เหรียญเสมาลพ.หอม ชากหมาพระชัยวัฒน์อุบาเก๋งสมเด็จญาณสังวรเหรียญพระไพรีพินาศหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    จัดส่ง
    1735008917382.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1735115007789.jpg

    ขออนุญาตผู้เรียบเรียงชีวประวัติ พระสุนทรธรรมากร
    (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)
    วัดธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    เพื่อเผยแพร่ประวัติครูบาอาจารย์ครับ
    นิมิตประหลาด
    ตอนอายุ ๑๙ ปี เดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย
    กับพระภิกษุ ๒ รูป โดยใช้เวลาเดิน ๑๕ วัน จึงถึง
    ได้ไปศึกษาการปฏิบัติจากชีปะขาวครุฑ ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติ
    เหมือนกันกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    ในขณะกำลังฝึกกรรมฐานอยู่นั้น ได้ปรากฏภาพนิมิต
    คือ พระอินทร์ลงมาทุกครั้ง อยู่ข้างๆ
    ในขณะที่นั่งสมาธิ เห็นทุกวันที่ปฏิบัติ
    จนตลอดว่า หลับตาลงก็เห็นแต่พระอินทร์ ไม่รู้จะแก้อย่างไร
    เพราะในขณะนั้น ก็ห่างจากครูบาอาจารย์ แก้นิมิตก็ไม่ได้
    ก็เห็นอยู่ทุกคืนๆ พอเห็นนานวันเข้าก็เกิดความพอใจ
    ในรูปร่างลักษณะของพระอินทร์ ในขณะนั้นใจก็อยากจะเป็นพระอินทร์
    แต่ก็ยังไม่ได้ปรารถนา เพียงคิดเฉยๆ การเห็นนิมิตคือพระอินทร์นั้น
    ท่านเล่าว่า เริ่มเห็นตอนที่ท่านเริ่มปฏิบัติธรรม ตอนอยู่บ้านหนองหอยใหญ่
    อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    ถามพระอินทร์
    ท่านเล่าว่า วันนั้นเป็นวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ ท่านก็เริ่มนั่งสมาธิ
    พระอินทร์ก็ลงมาเหมือนเดิม ความรู้สึกในขณะนั้น
    ไม่ได้นั่งสมาธิ คือยืนที่ครกตำข้าว พระอินทร์ก็ลงมานั่งอยู่ที่หัวครกตำข้าว
    เมื่อท่านเห็นพระอินทร์ลงมา ก็ถามว่า
    “มหาบพิตรราชสมภาร เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนี้ มีวัตถุประสงค์อย่างไร”
    พระอินทร์ ตอบว่า “ที่โยมลงมาสู่มนุษย์โลกนี้ ก็เพราะต้องการอยากจะนิมนต์สามเณรขึ้นสวรรค์”
    จะให้อาตมาขึ้นเมื่อไร หลวงปู่ถามต่อไป “วันแรม ๑ ค่ำ” พระอินทร์ตอบ
    หลวงปู่ท่านคิดว่า แรม ๑ ค่ำ ก็เป็นวันพรุ่งนี้ และคิดต่อไปว่า ขึ้นสวรรค์ร่างกายเรายังหนักอยู่
    จะเหาะขึ้นไปเหมือนกับพระอินทร์ไม่ได้หรอก ก็คงจะไม่ได้เป็นแน่
    คิดไปคิดมาก็คิดว่า ถ้าขึ้นไปบนสวรรค์นี้ ดังนิมิตนี้ จะต้องไปแต่วิญญาณ
    ส่วนร่างกายคงจะไปไม่ได้ ถ้าไปแต่วิญญาณก็คงตาย
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    พิจารณาความตาย
    พอออกจากสมาธิ ก็มานั่งคิดพิจารณาว่า
    “เรานี้จะตายจริงๆ หรือ พรุ่งนี้”
    ตามความรู้สึกว่า ตายแน่ เพราะพรุ่งนี้เป็นวันแรม ๑ ค่ำ”
    คืนนั้นไม่นอน สมาธิต่อจนสว่าง
    พอสว่างแล้วก็ทำธุระปัดวาดกุฏิวิหาร
    ที่พักที่อาศัยตักน้ำเทกระโถนถวายพระ แล้วออกบิณฑบาตมาฉัน
    เมื่อฉันแล้ว ก็มาพิจารณาว่า หากเราตาย ก็ขอให้ตายตอนนั่ง
    ตายในขณะทำความเพียร จะไม่ตายในเวลาที่เราละความเพียรแล้ว
    ท่านนึกอยู่ในใจอยู่อย่างนี้ ก็เลยบอกพระภิกษุวันว่า
    อาจารย์ครับถ้าผมตาย ให้ตัดเอานิ้วมือผม นิ้วชี้ ข้างขวานิ้วหนึ่ง ข้างซ้ายนิ้วหนึ่ง
    ให้ตัดตรงโคลนนิ้ว ท่านบอกว่า ตายแล้วไม่เจ็บหรอก ให้ตากแดดให้แห้ง
    ถ้าไม่แห้งให้ย่างไฟก็ได้ ให้เอากลับไปให้แม่ของผม และบอกกับแม่ผมว่า
    ไม่ต้องเป็นห่วง ผมไปดีแล้ว ได้ไปสวรรค์ ตามคำของพระอินทร์พูด
    พระภิกษุวัน ก็กล่าวว่า ทำไมถึงพูดอย่างนี้ แต่ถึงอย่างไร สามเณรก็อย่าประมาท”
    สอนใจตนเอง
    หลวงปู่ก็พูดเท่านี้ แล้วจิตก็สอนตนเองว่า
    “ชีวิตนี้น้อยหนัก เมื่อถึงเวลาจะตายก็ต้องตาย
    ละร่างกายนี้ไป ชีวิตของคนเราไม่ยั่งยืน
    ทอดอาลัยในชีวิต ทำให้เกิดความกล้าไม่กลัว ”
    แล้วก็ทำความเพียรต่อไป ตั้งแต่เช้าถึงตอนเย็น
    เมื่อถึงเวลาทำวัตรเย็น ก็มาทำวัตรเย็นร่วมกับพระสงฆ์ เมื่อเสร็จแล้ว
    เข้าสู่ที่ปฏิบัตินั่งสมาธิ ออกจากสมาธิ ก็เดินจงกลมตลอด ออกจากเดินจงกลม
    ก็มานั่งสมาธิ ในช่วงที่พักผ่อนก็กำหนดลมหายใจไปเรื่อยจนหลับ
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    รู้ตัวตื่นขึ้นมา คิดว่า เราคงตายแล้ว
    ก็ร้องถามพระภิกษุที่อยู่ไม่ห่างนักว่า
    “อาจารย์ครับๆ” ก็ไม่มีเสียงตอบเงียบ ปลุกอย่างไรก็ไปขยับตัว”
    ก็มาคิดอีกว่า “คนตายเรียกคนเป็นอาจจะไม่ได้ยิน” ก็คิดต่อไปอีกว่า
    “เราตายแน่หรือ หรือว่ายังไม่ตาย” เอามือไปจับที่หนังสือตรงที่หัวนอน
    ก็ยังอยู่ปกติ จับดูมุ้งและถุงย่ามก็เป็นปกติ” มาคิดว่า
    ตายหรือไม่ตายก็ยังปกติอยู่” ก็สงสัยในใจอยู่
    ก็ลองปลุกพระที่อยู่ไม่ห่างอีกครั้ง
    ได้ยินเสียงท่านขานรับ แค่นั้นท่านก็รู้สึกตัวเลยว่า
    “เรายังไม่ตาย”ไม่นานก็สว่าง วันแรม ๑ ค่ำ ก็ผ่านไป
    ท่านก็คิดในใจว่า ไม่ตายแล้ว”
    หลังจากวันนั้นมา นิมิตที่พบเห็นพระอินทร์บ่อย ๆ
    ก็หายไปไม่ปรากฏอีกเลย
    รู้แล้ว ความหลงก็หายไป
    ท่านกล่าวกับข้าพเจ้าว่า
    “นิมิตทั้งหลาย ก็เป็นเพียงแค่ทางผ่านของการปฏิบัติ
    เหมือนเราเดินทางด้วยเท้า เราอาจเห็นสิ่งต่างที่อยู่ตามข้างทาง
    เห็นแล้วอย่าไปหลง เห็นแล้วอย่าไปติดอยู่
    ถ้าไปหลงไปติดอยู่ก็ไม่ไปถึงไหน ติดอยู่ตรงนั้นแหละ”
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสมบูรณ์ครับ
    เหรียญกรมหลวงชุมพร นปช.หลังพระธาตุพนมและยันต์ดวงสมปราถนา หลวงปู่คำพันธ์ เนื้อทองแดง ขัดเงา
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    FB_IMG_1735111137328.jpg FB_IMG_1735111139975.jpg FB_IMG_1735111142580.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2024
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1735229621566.jpg

