไปกระมัง ท่านพระยาจึงเรียกบ่าวคนนั้นเข้ามาถามว่า เจ้าไปนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จเทศน์เรื่องอะไร บ่าวก็กราบเรียนว่านิมนต์เทศน์เรื่อง ๑๒ นักษัตร ขอรับผม ท่านพระยาจึงว่านั่นประไรเล่า เจ้าลืมชื่ออริยสัจไปเสียแล้ว ไปคว้าเอา ๑๒ นักษัตรเข้า ท่านจึงมาเทศน์ตามเจ้านิมนต์นั่นซี

    ฝ่ายสมเด็จฯ เป็นผู้ฉลาดเทศน์ ท่านจึงอธิบายบรรยายหน้าธรรมาสน์ว่า อาตมภาพก็นึกอยู่แล้วว่า ผู้ไป นิมนต์จะลืมชื่ออริยสัจเสีย ไปบอกว่าท่านให้นิมนต์เทศน์ ๑๒ นักษัตร อาตมภาพก็เห็นว่า ๑๒ นักษัตรนี้ คือเป็นต้นทางของอริยสัจแท้ทีเดียว ยากที่บุคคลจะได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรสักครั้งสักหน เทศน์ที่ไหนๆ ก็มีแต่เทศน์อริยสัจทั้งนั้น ไม่มีใครจะเทศน์ ๑๒ นักษัตรสู่กันฟังเลย ครั้งนี้เป็นบุญลาภของมหาบพิตรเป็นมหัศจรรย์ เทพยเจ้าผู้รักษาพระพุทธศาสนาจึงได้ดลบันดาลให้ผู้รับใช้เคลิบเคลิ้มไป ให้บอกว่าเทศน์ ๑๒ นักษัตรดังนี้ อาตมภาพก็มาเทศน์ตามผู้นิมนต์ เพื่อจะให้สาธุชนแลมหาบพิตรเจ้าของกัณฑ์ได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตร อันเป็นต้นทางของอริยสัจทั้ง ๔ จะได้ธรรมสวนา นิสงส์อันล้ำเลิศซึ่งจะได้ให้ก่อเกิดปัจจเวกขณญาณในอริยสัจ ทั้ง
    แท้ที่จริงธรรมเนียมนับปี เดือน วัน คืนนี้ นักปราชญ์ ผู้รู้โหราศาสตร์แต่ครั้งโบราณต้นปฐมกาลในชมภูทวีปบัญญัติตั้งแต่งขึ้นไว้ คือกำหนดหมายเอาชื่อดวงดาราในอากาศเวหามาตั้งเป็นชื่อปี เดือน วัน ดังนี้คือ
    (๑) หมายเอาชื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังอาคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ รวม ๗ ดาว มาตั้งเป็นชื่อวันทั้ง ๗ วัน แลให้นับเวียนไปเวียนมาทุกเดือนทุกปี
    (๒) หมายเอาชื่อดวงดาวรูปสัตว์ แลดาวรูปสิ่งอื่นๆ มาตั้งเป็นชื่อเดือนทั้ง ๑๒ เดือน มีดังนี้ คือ
    เดือนเมษายน ดาวรูปเนื้อ
    เดือนพฤษภาคม ดาวรูปวัวผู้
    เดือนมิถุนายน ดาวรูปคนคู่หนึ่ง
    เดือนกรกฎาคม ดาวรูปปูป่าหรือปูทะเล
    เดือนสิงหาคม ดาวรูปราชสีห์
    เดือนกันยายน ดาวรูปนางสาวที่น่ารักใคร่
    เดือนตุลาคม ดาวรูปคันชั่ง
    เดือนพฤศจิกายน ดาวรูปแมงป่อง
    เดือนธันวาคม ดาวรูปธนู
    เดือนมกราคม ดาวรูปมังกร
    เดือนกุมภาพันธ์ ดาวรูปหม้อ
    เดือนมีนาคม ดาวรูปปลา (ตะเพียน)
    รวมเป็น ๑๒ ดาว หมายเป็นชื่อ ๑๒ เดือน