    เมื่อเดินธุดงค์รอนแรมจากอำเภอ กุสุมาลย์ ทะลุถึงเมืองสกลนคร ในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส เมืองสกลนคร เมื่อเดินทางถึงวัดป่าสุทธาวาส ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ของอาคันตุกวัตร คือผู้เข้าไปสู่อาวาสต้องแสดงความเคารพ ไม่แสดงความแข็งกระด้าง ลดผ้าห่มเฉวียงบ่า วางบริขารไว้ในที่อันสมควร ดูว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าในอาวาส ไม่ได้รับแขก เป็นโอกาสอันสมควร หลวงพ่อสิ้วจึงได้พาเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ขอพักค้างคืนอยู่กับท่าน ท่านพระอาจารย์เสาร์ไม่ขัดข้อง อนุญาตให้ฟักได้ คือในขณะนั้นต่างนิกายกันกับท่าน
    FB_IMG_1735229615892.jpg
    หลวงปู่เล่าว่า เมื่อได้ทัศนาและกราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ในครั้งแรก ได้เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาจริยาวัตรของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้คิดในใจว่า "เมื่ออายุของเราครบบวชพระได้ เราจะบวชในสังกัดธรรมยุติกนิกายแล้วจะติดตามไปปฏิบัติอยู่กับท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์" พักอยู่กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าสุทธาวาสนี้ 2 คืน เมื่อฉันบิณฑบาตและจัดแจงบริขารลงในบาตร เตรียมการเดินทางเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อสิ้วจึงได้พาเข้ากราบนมัสการลาท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในขณะนั้นท่านได้เตือนให้ธรรมะว่า "ให้ตั้งใจให้ดี ตั้งสติให้ดีนะ" สามเณร บุญจันทร์พอได้ยินหลวงปู่เสาร์ให้โอวาทอย่างนั้น เกิดปีติเยือกเย็นซาบซ่านไปทั่วร่างกาย มีความเบากายเบาจิต คำที่ท่านเตือนให้โอวาทนั้นฝังอยู่ในจิตไม่ได้เลือนลาง
    เหรียญรุ่น 2 หลวงปู่บุญจันทร์กมโล วัดป่าสันติกาวาส อุดรธานี ออกวัดป่าโนนม่วง รุ่นเมตตา ปี๒๕๓๔ รุ่นเมตตา ศิษย์พระป่ากรรมฐาน ลป.เสาร์ ลป.มั่น
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20241226_224951.jpg IMG_20241226_225014.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    ภายในเจดีย์-หลวงปู่บุญหนัก-ขันติโก-ณ-สำนักสงฆ์ป่าสัก-บ้านหม้อเหนือ.jpg
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก พระผู้ทรงอภิญญา ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ในภาพจะเห็นว่าท่านเกศายาว คนอาจจะประมาทปรามาสท่านได้ แต่ท่านอธิษฐานของท่านไว้ อย่างไรไม่ทราบ มีเพียงแต่ลูกศิษย์บอกว่าเวลา ท่านปลงเกศาทีไร มีแต่คนมายื้อแย่งกันตลอด ท่านจึงปล่อยไว้ไม่ตัดอีกเลย
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๕๒
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ได้เมตตาเล่าถึงประวัติของ หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก ว่า..
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกรูปหนึ่งเคยจาริกธุดงค์ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดเชียงใหม่อยู่หลายปีจึงกลับลงมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ป่าสัก บ้านหม้อเหนือ
    ท่านอยู่ที่วัดป่าสักนี้ตั้ง ๔๐ ปีนู้น ไม่ใช่ง่ายๆ นะ ท่านต้องอด ต้องทน สู้กับโรคภัยไข้เจ็บของท่าน เดือน ๕ แดดร้อนๆ นี่ มีคนไปสังเกตดูว่าท่านจะอยู่ยังงัย ไปส่องดู ท่านนั่งสมาธิจนเหงื่อออกเต็มตัว ท่านจะอยู่แต่กุฏิของท่านนั่นหละ การที่ท่านจะได้ลงมาพื้นดินนี่มีน้อยนัก ท่านจะเดินจงกรมอยู่ระเบียง พอเดินเหนื่อยท่านก็เข้าไปนั่งภาวนา พอภาวนาเหนื่อยท่านก็ออกมาเดินจงกรมอยู่อย่างนั้นหละ พอถึงเวลาสรงน้ำก็ไปสรงน้ำ มีเท่านี้กิจวัตรของท่าน เพราะฉะนั้นท่านถึงมีญาณ รู้อดีต รู้อนาคต อย่างที่คนแถวนั้น ผู้ใกล้ชิด ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้เห็นพบประสบมาแล้วนั้นละ
    หลวงปู่บุญหนักนี้ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เคยเทศน์ยกย่องท่านว่า.. ท่านอาจารย์บุญหนักเป็นผู้มีคุณธรรมสูง เป็นผู้มีความรู้รู้อดีตรู้อนาคต เหตุที่ท่านไว้ผมยาวเพราะปลงผมแล้วท่านจะป่วยหนัก เพราะท่านมักป่วยออดๆ แอดๆ มาแต่หนุ่มแล้ว สมัยหนึ่งท่านเคยไปขออยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่เชียงใหม่ แต่หลวงปู่มั่นทราบว่าท่านมักจะป่วยบ่อยๆเลยให้ท่านไปรักษาอาการป่วยก่อนเพราะจะเป็นอุปสรรคในการภาวนา เรื่องความรู้ความเห็นของท่านเคยได้ยินว่า ชาวบ้านใครจะตาย ก่อนตาย ๓ วัน ๕ วันท่านทราบก่อนเลย
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก ท่านเป็นพระที่หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ไปมาหาสู่พุดคุยสนทนาธรรมอยู่ตลอด ตอนหลวงปู่บุญหนัก อาพาธหนัก หลวงปู่เหรียญ ได้มาเยี่ยมครั้งสุดท้ายและบีบนวดให้ เมี่อท่านสิ้นแล้วหลวงปู่เหรียญ ก็จัดการพิธีศพให้ และสร้างเจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก ไว้ที่วัดป่าอรัญญบรรพต ตรงทางขึ้นเนิน ใกล้ศาลากลางเปรียญ และได้สร้างโรงเรียนบ้านหม้อเหนือ (หลวงปู่เหรียญอุปถัมภ์) ขึ้นในบริเวณที่เป็นสำนักสงฆ์ของหลวงปู่บุญหนัก

    เจดีย์-หลวงปู่บุญหนัก-ขันติโก.jpg
    #หลวงปู่บุญหนัก_ขันติโก
    ท่านอยู่ที่วัดป่าสักนี้ตั้ง 40 ปีนู้น ไม่ใช่ง่ายๆ นะ ท่านต้องอด ต้องทน สู้กับโรคภัยไข้เจ็บของท่าน
    เดือน 5 แดดร้อนๆ นี่ มีคนไปสังเกตดูว่าท่านจะอยู่ยังงัย ไปส่องดู ท่านนั่งสมาธิจนเหงื่อออกเต็มตัว ท่านจะอยู่แต่กุฏิของท่านนั่นหละ การที่ท่านจะได้ลงมาพื้นดินนี่มีน้อยนัก ท่านจะเดินจงกรมอยู่ระเบียง พอเดินเหนื่อยท่านก็เข้าไปนั่งภาวนา พอภาวนาเหนื่อยท่านก็ออกมาเดินจงกรมอยู่อย่างนั้นหละ พอถึงเวลาสรงน้ำก็ไปสรงน้ำ มีเท่านี้กิจวัตรของท่าน
    เพราะฉะนั้นท่านถึงมีญาณ รู้อดีต รู้อนาคต อย่างที่คนแถวนั้น ผู้ใกล้ชิด ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้เห็นพบประสบมาแล้วนั้นละ......
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เล่าถึงประวัติของ หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก

    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น อีกรูปหนึ่ง
    เคยจาริกธุดงค์ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่อยู่หลายปี
    จึงกลับลงมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ป่าสัก บ้านหม้อเหนือ
    เมื่อหลวงปู่บุญหนักมรณภาพ จึงได้สร้างโรงเรียนบ้านหม้อเหนือ (หลวงปู่เหรียญอุปถัมภ์) ขึ้นในบริเวณที่เป็นสำนักสงฆ์ของหลวงปู่บุญหนัก
    FB_IMG_1735232678178.jpg FB_IMG_1735232684851.jpg
    เหตุที่หลวงปู่บุญหนักไว้ผมยาว เพราะเมื่อท่านปลงผมก็มักจะเจ็บป่วย บางคราวถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ ท่านจึงไม่ปลงผม
    แม้ท่านจะอายุมากแล้ว แต่ผมของท่านก็ยังคงดำสนิทต่างจากคนทั่วไปดังที่เห็นในรูป
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูปถ่ายหลวงปู่บุญหนัก เลี่ยมประกบจีวรหลวงปู่ด้านใน
    ให้บูชา 1,500 บาทครับ

    IMG_20241226_225220.jpg IMG_20241226_225204.jpg IMG_20241226_225250.jpg IMG_20241226_225309.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    mhs (2)_resize.jpg
    เมื่อเอ่ยถึงเมืองแม่กลอง หรือจัดหวัดสมุทรสงครามแล้ว นักเล่นนักสะสมพระเครื่องจะต้องนึกถึงพระเกจิที่แก่กล้า วิทยาคมอย่างยอดเยี่ยม อาทิ “ หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม , หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ , หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี และหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ” ซึ่งในปัจจุบันพระเกจิอาจารย์ทีได้กล่าวนามไปแล้วนั้น ได้มรณภาพละสังขารไปแล้วทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันยังมีพระเถราจารย์ที่มากไปด้วยความรู้ความสามารถและได้สืบทอดสรรพวิชาอาถรรพณ์และศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเอาไว้ได้อย่างเข้มขลัง ไม่แพ้ครูอาจารย์ ในอดีต เป็นเพชรน้ำเอกแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลองในปัจจุบัน
    พระเถราจารย์ที่มหาชนกราบไหว้ด้วยหัวใจท่านนี้คือ หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม หลายท่านที่เข้าไปนมัสการกราบขอศีลขอพรจากท่าน ล้วนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังไม่เคยพบพระที่มีอัธยาศัยดี ยินดีต้อนรับญาติโยมโดยไม่เลือกชั้นวรรณะเช่นท่านมาก่อน ยิ่งได้สนทนาธรรมรับฟังคำสอนสั่งของท่าน หลายท่านถึงกับเปลี่ยนแปลงปรับนิสัย มีชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น ได้พบแสงสว่างแห่งธรรมนำมาปฏิบัติในชีวิต จนเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ตลอดจนครอบครัว และผู้ใกล้ชิดก็มีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
    “ พ่อผมอยากบวช ” เด็กน้อยที่ชื่อ ด.ช.ปอย อยู่กำเนิด บอกกับบิดาเมื่อครั้งไปงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนที่หลวงพ่อท่านเจ้าคุณกิตติวุฑโฒ ( พระเทพกิตติปัญญาคุณ) อดีตเจ้าสำนักจิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้จัดงานในครั้งนั้น
    คำตอบทีได้รับจากผู้เป็นพ่อคือเสียงเอ็ดตะโรทำให้เด็กตัวน้อยถอดใจ และไม่กล้าขอบวชอีกเลย เพราะกลัวผู้เป็นพ่อตี ตามประสาเด็ก แต่ด้วยบุญวาสนาที่เคยก่อเกิดไว้ในชาติภพและได้ถูกกำหนดเส้นทางชีวิตให้เป็นผู้สืบทอดสรรพวิทยาคุณจากครูบาอาจารย์ผู้เรืองอาคมแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศเมื่อครั้งอดีตกาล และได้รับมอบหมายเป็นที่วางใจจากเกจิอาจารย์หลายท่านให้คงรักษาสรรพคุณวิทยาการให้ดำรงคงอยู่ โชคชะตาที่เป็นดังเส้นทางชีวิตจึงลิขิตให้ ด.ช.ปอย ได้ก้าวสู่ร่มกาสาวพัตกร์ในเวลาต่อมาอย่างไม่คาดฝัน
    ด้วยจริยาวัตรงดงาม สุภาพอ่อนโยน มีอัธยาศัยดี เมตตาต่อทุกผู้ทุกนามที่เข้าไปกราบนมัสการศีล โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนามากความสามารถ ความศรัทธาที่ก่อเกิดจากประชาชนอย่างล้นหลามนี้เอง ที่ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข เจ้าอาวาสวัดประดู่ ตำบลประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระที่ประชาชนกราบไหว้ด้วยหัวใจอย่างแท้จริง
    ด.ช. ปอย อยู่กำเนิด ผู้ถูกลิขิตให้เป็นผู้สืบทอดสรรพวิทยาแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 เดือน 8 ปีฉลู ณ บ้านบางสะใภ้ ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นบ้านเดิมของมารดาชื่อนางบุญเรือง อยู่กำเนิด บิดาชื่อนายประสิทธิ์ อยู่กำเนิด มีพี่น้องร่วมครรภ์มารดา 5 คน ตัวของท่านเป็นบุตรคนที่ 3 แต่ด้วยแสงไฟแห่งอายุขัยของพี่ชายทั้ง 2 ดับมอดลงตั้งแต่เด็ก ๆ ท่านจึงกลายเป็นพี่ชายคนโตโดยปริยาย
    ครอบครัวของท่านได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อำเภออัมพวา ซึ่งเป็นบ้านของโยมพ่อ และเข้าเรียนฝึกเขียนอ่านถึง 3 ที่ โรงเรียนวัดช่องลม โรงเรียนวัดประดู่ และจบชั้น ป.7 ที่โรงเรียนวัดใหญ่สามัคคี
    วิบากกรรมในอดีตชาติเปรียบดังมารผจญวัยเด็กของท่านไม่เคยแข็งแรงเหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป ท่านเป็นเด็กร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอจวนเจียนจะตามพี่ชายทั้ง 2 ไปก็หลายคราจนพ่อของท่านได้นำตุ๊กตาเด็กไว้ผมจุก ผมแกละ ผมเปีย และผมปอย ซึ่งเป็นผมทรงโบราณมาให้ท่านเลือก ท่านก็เลือกตุ๊กตาผมปอยถึง 2 ครั้ง