    (๓) หมายเอาดาวรูปสัตว์ ๑๒ ดาว ที่ประจำอยู่ในท้องฟ้าอากาศ เป็นชื่อปีทั้ง ๑๒ ปีดังนี้ คือ
    ปีชวด ดาวรูปหนู
    ปีฉลู ดาวรูปวัวตัวผู้
    ปีขาล ดาวรูปเสือ
    ปีเถาะ ดาวรูปกระต่าย
    ปีมะโรง ดาวรูปงูใหญ่ คือ นาค
    ปีมะเส็ง ดาวรูปงูเล็ก คืองูธรรมดา
    ปีมะเมีย ดาวรูปม้า
    ปีมะแม ดาวรูปแพะ
    ปีวอก ดาวรูปลิง
    ปีระกา ดาวรูปไก่
    ปีจอ ดาวรูปสุนัข
    ปีกุน ดาวรูปสุกร
    รวมเป็นชื่อดาวรูปสัตว์ ๑๒ ดวง ตั้งเป็นชื่อปี ๑๒ ปี ใช้เป็นธรรมเนียมเยี่ยงอย่างนับปีเดือนวันคืนนี้ เป็นวิธีกำหนดนับอายุกาลแห่งสรรพสิ่งสรรพสัตว์ในโลกทั่วไป ที่นับของใหญ่ๆ ก็คือนับอายุโลกธาตุ นับเป็นอันตรกัลป มหากัลป ภัทรกัลปเป็นต้น แลนับอายุชนเป็นรอบๆ คือ ๑๒ ปี เรียกว่ารอบหนึ่ง แล ๑๒ รอบเป็น ๑๔๔ ปี แต่มนุษย์เราเกิดมาในกลียุคครั้งนี้ กำหนดอายุเป็นขัยเพียง ๑๐๐ ปี แลในทุกวันนี้อายุมนุษย์ก็ลดถอยลงน้อยกว่า ๑๐๐ ปีก็มีมาก ที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไปถึง ๑๕๐ หรือ ๒๐๐ ปีก็มีบ้างในบางประเทศ ตามจดหมายเหตุของประเทศต่างๆ ได้กล่าวมา แต่มีเป็น พิเศษแห่งละ ๑ คน ๒ คนหรือ ๓ คน ๔ คนเท่านั้น หาเสมอทั่วกันไปไม่ แต่ที่อายุต่ำกว่า ๑๐๐ ปีลงมานั้น มีทั่วกันไปทุกประเทศ จึงเป็นที่สังเกตได้ว่า คำเรียกว่ากลียุคนี้เป็นภาษาพราหมณ์ ชาวชมภูทวีปแปลว่าคราวชั่วร้าย คือว่าสัตว์เกิดมาในภายหลัง อันเป็นครั้งคราวชั่วร้ายนี้ย่อมทำบาปอกุศลมาก จนถึงอายุสัตว์ลดน้อยถอยลงมาก ด้วย สัตว์ที่เกิดในต้นโลกต้นกัลปนั้น เห็นจะมากไปด้วยเมตตากรุณาแก่กันและกัน ชักชวนกันทำบุญกุศลมาก อายุจึงยืนหลายหมื่นหลายพันปี แลยังจะต่อลงไปข้างปลายโลก บางทีสัตว์จะทำบาปอกุศลยิ่งกว่านี้ อายุสัตว์บางทีก็จะเรียวน้อยถอยลงไปจนถึง ๑๐ ปีเป็นขัย แลสัตว์มีอายุเพียง ๕ ปี จะแต่งงาน เป็นสามีภรรยาต่อกันก็อาจจะเป็นไปได้ แลในสมัยเช่นนี้อาจจะเกิดมิคสัญญี ขาดเมตตาต่อกันแลกัน อย่างประหนึ่งว่านายพรานสำคัญในเนื้อจะฆ่าฟันกันตายลงเกลื่อนกลาด ดังมัจฉาชาติต้องยาพิษทั่วไปในโลก แต่สัตว์ที่เหลือตายนั้นจะกลับบ่ายหน้าเข้าหาบุญก่อสร้างการกุศล ฝูงคนในครั้งนั้นจะกลับมีอายุยืนยิ่งๆ ขึ้นไป จนอายุตลอดอสงขัย ซึ่งแปลว่านับไม่ได้นับไม่ถ้วน ภายหลังสัตว์ทั้งปวงก็กลับตั้งอยู่ในความประมาทก่อสร้างบาปอกุศลรุ่นๆ ไปอีกเล่า อายุสัตว์ก็กลับลดน้อยถอยลงมาอีก ตามธรรมดาของโลกเป็นไปดังนี้

    สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรา ผู้เป็นพระสัพพัญ ู ตรัสรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง พระองค์จึงทรงแสดงธรรมที่จริง ๔ ประการไว้ให้สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้ง คือ
    (๑) ความทุกข์มีจริง
    (๒) สิ่งให้เกิดทุกข์มีจริง
    (๓) ธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง
    (๔) ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง

    นี่แลเรียกว่าอริยสัจ ๔ คือเป็นความจริง ๔ ประการ ซึ่งเพิ่มอริยเจ้าอีกคำหนึ่งนั้น คืออริยแปลว่าพระผู้รู้ประเสริฐ อย่างหนึ่ง พระผู้ไกลจากกิเลสอย่างหนึ่ง รวมอริย สัจจะ สองคำเป็นนามเดียวกัน เรียกว่าอริยสัจ แลเติมจตุรสังขยานามเข้าอีกคำหนึ่ง แลแปลงตัว ะ เป็นตัว า เพื่อจะให้เรียกเพราะสละสลวยแก่ลิ้นว่า จตุราริยสัจ แปลว่าความจริงของพระอริยเจ้า ๔ อย่าง
    ซึ่งท่านอ้างว่าความจริง ๔ อย่างนี้เป็นของพระอริยะนั้น อธิบายว่าต่อเป็นพระอริยเจ้าจึงจะเห็นจริง คือพระอริยเจ้าเห็นว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่งสัตว์เวียนว่ายทนรับความลำบากอยู่ในวัฏสงสารนั้น ให้เกิดความทุกข์จริง
    ตัณหาคือความอยากความดิ้นรนของสัตว์นั้น ให้เกิดความทุกข์จริง
    พระอมตมหานิพพาน ไม่มีเกิดแก่เจ็บตายเป็นที่ดับทุกข์จริงแลสุขจริง
    ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มีจริง
    พระอริยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมเห็นจริงแจ้งประ-จักษ์ในธรรม ๔ อย่างดังนี้ แลสั่งสอนสัตว์ให้รู้ความจริง เพื่อจะให้ละทุกข์ เข้าหาความสุขที่จริง
    แต่ฝ่ายปุถุชนนั้นเห็นจริงบ้างแต่เล็กน้อย ไม่เห็นความจริงแจ้งประจักษ์เหมือนอย่างพระอริยเจ้าทั้งปวง พวกปุถุชนเคยเห็นกลับไปว่า เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดก็ดีไม่เป็นทุกข์อะไรนัก บ้างก็ว่าเจ็บก็เจ็บ สนุกก็สนุก ทุกข์ก็ทุกข์ สุขก็สุข จะกลัวทุกข์ทำไม
    บ้างว่าถ้าตายแล้วเกิดใหม่ ได้เกิดที่ดีๆ เป็นท้าวพระยามหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สมบัติมากมายแล้ว ก็หากลัวทุกข์อะไรไม่ ขอแต่อย่าให้ยากจนเท่านั้น
    บ้างว่าถ้าตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ ได้เสวยทิพยสมบัติ มีนางฟ้านับพันแวดล้อมเป็นบริวาร เป็นสุขสำราญชื่นอกชื่นใจดังนั้นแล้ว ถึงจะตายบ่อยๆ เกิดบ่อยๆ ก็ไม่กลัวทุกข์กลัวร้อนอะไร
    บ้างก็ว่าถ้าไปอมตมหานิพพานไปนอนเป็นสุขอยู่ นมนานแต่ผู้เดียว ไม่มีคู่เคียงเรียงหมอนจะนอนด้วยแล้ว เขาก็ไม่อยากจะไป เขาเห็นว่าอยู่เพียงเมืองมนุษย์กับเมืองสวรรค์เท่านั้นดีกว่า เขาหาอยากไปหาสุขในนิพพานไม่ พวกปุถุชนที่เป็นโลกียชนย่อมเห็นไปดังนี้