    ตามโบราณกาลของไทยในการให้เด็ก ๆ ที่ไม่รู้ประสีประสาเป็นผู้เลือกตุ๊กตา เพราะผู้ใหญ่ท่านเห็นว่าเด็ก ๆ ที่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเลี้ยงยาก ถ้าให้ไว้ผมธรรมดาคงจะไม่ดี จึงแก้เคล็ดด้วยการให้เด็กเสี่ยงทายทรงผม พอเปลี่ยนทรงผมแล้วจะกลายเป็นเด็กแข็งแรง เลี้ยงง่าย นับจากนั้นมาท่านก็ไว้ผมปอยจนกระทั่งบวชเป็นสามเณร
    ผลกรรมของท่านในวัยเยาว์ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เมื่อครั้งที่ท่านยังจำความได้ท่านป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิด บ้วนปากออกมามีแต่ลิ่มเลือดสีดำ โยมพ่อของท่านเห็นเช่นนั้นก็ตกใจรีบอุ้มลูกรักลงเรือจากคลองวัดประดู่ไปหาหมอที่จังหวัดราชบุรีทันที
    เคยมีผู้รู้กล่าวว่า “ วันมหัศจรรย์เกิดขึ้นได้ทุกวัน เพียงแต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นกับเราในวันนี้เท่านั้น ” ในวันนั้นเองวันมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นกับครอบครัวอยู่กำเนิด โดยปกติแล้วเส้นทางสัญจรทางเรือจะมีการรับส่งผู้โดยสารเป็นระยะ
    แปลกแต่จริง ! วันนั้นไม่มีผู้โดยสารขึ้นลงเรือสักคนเดียว เรือวิ่งฉิวถึงจุดหมายในพริบตา ทันที่หมอจะช่วยชีวิตของท่านไว้ได้อย่างฉิวเฉียด
    ในช่วงที่ท่านเรียนชั้น ป.6 ท่านมีฝีขึ้นที่คอบวมจากคางขึ้นไป หมอเจ้าของไข้บอกเพียงว่าท่านอาจจะเป็นมะเร็ง ให้เพียงยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ และให้นอนดูอาการอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น
    คนเราทุกคนย่อมมีผลกรรมที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติกันทุกคน เพียงแต่จะได้รับการผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือมีวาสนาต้องกันกับใครในชาติปางก่อน ณ โรงพยาบาลแห่งนั้น มีนายแพทย์ท่านหนึ่งชื่อคุณหมอสมหมาย วันนั้นคุณหมอเดินตรวจคนไข้ตามปกติ แล้วมาหยุดที่ ด.ช.ปอย ต่างคนต่างมองตาเหมือนมีอะไรบางอย่างสื่อถึงกัน คุณหมอสมหมายรีบเข้าไปหาโยมพ่อของท่านขอทำการผ่าเอาฝีออก เพราเกรงว่าจะช้ำอยู่ข้างใน
    โยมพ่อของท่านอนุญาตให้ทำการาผ่าฝีทันทีและพบว่าหนองอยู่เต็มไปหมด หัวฝีโผล่ขึ้นมาเม็ดหนึ่ง แล้วถ้าช้าเกินกาลว่านี้เชื้อร้ายจะขึ้นสมองแน่นอน คุณหมอสมหมายผ่าเอาฝีออกให้ เป็นตัววาสนาที่มีคนมาดูแลรักษาเหมือนเคยเกื้อหนุนซึ่งกันและกันมาก่อน
    เมื่อโชคชะตากำหนด ย่อมยากที่จะหลีกพ้นไม่ว่าจะหลีกหนีไปลู่ทางไหน สุดท้ายก็ย่อมต้องกลับมาดังพรหมท่านลิขิตไว้ หลังจากที่ท่านเคยร้องขอต่อผู้เป็นพ่อว่าขอบวช แต่กลับถูกเอ็ดตะโรเสียยกใหญ่ จนท่านเลิกล้มความตั้งใจไปแล้วครั้งหนึ่งเท่านั้น ก็มีเหตุบังเอิญอย่างไม่ทราบสาเหตุ โรคหอบเข้ามาเคาะประตูชีวิตถึงหน้าบ้านท่านอย่างไม่มีใครรู้ตัว ท่านหอบโยนทั้งตัวหายใจไม่ออกแน่นหน้าอก โยมแม่ของท่านต้องลุกขึ้นมาติดเตาไฟให้ นอนเหมือนคนอยู่ไฟอาการหอบจึงค่อย ๆ คลายทุเลา
    ความเจ็บปวดของลูกทำให้ผู้เป็นพ่อทรมานสุดหัวใจ ระลึกนึกได้ว่าลูกเคยขอบวช หากยังให้เป็นฆราวาสเช่นนี้คงไม่ดีแน่ จึงถามลูกรักว่า “ อยากบวชใช่ไหม ”
    “ ถ้าให้บวชก็บวช ” เสียงที่เปล่งออกมาของท่าน เหมือนคนปกติทั่วไป ไม่มีอาการของคนเจ็บไข้ได้ป่วยปรากฏ เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้น โยมพ่อของท่านไม่รอช้ารีบอุ้มลูกรักเข้าสู่อ้อมกอดตรงไปที่วัดทันที เมื่อถึงวัดท่านเจ้าอาวาสถามถึงวัตถุประสงค์ของสองพ่อลูกในเย็นย่ำวันนั้น
    “ เอ็งมาทำไมกัน ”
    “ ผมจะเอาลูกมาบวชครับ ”
    ท่านเจ้าอาวาสจึงหันไปถามเด็กชายปอยในวัยเพียง 13 ขวบ ว่า “ เอ็งจะบวชเพื่ออะไร ”
    “ ผมอยากเรียนนักธรรม และเรียนบาลี ” เด็กชายตอบด้วยน้ำเสียงหนักแน่นและแววตาที่มุ่งมั่น สิ้นคำตอบของเด็กชาย ท่านเจ้าอาวาสจับโกนหัวและสั่งให้ตระเตรียมจีวรแล้วบวชให้ในวันนั้นทันที เพราะในตอนเช้ามีงานบวชพระ เด็กชายปอยจึงได้เข้าบวชเป็นสามเณรที่วัดปัจจันตาราม จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีหลวงพ่อสุด สิริธโร ( พระครูสมุทรธรรมสุนทร) วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ดังลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็นอุปัชฌาย์จำพรรษา จากนั้นไปเรียนบาลีที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ศึกษาเล่าเรียนวิชาอะไรก็ตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้เองอาจารย์หลายท่านจึงพร้อมใจถ่ายทอดสรรพวิชาอย่างไม่หวงแหนแต่อย่างใด
    วันหนึ่งขณะที่ท่านกวาดลานหน้าอุโบสถวัดมหาธาตุอยู่นั้น (ท่านจำพรรษาในโบสถ์) มีชายแปลกหน้าคนหนึ่งซึ่งท่านไม่เคยพบมาก่อนมาอาศัยหลบร้อนผ่อนคลายอยู่ที่หน้าอุโบสถแล้วตะโกนเรียก
    “ เณร.......... เณร.................. นิมนต์มาทางนี้หน่อย ”
    ชายแปลกหน้าผู้นั้นได้มอบคาถาไว้ให้ท่านบทหนึ่ง โดยให้ท่านท่องจำให้ขึ้นใจ และเล่าว่าคาถาบทนี้ได้มาเมื่อครั้งบวชเป็นพระและเดินธุดงค์ไปทางเชียงใหม่ ซึ่งสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบมีอันตรายอยู่รอบตัว พอเดินธุดงค์ไปได้สักระยะ มีชีปะขาวท่านหนึ่งมาปรากฏกายห้ามไว้มิให้เดินทางต่อ แต่ด้วยสัตย์และจิตที่ตั้งใจไว้ว่าจะต้องธุดงค์ด้วยเท้าให้ถึงเชียงใหม่ให้ได้ ถึงสิ้นชีพกลางทางก็ยอมเพราะชีวิตนี้ได้อุทิศแด่พระพุทธเจ้าไปแล้ว
    ชีปะขาวท่านนั้นจึงได้มอบคาถาบทนี้ให้ เมื่อร่ำเรียนจนมั่นใจว่าท่องขึ้นใจแล้ว ก็เดินธุดงค์สู่เชียงใหม่ทันทีโดยไม่ยอมหยุดพัก
    เมื่อใกล้ถึงจุดหมาย ชีปะขาวท่านเดิมปรากฏกายให้เห็นอีกครั้ง มันเป็นไปได้อย่างไรที่ชีปะขาวจะมาถึงก่อน ! ? แล้วทวงถามให้ท่องคาถาที่ได้มอบไว้ให้ ชายแปลกหน้าเมื่อครั้งเป็นพระธุดงค์ท่องคาถาให้ฟังอีกครั้ง แต่ตกไป 2 ตัว ชีปะขาว ท่านนั้นจึงให้ท่องใหม่จนคล่องแคล่วแล้วต่างคนต่างแยกย้ายกันไปตามจุดหมายปลายทาง