    นี่แลการฟังเทศน์อริยสัจ จะให้รู้ความจริง แลเห็นธรรมที่ดับทุกข์เป็นสุขจริงของพระอริยเจ้าทั้ง ๔ อย่างนั้น ก็ควรฟังเทศน์เรื่อง ๑๒ นักษัตรเสียก่อน จะได้เห็นว่าวัน คือ เดือน ปี ซึ่งเป็นอายุของเราย่อมล่วงไปทุกวัน ทุกเวลา ประเดี๋ยวก็เกิดประเดี๋ยวก็แก่ ประเดี๋ยวก็เจ็บ ประเดี๋ยวก็ตาย เราเวียนวนทนทุกข์อยู่ด้วยความลำบาก ๔ อย่างนี้แลไม่รู้สิ้นรู้สุด เมื่อเราสลดใจเบื่อหน่ายต่อความเกิดแก่เจ็บตายในโลกแล้ว เราก็ควรรีบเร่งก่อสร้างบุญกุศลจนกว่าจะได้มีบารมีแก่กล้า จะได้ความสุขในสรวงสวรรค์แลความสุขในอมตมหานิพพานในภายหน้า ซึ่งไม่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสุขเที่ยงแท้ถาวรอย่างเดียว ไม่มีทุกข์มาเจือปนเลย
    แลเรื่อง ๑๒ นักษัตร คือดาวชื่อเดือน ๑๒ ดาว และดาวชื่อปี ๑๒ ปี แลดาวชื่อวันทั้ง ๗ วันนี้ เป็นที่นับอายุของเราไม่ให้เราประมาท แลให้คิดพิจารณาเห็นความจริงในอริยสัจทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนเราไว้ ให้รู้ตามนั้น ทีเดียว
    สาธุชนทั้งหลายผู้มาได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรกับอริยสัจ ๔ ด้วยในเวลานี้ ไม่ควรจะโทมนัสเสียใจต่อผู้ไปนิมนต์ ควรจะชื่นชมโสมนัสต่อผู้รับใช้ไปนิมนต์ อาตมภาพมาเทศน์ด้วย ถ้าไม่ได้อาศัยผู้นิมนต์เป็นต้นเป็นเหตุดังนี้แล้ว ที่ไหนจะได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตรเล่า ควรจะโมทนาสาธุการอวยพรแก่ผู้ไปนิมนต์จงมาก เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

    ฝ่ายท่านพระยาเจ้าของกัณฑ์กับสัปบุรุษทายกทั้งปวง ได้ฟังธรรมเทศนาเรื่อง ๑๒ นักษัตร กับอริยสัจทั้ง ๔ ของ สมเด็จฯ แล้ว ต่างก็ชื่นชมยินดีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส บ้างก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ท่านพระยาเจ้าของกัณฑ์จึงว่าข้าขอบใจเจ้าคนไปนิมนต์ ขอให้เจ้าได้บุญมากๆ ด้วยกันเถิด

    เผชิญหน้านักปราชญ์
    ที่บ้านสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติ ทุกภาษา ล้วนเป็นตัวสำคัญๆ รอบรู้การศาสนาของชาตินั้น
    สมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้ทนายอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงเผยแผ่ความรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยการโลกการธรรม ในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในชาติของสยามไทย
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ยินคำอาราธนา จึงรับสั่งว่า
    “ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ”
    ทนายกลับไปกราบเรียนสมเด็จพระประสาทว่า
    “สมเด็จฯ ที่วัดรับแสดงแล้ว ในเรื่องแสดงให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้”
    ถึงวันกำหนด สมเด็จฯ ก็ไปถึง
    นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทย ออกความก่อนในที่ประชุมปราชญ์ และขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังด้วย
    สมเด็จพระประสาทจึงอาราธนาสมเด็จฯ ขึ้นบัลลังก์ แล้วนิมนต์ให้สำแดงทีเดียว
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ออกวาจาสำแดงขึ้นว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พึมพำทุ้มๆ ครางๆ ไปเท่านี้นาน กล่าวพึมพำสองคำเท่านี้สักชั่วโมงหนึ่ง
    สมเด็จพระประสาทลุกขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จฯ ที่วัดแล้ว กระซิบเตือนว่า ขยายคำอื่นให้ฟังบ้าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็เปล่งเสียงดังขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่งขึ้นเสียงว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา ฯลฯ ว่า อยู่นานสักหนึ่งชั่วโมงอีก
    สมเด็จประสาทลุกขึ้นมาจี้ตะโพกสมเด็จฯ ที่วัดอีก ว่าขยายคำอื่นให้เขาฟังรู้บ้างซิ สมเด็จฯ ที่วัดเลยตะโกนดังกว่าครั้งที่สองขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา
    อธิบายว่า การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไป ตั้งแต่หยาบๆ และปูนกลางๆ และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้า จนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว
    ทุกๆ คนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้าจะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริง เด่นเห็นชัดปรากฏแก่คน ก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติน้อย ถ่อยปัญญา พิจารณา เหตุผล เรื่องราว กิจการงาน ของโลก ของธรรม แต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังปริยายมา ทุกประการ จบที
    จบแล้ว ท่านลงจากบัลลังก์ นักปราชญ์ชาติอื่นๆ ภาษาอื่นๆ มีแขกแลฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้าน ถ้อยคำของท่านสักคน
    สมเด็จเจ้าพระยาพยักหน้าให้หมู่นักปราชญ์ในชาติทั้งหลายที่มาประชุมคราวนั้นให้ขึ้นบัลลังก์ ต่างคนต่างแหยงไม่อาจนำออกแสดงแถลงในที่ประชุมได้ ถึงต่างคนต่างเตรียม เขียนมาก็จริง
    แต่คำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครอบไปหมด จะยักย้ายโวหารหรือจะอ้างเอาศาสดาของตนๆ มาแสดงในที่ประชุมเล่า เรื่องของตัวก็ชักจะเก้อ จะต่ำจะขึ้นเหนือความพิจารณาที่สมเด็จฯ ที่วัดระฆังกล่าวนั้นไม่ได้เลย ลงนั่งพยักหน้าเกี่ยงให้กันขึ้นบัลลังก์ใครก็ไม่อาจขึ้น สมเด็จพระประสาทเองก็ซึมทราบได้ดี เห็นจริงตามปริยายของทางพิจารณารู้ได้ตามนั้น ตามภูมิ ตามกาล ตามบุคคล ที่ยิ่งและหย่อน อ่อนและกล้า จะรู้ได้ก็ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณา ก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาต่ำ หรือน้อยวันพิจารณา หรือน้อยพิจารณาก็มีความรู้น้อย ห่างความรู้จริงของสมเด็จฯ ที่วัดทุกประการ
    วันนั้นก็เป็นอันเลิกประชุมปราชญ์ ต่างคนต่างลากลับ