    ถึงทุกวันนี้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ยังไม่ทราบชื่อชายแปลกหน้า และไม่เคยเห็นมานอนที่หน้าอุโบสถอีกเลย หลังจากที่ถ่ายทอดคาถาบทสำคัญไว้ให้ท่านได้เก็บรักษา
    ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านพักอยู่ในอุโบสถวัดมหาธาตุ ท่านได้ฝันว่ามีโยมท่านหนึ่งพาลงไปใต้ผืนดินคล้ายถ้ำ ภายในนั้นไม่มีทางออกแม้แต่ทางเดียวแต่กลับมีพระพุทธรูปทองคำองค์เล็กองค์ใหญ่เรียงรายมากมาย
    “ เณรอยากมาอยู่ที่นี่ไหม โยมผู้นั้นถาม ”
    “ ไม่หรอก ไม่อยู่ อาตมากลัว ”
    โยมผู้นั้นโยนคำถามสำคัญต่อไปว่า “ เณร............... ท่องวิรูปักเขได้ไหม ”
    “ ท่องไม่ได้ ไม่เคยท่องเลย ”
    สิ้นเสียงตอบของเณรน้อยโยมผู้นั้นก็จับมือของท่านแล้วให้ขึ้นบท “ วิรูปักเข ” แล้วต่อด้วย “ หิ เม เมตตัง เมตตัง ” แล้วพาเดินผ่านผนังถ้ำออกมาอยู่ที่โล่ง
    “ เณร ........ ดูวิญญาณที่เขาพามาจากเมืองมนุษย์สิ ” ชายแปลกหน้าชี้ชวนให้ดูเหล่าวิญญาณกลุ่มใหญ่ที่เดินเข้ามา
    “ เราจะไม่ให้เขาเห็นเรานะเณร ”
    โยมแปลกหน้าจับมือเณรไว้แน่น บอกกับเณรว่า “ เณรขึ้นวิรูปักเข ” แล้วต่อด้วย “ หิ เม เมตตัง เมตตัง ” พลัน !!! มหัศจรรย์บังเกิด วิญญาณเหล่านั้นพากันเดินผ่านไป เหมือนไม่มีสิ่งใดอยู่ตรงหน้า
    โยมแปลกหน้าพาเณรเดินทางต่อไป โดยชักชวนให้ไปดูคนกำลังจะฆ่ากัน แล้วให้ท่อง “ วิรูปักเข ” แล้วต่อด้วย “ หิ เม เมตตัง เมตตัง ” ทั้งสองเหาะเหินล่องลอย แล้วมาหยุดลงบนพื้นดิน โยมแปลกหน้ากล่าวขึ้นด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆ ว่า “ วิญญาณดวงนี้ยังไม่ถึงที่ตาย เดี๋ยวต้องไปหาหน่อย ”
    คนที่กำลังจะฆ่ากันเมื่อเห็นโยมแปลกหน้าก็รู้ว่าเป็นยมฑูต จึงหยุดการฆ่าฟันหายวับไปทันที
    “ โยมจะกลับแล้วนะเณร ภายหน้าถ้ามีอะไรเดือดร้อน ให้นึกถึงโยม แล้วโยมจะมาช่วย แต่ก่อนที่โยมจะไปเณรเอามือแตะมือของโยมก่อน ”
    เพียงมือสัมผัสมือ โยมแปลกหน้าก็หายวับไป ด้วยวัยเยาว์ของเณรน้อยแม้จะอยู่ในฝันก็ซุกซนปีนป่ายขึ้นไปบนยอดต้นยาง หวังจะทดสอบว่าโยมแปลกหน้าได้ลั่นวาจาไว้จริงหรือไม่ คิดได้ดังนั้นแล้วจึงกระโดดจากยอดต้นยางลงมา
    แรงโน้มถ่วงของโลกมิอาจทำให้ร่างของเณรน้อยระคายเคืองจากแรงกระแทก ร่างของเณรค่อย ๆ ร่อนลงสู่พื้นดินอย่างช้า ๆ เมื่อสองเท้าสัมผัสพระแม่ธรณีก็สะดุ้งตื่น ถึงเวลาออกบิณฑบาตรพอดี
    สามเณรน้อยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างมุ่งมั่นตั้งใจให้สมตามวัตถุประสงค์จนสามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ โดยในปีนั้นท่านได้พบกับโยมสุธี พัฒนสุพงษ์ ซึ่งเป็นนักพยากรณ์ที่ท่านยกย่องว่าแม่นยำยิ่งกว่าตาเห็น
    ท่านได้ให้โยมสุธีพยากรณ์ว่าท่านจะสามารถสอบเปรียญธรรมในครั้งนั้นได้หรือไม่
    “ สบายเณร ได้แน่นอน ไม่ต้องคอยหรอก ” แล้วท่านก็สอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ดังคำพยากรณ์
    ในปีต่อมาท่านจะสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนเลย ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ พากเพียรพยายามศึกษาด้วยตนเอง มุมานะจนเข้าสอบในครั้งนั้น แต่ความมุ่งมั่นตั้งใจ พากเพียรพยายามศึกษาด้วยตนเอง มุมานะจนเข้าสอบในครั้งนั้น แต่ความไม่มั่นใจในการสอนเพราะไม่ได้มีเวลาเข้าเรียน ท่านจึงเดินทางไปหาโยมสุธีเพื่อให้ช่วยพยากรณ์อีกครั้ง
    “ สอบได้ ” โยมสุธีตอบด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น
    แล้วท่านก็สอบเปรียญ 4 ประโยคได้ดังคำพยากรณ์ของโยมสุธีอีกครั้ง เหมือนมีวาสนาต่อกัน โยมสุธีได้ถ่ายทอดวิชาโหราศาสตร์ให้กับท่าน เน้นย้ำว่าวิชานี้ยังไม่เคยถ่ายทอดให้กับผู้ใด มีเพียงหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาโหราศาสตร์อันล้ำค่าวิชานี้
    คำพยากรณ์ครั้งสุดท้ายของโยมสุธีเปรียบดังคำกล่าวลาหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ และยืนยันว่าวิชาพยากรณ์ของท่านไม่เป็นรองใคร ในช่วงเดือนมีนาคมหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้กล่าวกับโยมสุธีว่า
    “ โยม อาตมาจะบวชวันที่ 10 กรกฎาคม นี้นะ ” ท่านกล่าวเชิญชวนอาจารย์ของท่าน
    “ โอ๊ย ! ผมหมดอายุไปแล้วละเณร ถ้าวันที่ 10 ผมยังไม่ตายนะ ผมจะไปงานอุปสมบทแน่นอน แต่น่าเสียดาย ผมจะหมดอายุแล้ว ”
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์พินิจพิจารณาด้วยตาเนื้อเห็นว่าสังขารของโยมสุธียังแข็งแรงดี เดินเหินคล่องแคล่ว ไม่น่ามีโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ จะเป็นไปได้อย่างไรที่โยมสุธีจะสิ้นอายุไขก่อนเวลาอันควร
    วันที่ 10 กรกฎาคม 2526 ในช่วงเวลาบ่าย ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปัจจันตาราม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระธรีญาณมุนี (สนิท เขมจารี ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพระครูสาครสุทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดปัจจันตารามเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อพระครูนิพัทธิ์วรการ ( หลวงพ่อเพี้ยน สุวณฺณปทุโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    วันนั้นไร้วี่แววของโยมสุธีมาร่วมงานจนกระทั่งท่านทราบข่าวจากญาติโยมว่า โยมสุธีได้เสียชีวิตแล้ว เมื่อเวลา 7 โมงเช้า หลังจากที่เข้าห้องไอซียูเมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา
    อาจารย์ท่านแรกของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ที่ถ่ายทอดศาสตร์พยากรณ์ที่เรียกว่า “ วิชาทักษะพยากรณ์ ” ยืนยันอานุภาพแห่งวิชาที่ได้ถ่ายทอดด้วยชีวิตของท่านเอง
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เริ่มเรียนกรรมฐานครั้งแรกกับหลวงปู่คำ วัดดอยสุเทพ อาจารย์ตา วัดเขาแก้ว จังหวัดสระบุรี หลังจากฝึกกรรมฐานก็ไปเรียนทางสายอาคมกับฆราวาสชื่อ ครูนาค ที่เป็นโต้โผลิเก
    ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบทอดและรักษาสรรพวิชาการไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าเหตุใดครูนาค ถึงเอ่ยกับท่านว่า “ ให้รีบไปนะ จะไม่อยู่แล้ว ” ท่านก็รีบไปหา ได้รับตำราต่าง ๆ มากมายมาคัดลอกไว้ เมื่อคัดลอกเสร็จแล้วก็เดินทางกลับไปหาครูนาคอีกครั้ง คราวนี้ครูนาคท่านสอนวิธีการใช้แล้วให้กลับมาท่องจำครูนาคท่านสอนให้เรียนแบบแก้ ไม่ได้สอนเรียนแบบผูกแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่าอย่าเรียนวิชาผูกเลย มันบาป ให้เรียนแก้จะดีกว่า (ท่านบอกว่าส่วนใหญ่เป็นวิชาเกี่ยวกับการทำเสน่ห์และคุณไสย)
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะระลึกอยู่เสมอว่าตัวเรานี้เป็นเพียงผู้ช่วยของครูบาอาจารย์เท่านั้นเป็นเพียงลูกมือ วิชาทั้งหมดเป็นของครูบาอาจารย์ เราเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดและบอกกล่าวให้ครูท่านช่วย ว่าคนนั้นคนนี้เป็นอะไรมา เราจะถอนคุณไสยให้เขานะ ซึ่งเรื่องคุณไสยหรือการโดนของนั้นเป็นเรื่องของกรรมในแต่ละคนที่จะพบเจอ การจะถอนคุณไสยให้ทุเลาเบาบางจึงอยู่ที่ผลบุญผลกรรมของแต่ละคนด้วยส่วนหนึ่ง
    เมื่อท่านท่องจำจนขึ้นใจ ก็เดินทางกลับไปหาครูนาค ปรากฏว่าครูนาคได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ครูนาคยังมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีอาการของคนเจ็บไข้ได้ป่วยปรากฏให้เห็นแม้แต่น้อย หลังจากศึกษาวิชาจากครูนาค ท่านไปเรียนกับ ครูสุข นายเวียน เกี่ยวกับวิชาแคล้วคลาด และไปเรียนกับ ครูสุตา ที่ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเก่งเรื่องต่อกระดูกสันหลัง โดยใช้น้ำมันงา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีสามล้อเกิดอุบัติเหตุ หมอได้วินิจฉัยว่าจะต้องตัดแขน สามล้อคนนั้นไม่อยากพิการแขน จึงหนีออกจากโรงพยาบาลไปหาครูสุตา เพื่อต่อเส้นเอ็นและกระดูกให้ปรากฏว่าทุกวันนี้สามารถทำงานได้ตามปกติ
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ท่านได้พบฆราวาสท่านหนึ่ง ชื่อครูรวม เก่งกาจเรื่องสักยันต์ ตัวท่านเองไม่ชอบการสักยันต์เท่าไหร่ เพราะเมื่อตรองดูแล้ว ถ้าพ่อแม่มาเห็นลูกสักลายจะเสียใจ จึงไม่หัดสักยันต์ แต่เรียนวิชาสักเอาพอเป็นความรู้เท่านั้น ครูรวมท่านจึงถ่ายทอดเรื่องอักขระขอม และวิชาสักยันต์ให้ โดยให้ไปสักกับต้นกล้วยให้เชี่ยวชาญคล่องแคล่ว เป็นวิชาอันล้ำค่าให้หลวงพ่อ-มหาสุรศักดิ์ได้เก็บและรักษาสืบทอดต่อไป
    เรื่องนี้ต้องย้อนความกลับไปเมื่อครั้งหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ไปอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบเปรียญ 5 ประโยค ขณะนั้นครูรวมท่านยังนุ่งห่มจีวรเป็นพระอยู่นั้น ด้วยความเมตตาจากท่านเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ท่านได้แนะนำพระมหาสุรศักดิ์ให้ได้พบกับครูผู้ที่จะประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้อีกท่านหนึ่ง
    “ นี่ท่านมาหาอาจารย์รวมหลังแห้งนะ อยู่ในอุโบสถ ถ้าสนใจวิชาก็เข้าไปดูสิ ”
    ความที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้ใฝ่รู้ในวิชาท่านจึงรีบไปที่อุโบสถทันที แต่จะทำอย่างไรดีถึงจะได้รู้จักกัน เพราะไม่เคยพูดจาปราศัยกันมาก่อน ที่ข้างตัวของครูรวมมีกระดานเขียนอักขระยันต์ไว้ว่า “ นะโมพุทธายะ ” หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เห็นแสงสว่างทันที รู้วิธีที่จะทำความรู้จักกับครูรวมจึงแกล้งอ่านอักขะยันต์ที่เขียนไว้ในกระดานไม่ออก
    “ เอ๊ะ ............. นะ มะ อะไร นะ ”
    “ นะโมพุทธายะไงท่าน ” แล้วมิตรภาพก็เริ่มก่อตัวขึ้น
    เรื่องฝีไม้ลายมือในการสักยันต์ของครูรวมเป็นที่กล่าวขานยิ่งในยุคนั้น มีการกล่าวกันว่าลายสักยันต์ของครูรวมเข้มขลัง และเรืองเดชด้วยอาคมเป็นอย่างยิ่ง เวลาที่ครูรวมสักยันต์ให้ลูกศิษย์ของท่านเสร็จ ท่านจะใช้ขั้วข้าวเปลือกที่ทั้งแหลมทั้งคมกรีดลงไปอีกครั้ง
    ขณะที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมคงคา ครูรวมท่านเอามีดตาลใส่ย่ามเข้ามาหาถึงกุฏิแล้วดึงมีดตาลออกมาจากในย่าม
    “ อาจารย์เอามีดมาได้อย่างไร เดี๋ยวตำรวจก็จับเอาหรอก ”
    ครูรวมตอบยิ้ม ๆ “ แหม ...... ท่านมหา มันรู้สึกคันที่มือ ผมไม่รู้เป็นอะไร ” แล้วครูรวมก็เอามีดตาลถากมือเหมือนกับท่านจะร้อนวิชาจึงแสดงให้ดู
    ช่วงที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์หัดเขียนหนังสือขอมใหม่ ๆ ตัวหนังสือยังไม่สวยเท่าใดนัก ครูรวมผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้สอนสั่งกำชับว่า “ ต้องเขียนอย่างนี้ เขียนให้มันสวยและดูขลังหน่อย ”
    “ คนเราวาสนาไม่เหมือนกัน อาจารย์เขียนสวย คนอื่นเขียนไม่สวย จะให้เขียนสวยเหมือนกับอาจารย์ได้อย่างไร ”
    เงียบ ! ครูบารวมท่านไม่ปริปากสักคำ แม้ลูกศิษย์จะเถียง นี่เองที่ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เกิดความเกรงใจในครูบาอาจารย์และตั้งใจเขียนหนังสือขอมให้สวยขึ้นสุดความสามารถ ทุกครั้งที่ครูรวมมาหาหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ที่วัดปทุมคงคา หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะพยายามลองคัดตัวอักษรเขียนให้ได้ตามลายมือของอาจารย์ เป็นการหมั่นฝึกฝนวิชาที่ได้รับการถ่ายทอดและตั้งใจที่จะทำให้อาจารย์ภูมิใจในตัวลูกศิษย์