    ถวายอดิเรก
    ครั้นสมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) ถึงมรณภาพแล้ว พระเทพกวีต้องเป็นผู้ใหญ่นั่งหน้า ครั้งหนึ่งเมื่อมีกิจการฉลองสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระเทพกวีเป็นผู้ชักนำพระราชาคณะอ่อนๆ ลงมา สวดเสร็จแล้วยถาพระรับสัพพีแล้วสวดคาถาโมทนาจบแล้ว พระเทพกวี (โต) จึงถวายอดิเรกขึ้นองค์เดียวว่า
    “อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสฺสติ ชีวตุ อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ ฑีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ สุขิโต โหตุ มหาราชา สิทฺธิ กิจฺจํ สิทฺธิกัมมํ สิทฺธิลาโภ ชโยนิจจํ มหาราชสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพร”
    สมเด็จพระจอมเกล้าทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า
    “แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม”
    พระเทพกวี (โต)ถวายพระพรว่าอาตมาภาพได้ เปยยาล ไว้ในตัวบท คาถาสำหรับสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลง ตามพระบรมราชอัธยาศัยแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าทรงตรอกซ้ำลงตรงฑีฆายุอีกบันทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์มหาราชสฺส เป็นปรเมนฺทรมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำพระเทพกวี (โต) ทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอาราม ให้เป็นขนบธรรมเนียมต้องให้พระราชาคณะ ผู้นั่งหน้าถวายคาถาอดิเรกนี้ก่อน จึงรับภวตุสัพฯ จึงถวายพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอดิเรกนี้ ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล วิธีสอนคน

    วันหนึ่งสมเด็จฯ เดินผ่านไปยังวัดชนะสงคราม ท่านได้ยินพระสวดตลกคะนองกันอื้ออึงอยู่ในวัด ฟังแล้วรู้สึกสลดใจ “ทำไมพระจึงทำอย่างนี้ได้หนอ ?”
    จะเดินเข้าไปว่าทันทีทันใดเลยก็ไม่ได้ จึงค่อยๆ เดินเข้าไป พอไปถึงก็ทรุดตัวลงนั่งยอง แล้วประนมมือขึ้นว
    “สาธุ สาธุ สาธุ”
    โดยไม่ต้องพูดอะไรออกมาเลย แล้วท่านก็ลุกขึ้นเดินจากไป ปล่อยให้พระเหล่านั้น และญาติโยมที่นั่งฟัง ตะลึงงงงันกันไปหมด
    ความสังเวชใจเกิดขึ้นในท่ามกลางประชุมชน โดยเฉพาะพระเหล่านั้นเกิดความละอายเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจ อยู่มองหน้าผู้คน บ้างก็สึกไป ที่ไม่สึกก็เลิกสวดตลกคะนองอีกโดยเด็ดขาด กลับตัวประพฤติปฏิบัติกันเสียใหม่