    หลายเดือนผ่านไปหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้มีโอกาสพบกับครูรวม ยังไม่ทันที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะกล่าวคำพูดใด ครูรวมท่านก็ทักขึ้นก่อนว่า
    “ ท่านมหา ผมฝันว่ามีคนมาคัดลอกเลียนลายมือของผมนะ ”
    เมื่อครั้งวันที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จัดงานไหว้ครู หลังเสร็จสิ้นพิธี ต้องเก็บเตาไฟให้เรียบร้อย ญาติโยมที่มาช่วยงานต่างนำถ่านมากองรวมไว้ที่หน้าเตา ผ่านไปเพียงครู่ข้างบนไหม้จนกลายเป็นขี้เถ้า แต่ข้างล่างยังมีถ่านไฟแดงครุกรุ่นอยู่ ลูกศิษย์คนหนึ่งไม่รู้ความจะเข้าไปเก็บเตา ผิดท่าประการใดไม่ทราบเท้าเหยียบเข้าไปเต็มเปา ไฟแดง ๆ เจอเนื้อนุ่ม ๆ มันก็ไหม้เท่านั้น
    ลูกศิษย์ผู้โชคร้ายวิ่งมาหาหลวงพ่อ มาหาหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ ร้องโอดโอยขอร้องให้ช่วยรักษา พอดีครูรวมท่านนั่งอยู่ข้าง ๆ หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จึงขอให้ครูรวมท่านช่วยดับไฟให้ลูกศิษย์เพื่อเอาบุญ
    “ พรวด ! ” ครูรวมท่านเป่าทีเดียวเท่านั้น ลูกศิษย์คนดังกล่าวที่ก่อนหน้านี้ร้องครวญครางเจ็บปวดเจียนตาย กลับนิ่งเงียบทำตาปริบ ๆ พอเช้าวันรุ่งขึ้นเรียกมาดูอาการ ปรากฏว่าไม่มีแผลให้เห็นเหมือนกับว่าเนื้อนั้นไม่เคยต้องไฟแม้แต่น้อย
    เรื่องเล่าวิชาอาคมของครูรวมยังไม่จบเพียงเท่านี้ วันหนึ่งครูรวมเอาผ้าโพกหัวเข้าไปทางป่าท่านเจอรังผึ้งขนาดใหญ่อยู่ในโกดังที่ใช้เก็บศพ ท่านเห็นดังนั้นจึงไปตักน้ำใส่ขันมาตั้งไว้
    “ เอ้า ...อยู่กันอดน้ำ กินน้ำซะ ”
    เหมือนกับว่าเหล่าฝูงผึ้งจะฟังภาษาคนรู้เรื่องแบบว่านอนสอนง่าย ผึ้งทั้งฝูงก็ย้อยรังลงไปทั้งรังในขันน้ำ แล้วครูรวมท่านก็ถางป่าของท่านต่อไป พอเสร็จภารกิจ ครูรวมกลับมาดุที่ขันน้ำพบว่าผึ้งตายเกือบหมด มีเหลือรอดไม่กี่ตัวอยู่ข้างบนสุดของขันนิดหน่อยเท่านั้น ที่อยู่ในก้นขันน้ำนอนตายเต็มไปหมด
    “ แหม...กูเอาน้ำให้กิน พวกมึงลงไปกินน้ำกันจนตายเลยนะ ”
    ด้วยความเมตตาสรรพสัตว์ ครูรวมถือขันน้ำใบนั้นมาเคาะลงในสังกะสี แล้วเอาผ้ากั้นตัวผึ้งไว้ให้น้ำไหลออก แล้วลากสังกะสีแผ่นนั้นไปหน้าพระประธาน เอากะละมังมาครอบฝูงผึ้งไว้ แล้วท่านกราบหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ที่นั่งทบทวนตำราอยู่ก่อนหน้านี้ จากนั้นนั่งมองฝูงผึ้งที่สิ้นลมถูกกะละมังครอบร่าง สักครูหนึ่งครูรวมเอยกับหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ว่า
    “ มหา...ท่านช่วยเปิดดูหน่อยได้ไหม พวกมันฟื้นกันหรือยัง ”
    “ ยังไงนี่ตารวม ผึ้งมันตายไปหมดแล้ว จะฟื้นขึ้นมาได้ยังไง ” ท่านว่าตามที่เห็น
    “ เปิดดูหน่อยเถอะ มันฟื้นกันหรือยัง ”
    “ จะบ้าหรอตารวม ก็เห็นอยู่ว่าผึ้งมันปีกยับเยินไปหมดแล้ว จะฟื้นขึ้นมาได้ยังไง ”
    แล้วท่านก็เปิดกะละมังนั้นออกดูเพราะไม่อยากขัดใจ ปรากฏว่าฝูงผึ้งที่หลับใหลจากความตายฟื้นขึ้นมาบินออกไปจนหมด
    ภาพขยาย... ภาพขยาย... ภาพขยาย...
    เมื่อครั้งที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์กลับมาที่วัดประดู่ ท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หยอดเพราะครูสุนทรธรรมกิจ ชินว์โส) วัดแก้วเจริญ ให้ช่วยงานเป็นพระเลขาฯ ของท่าน ทำให้ท่านได้มีโอกาสเรียนวิชาทำไหมมงคล 7 สี เรียนตะกรุดโลกธาตุ เรียนวิชาทำตะกรุดมหาระงับปราบหงสา และวิชาทำตะกรุดโสฬสมงคล
    “ เป็นวิชาสมภาร ต้องเรียนไว้ ” หลวงปู่หยอดกล่าวย้ำกับท่าน
    หากจะกล่าวถึงเรื่องราวของขลังแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง หลวงปู่แจ้งท่านเป็นต้นตำรับของตะกรุดมหาปราบ โสฬสมงคล โลกธาตุ เชือกตะขาบไฟ ซึ่งหลวงปู่ยิ้มท่านได้เรียนสืบทอดมาจากหลวงปู่แจ้ง และวิชาอันล้ำค่านี้ก็ได้กลับมาสู่วัดประดู่อีกครั้ง จากความเมตตาของหลวงปู่หยอดที่ท่านได้เมตตาเรียกหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เข้าไปถ่ายทอดวิชาด้วยตัวท่านเอง
    ความจริงแล้วหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ต้องการเล่าเรียนวิชานี้เพื่อสืบทอดต่อไป แต่ไม่กล้าเข้าไปขอเรียนจากหลวงปู่หยอด เกรงท่านจะตอบปฏิเสธแล้วจะมองหน้าท่านได้ไม่เต็มตา เมื่อได้รับความเมตตา จึงเป็นเรื่องที่น่าปิติยิ่งนัก
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้ใฝ่รู้มุ่งมั่นศึกษาอย่างจริงจัง สรรพวิชาใด ๆ หากต้องการก็สามารถที่จะคัดลอกจากตำราหนังสือต่าง ๆ ได้ แต่ท่านไม่ทำเช่นนั้น
    “ หากมีใครถามว่าเราสืบทอดวิชามาได้อย่างไร ก็ตอบเขาไม่ได้นะสิ ” ท่านไม่ยอดเป็นศิษย์ไม่มีครูเด็ดขาด
    ในวันที่ท่านเข้าไปกราบหลวงปู่หยอดฝากตัวเป็นศิษย์ ก่อนที่หลวงปู่หยอดจะรับพานท่านถามหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ว่า “ รับปากได้หรือไม่ จะไม่ด่าไม่แช่งคนไปตลอดชีวิต ”
    “ ได้ครับ ” หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์รับคำ
    หลวงปู่หยอดท่านได้เล่าให้พระมหาสุรศักดิ์ฟังว่า สมัยที่หลวงปู่ใจไปเรียนกับหลวงปู่ยิ้ม ท่านจะเอาดินสอมาขีดวงไว้ให้รอบ สั่งหลวงปู่ใจว่าให้มองเทียนที่ไหม้ถึงตรงนี้ให้ดับ มองให้ดับแล้วถึงจะเรียนวิชา หากเทียนไม่ดับ ไม่ต้องเรียน
    หลวงปู่ใจปฏิบัติตามสั่งอย่างเคร่งครัด แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ จนกระทั่งท่านกลับมานอนพักที่เรือน แล้วกลับขึ้นไปปฏิบัติใหม่ตามคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ คราวนี้เทียนดับ ?