    ขอฝากตัวด้วย

    ครั้งหนึ่งพระวัดระฆังเต้นด่าท้าทายกันขึ้นอีกคู่พระเทพกวี (โต) ท่านเอกเขนกนั่งอยู่นอกกุฏิท่าน ท่านแลเห็นเข้า ทั้งได้ยินพระทะเลาะกันด้วย จึงลุกเข้าไปในกุฏิจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานรีบเดินเข้าไปในระหว่างวิวาท ทรุดองค์ลงนั่งคุกเข่าไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระคู่นั้นแล้วอ้อนวอนฝากตัวว่า

    “พ่อเจ้าประคุณ ! พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริงแล้วว่า พ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้ เก่งแท้แท้ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย”
    พระคู่นั้นเลยเลิกทะเลาะกัน มาคุกเข่ากราบพระเทพกวี (โต) พระเทพกวี (โต) ก็คุกเข่ากราบตอบพระ กราบกันอยู่นั่น หมอบกันอยู่นั่นนาน

    พระเตะตะกร้อ

    วันหนึ่งสมเด็จฯ เดินผ่านหลังโบสถ์ เห็นพระกำลังเตะตะกร้อกันอย่างสนุกสนาน
    นายทศซึ่งเดินไปกับท่านด้วย รู้สึกแปลกใจที่ท่านไม่ว่าอะไร ทั้งๆ ที่การเตะตะกร้อมันผิดพระวินัย จึงถามท่านไปว่า “ทำไมไม่ห้ามพระเตะตะกร้อ?”
    “ถึงเวลาเขาก็เลิกเอง ถ้าไม่ถึงเวลาเขาเลิก เราไปห้ามเขา เขาก็ไม่เลิก” ท่านตอบนายทศอย่างนั้น จะเลิกไม่เลิกมันอยู่ที่ใจของเขา
    ต่อมาพระกลุ่มนั้นได้ใจ คิดว่าสมเด็จฯ ไม่ว่าอะไร จึงเล่นเตะตะกร้อกันอีก แต่คราวนี้ สมเด็จฯ ท่านไม่ปล่อย เหมือนคราวก่อน ท่านให้เด็กไปเรียกพระเหล่านั้นมา แล้วให้เด็กยกน้ำร้อนน้ำชาและน้ำตาลทรายมาถวาย
    สักครู่สมเด็จฯ ได้ถามขึ้นว่า
    “นี่คุณ! ตะกร้อนี่หัดกันนานไหม?”
    พวกพระต่างมองตากัน รู้สึกอาการชักจะไม่ค่อยดี ไม่รู้ว่าสมเด็จฯ จะเล่นไม้ไหน ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ
    “ลูกไหนเตะยากกว่ากัน ลูกข้างลูกหลังน่ะ?” สมเด็จฯหยอดเข้าไปอีก พระเหล่านั้นไม่พูดอะไร หน้าถอดสี รู้สึกละอายจนอยากจะแทรกแผ่นดินหนีเสียให้ได้
    โดยปกติ สมเด็จฯ ท่านไม่ค่อยได้ว่ากล่าวอยู่แล้ว ท่านไม่เคยปากเปียกปากแฉะอย่างพระเจ้าอาวาสทั่วๆไป นานๆ ครั้งจะว่ากล่าวกันที ยิ่งท่านไม่ค่อยได้ว่ากล่าวตักเตือน ยิ่งทำให้ละอายอย่างมาก
    ปรากฏว่า ต่อมาพระวัดระฆังเลิกเตะตะกร้อกันอย่างเด็ดขาด
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> MSG-070114125534312(1).gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตอนนี้เริ่มมีคนทะยอยส่งมวลสารมาให้บ้างเเล้วนะครับ
     
  9. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]
    รูปลักษณะพระแก้วแดงพระแก้วอันเป็นองค์คู่บารมีพระศรีอาริยเมตไตรและหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดรวมทั้งหลวงพ่อดู่วัดสะแกท่านทั้งสามเกี่ยวข้องกันอย่างไรและมีคนกล่าวถึงหลวงพ่อทวดและหลวงพ่อดู่อย่างไรโปรดติดตามอ่านนะครับ และพระรุ่นนี้ได้รวมความเกี่ยวข้องของท่านทั้งสามอย่างไร????
     
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]
    ภาพพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ พระกริ่งรุ่นก่อนที่ปัจจุบันเป็นที่ใฝ่หาของคนรู้มวลสารล้ำค่าที่บรรจุอยู่ในองค์พระกริ่งซึ่งปัจจุบันหมดแล้ว
    พุทโธอัปมาโณ
    ธัมโมอัปมาโณ
    สังโฆอัปมาโณ........
    [​IMG]
    อีกประมาณ1ล้านปีเมืองมนุษย์จะไม่มีพระบาทสี่รอยเเล้วจะเหลือพระบาทรอยเดียวนั่นคือรอพระศรีอาริยเมตไตรมาตรัสรู้เเล้วประทับรอยพระพุทธบาทรวมกันเป็นรอยเดียว..คำกล่าวของพระโพธิสัตว์รูปหนึ่งแห่งภาคเหนือ
     
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตอนนี้พระกริ่งดีหลวงเนื้อทองคำมีผู้จองแล้วคงเหลืออยู่สิบกว่าองค์เท่านั้น
     
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    เมื่อวานได้ไปถวายหลวงพ่อทวดขนาดเท่าองค์จริงที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสแจกพระหลวงพ่อทวดแก่ทหารและชาวบ้านจำนวน300กว่าคนและฝากทหารแจกพระชาวบ้านอีกนับรวมแล้วกว่าพันองค์เป็นที่ปลื้มปีติของผู้ที่พบเห็นเป็นอันมากไว้จะลงภาพให้อนุโมทนากันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มิถุนายน 2008
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ...เมื่อวานได้ไปพบพ่อท่านพล วัดนาประดู่ศิษย์น้องท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ที่สืบทอดวิชชาทำหลวงพ่อทวดและสื่อถึงหลวงพ่อทวดได้เมตตาจารพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ประจำองค์ท่านมอบเพื่อหลอมพระกริ่งชุดนี้ให้สมเป็นพระกริ่งสายตรงหลวงพ่อทวด
     
  14. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    และเมื่อวานอีกเช่นกันได้เข้าพบ
    เจ้าคุณพ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา
    ศิษย์น้องอาจารย์ทิม วัดช้างให้ หนึ่งในสี่พระเถระที่สื่อถึงหลวงพ่อทวดได้ได้เมตตารับปากจารพระยันต์เพื่อสร้างพระกริ่งดีหลวงชุดนี้พร้อมทั้งให้โอวาทว่า สร้างพระเขาสร้างกันเยอะเเยะการสร้างให้ศักดิ์สิทธิ์ต้องมีสัจจะต้องทำเพื่อแผ่นดินอย่างนี้จึงศักดิ์สิทธิ์และเธอจงไปบอกคนที่จะนำไปบูชาด้วยว่าเขาจะต้องเป็นคนดีถึงจะมีพระคุ้มครองไม่อย่างนั้นคงไม่ต่างอะไรกับเหล็กธรรมดาก้อนหนึ่งเท่านั้นเอง
     
  15. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    มวลสารที่เหลือจากการสร้างพระรุ่นต่างๆอาทิ หลวงพ่อทวด รุ่นรวมโพธิญาณ <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    พระรุ่นนี้นับว่าเป็นหลวงพ่อทวดที่อาจเรียดว่ามีมวลสารที่มีมวลสารที่"ทัน"เเละ"ถึง"หลวงพ่อทวดอย่างสมบูรณ์เเบบ

    <!-- / message --><!-- edit note --><HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มิถุนายน 2008
  16. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
  17. นักธรรมเอก

    นักธรรมเอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +761
    บอกได้คำเดียวว่า ยิ่งใหญ่มากครับ
     
  18. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    อนุโมทนาครับ
     
  19. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ชนวนหล่อหลวงพ่อทวด รุ่นรอยพระบาทรอยพระหัตถ์เขาเทวดาที่ชำรุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN6811.JPG
      DSCN6811.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.9 KB
      เปิดดู:
      530
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]
    อัญเชิญอัฐิธาตุหลวงพ่อดู่พรหมปัญโญ
    บรรจุในพระกริ่งเนื้อนวโลหะทุกองค์


    [​IMG] [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...