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์คิดว่านี้คงเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของครูบาอาจารย์โบราณที่ท่านยังหวงวิชา ถ้าทำตามกฎที่ตั้งไว้ไม่ได้ ไม่ต้องเอาวิชาไป เช่นกันที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้รับคำกับหลวงปู่หยอด ว่าจะไม่ด่าไม่แช่งใครตลอดชีวิต แม้ว่าบางคนจะน่าด่า น่าแช่ง แต่เมื่อได้ลั่นวาจาไว้กับครูบาอาจารย์เมื่อระลึกนึกถึงคำสัตย์ที่ได้ให้ไว้ เปรียบเหมือนเป็นการอุปการคุณแก่ตัวท่าน ทำให้ท่านมีสติมีตบะ เป็นศิริมงคลแก่ตัวท่านสืบมา
    ดังที่ได้กล่าวไปแล้วท่านหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ท่านได้มีโอกาสเรียนวิชาทำเบี้ยแก้กับหลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ได้เรียนวิชาเป่าแผ่นทองคำจากหลวงปู่พิชัย ฐิติลาโภ (หลวงปู่ดำ) ปรมาจารย์ผู้เฒ่าแห่งวัดเขาหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พระผู้เชี่ยวชาญในวิชาการเป่าทองเข้าตัว
    ซึ่งวิชาเป่าทองเข้าตัวนี้ หลวงปู่ดำได้ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ดูก่อน โดยทองที่จะเป่านี้หลวงปู่ท่านได้ยกขึ้นมา 3 แผ่น แล้วให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ลองเปิดดูก่อนว่ายังมีทองอยู่หรือไม่ จากนั้นหลวงปู่ดำท่านก็เป่าพรวดเดียวทองหายหมดเลย !!! ไม่มีเหลือสักแผ่นเดียว
    ความมุมานะของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ ได้เล่าเรียนวิชาเป่าทองเข้าตัวจนเชี่ยวชาญแคล่วคล่องเป่าทองหายได้ต่อหน้าหลวงปู่ดำ เหลือเชื่อ ! เมื่อหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์กลับมาที่วัดประดู่ ท่านกลับเป่าทองหายไม่ได้เลยสักแผ่น ท่านกลับไปหาหลวงปู่คำ เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับอาจารย์ฟัง
    “ ท่านมหาว่ายน้ำเป็น แต่คิดว่าว่ายน้ำไม่เป็น ” หลวงปู่ดำเอ็ดหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ด้วยปริศนาที่ซ่อนเร้นคำตอบไว้ให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้ขบคิด ซึ่งหมายถึง ความมั่นใจในตนเอง ทุกอย่างอยู่ที่เรามั่นใจ อยู่ที่ใจ และต้องหมั่นฝึกฝนใช้ชำนาญ
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์แก้ปริศนานั้นด้วยปัญญา และประสบความสำเร็จสมปรารถนา ดังปรากฏเป็นเรื่องเล่าขานทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เมื่อผู้ใดมีของดีย่อมมีผู้อยากลองของอยากลองวิชา หลวงปู่ดำได้เล่าให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ฟังว่า ครั้งหนึ่งมีแขกขายมุ้งมาลองวิชากับท่านโดยเอาด้านเขียนของปากกาปักที่พื้น ปากกาด้ามนั้นตั้งตรงไม่มีโอนเอน
    หลวงปูดำท่านนึกในใจว่าแขกขายมุ้งผู้นี้ดูถูกพุทธศาสนา หาว่าพุทธศาสนาทำอย่างเขาไม่ได้ ท่านจึงนำแผ่นทองออกมา “ บั้ง ” เปิดดูซิมีทองในกระดาษหรือไม่ แขกขายมุ้งเปิดดูด้วยความลำพองเห็นมีทองอยู่ในกระดาษอยู่มัดหนึ่ง หลวงปู่ดำบอกให้แขกขายมุ้งยื่นหน้ามาหาท่านใกล้ ๆ แล้วเป่าพรวดเดียวเข้าไปในหน้าของแขกขายมุ้งผู้นั้น
    “ เอ้า ” ลองดูใหม่ซิบัง ยังมีทองอยู่หรือไม่ แขกขายมุ้งเปิดแผ่นกระดาษออกมาก็ตกใจหน้าซีด เมื่อไม่พบแผ่นทองสักแผ่นเดียวในกระดาษ ทั้ง ๆ ที่เห็นกับตาเนื้อของตัวเองว่าก่อนหน้านี้ยังมีทองแผ่นอยู่มัดหนึ่ง
    “ มันเข้าไปอยู่ในกบาลของเอ็งหมดแล้ว ” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ไม่รู้ว่าแขกขายมุ้งจะโชคดีหรือโชคร้าย ที่มีทองอยู่ในตัวถึง 100 แผ่นแต่ไม่สามารถนำทองออกมาจากตัวได้สักแผ่นเดียว
    เรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา โยมพ่อของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ย่อมหลีกหนีไม่พ้น เมื่อโยมพ่อไม่สบาย ท่านนำส่งไปยังคลินิกแห่งหนึ่งของรองศาสตราจารย์นายแพทย์วิญญู ท่านทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยปกติแล้วคลินิกแห่งนี้เก็บค่ารักษาราคาแพง แต่นายแพทย์ท่านนี้ไม่เคยคิดค่ารักษาพยาบาลโยมพ่อของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เลยสักครั้ง
    คงเป็นด้วยบุญวาสนาแต่ปางก่อนที่เคยร่วมทำกันมา ในเวลาต่อมามารดาของนายแพทย์ผู้ใจบุญท่านนี้ล้มป่วยถึงขนาดที่คณะแพทย์งดเยี่ยมต้องใช้เครื่องช่วยหายใจยื้อชีวิต ญาติทำได้แค่เพียงส่องดูอาการจากช่องกระจกเล็ก ๆ ที่หน้าห้องเท่านั้น เมื่อหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ทราบข่าวจากญาติโยมท่านจึงเร่งรุดไปเยี่ยมทันที แล้วกล่าวกับนายแพทย์วิญญูว่า
    “ เอาอย่างนี้ไหมโยม น่าจะทำพิธีสืบชะตาให้โยมแม่นะ ” หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์แนะ
    ด้วยความกตัญญูของนายแพทย์ เกรงว่าการทำพิธีสืบชะตาให้มารดาจะทำให้ผู้ให้กำเนิดกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา จึงตอบปฏิเสธด้วยความสุภาพ เพื่อให้มารดาของตนได้ไปอย่างสบายจะดีกว่า
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ระลึกนึกถึงบุญคุณที่นายแพทย์ท่านนี้ได้เคยช่วยชีวิตโยมพ่อของท่านไว้เมื่อกลับมาถึงกุฏิท่านได้จุดเทียนเล่มหนึ่ง แล้วอธิฐานจิตระลึกถึงความฝันเมื่อครั้งยังเป็นสามเณร
    “ หากเมื่อคราวที่อาตมาเป็นสามเณรได้เห็นโยมท่านหนึ่งเป็นยมทูต หากเรื่องดังกล่าวเป็นความจริง เทียนที่อาตมาปักไว้ขอให้อย่าดับ ขอให้มอดหมดไปตลอดเล่ม แต่หากความฝันนั้นเป็นเพียงความฝันลมๆแล้ง ๆ แม้เพียงลมพัดผ่านเพียงแผ่วเบาก็ขอให้เทียนนั้นดับไป หากในความฝันเป็นจริงขอให้ช่วยต่ออายุโยมแม่ซึ่งเป็นมารดาของนายแพทย์วิญญูด้วย ”
    เช้าวันใหม่ เทียนไหม้หมดไปทั้งแท่งทั้ง ๆ ที่จุดไว้กลางห้องโถง แม้แต่หน้าต่างก็ไม่ได้ปิดไว้สักบานเดียว สิ่งที่ยากจะอธิบายได้เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน อาการของมารดาผู้เป็นแพทย์มีอาการดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
    แปลก ! ที่ลูกสะใภ้ที่เข้าช่วยดูแลอาการให้กับมารดาของนายแพทย์ท่านนั้น กลับถูกรถชนเสียชีวิต!!
    เรื่องนี้ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ไม่กล้าขอต่อชีวิตให้กับผู้ใดอีกเลย แม้กระทั่งโยมพ่อของท่าน เพราะท่านไม่รู้ว่ายมทูตจะมาเอาชีวิตของใครไปแทน หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์หาได้เกรงกลัวกับความตาย หากยมทูตจะนำวิญญาณของท่านไปแทนวิญญาณของโยมพ่อ ท่านย่อมเสียสละชีวิตของท่านได้ แต่ท่านไม่อาจล่วงรู้ได้เลยว่ายมทูตจะนำพาชีวิตของใครไปแทน ท่านจึงไม่กล้าขอต่อชะตาชีวิตโยมพ่อกับยมฑูต สุดท้ายโยมพ่อของท่านก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ท่านได้ตรึกตรองในใจว่า การมีครูบาอาจารย์มากนั้นเป็นเรื่องที่ดีเพราะแต่ละท่านได้สอนสั่งแต่เรื่องดี ๆ ทั้งนั้น อย่างเมื่อคราวเรียนวิชา “ นะปัดตลอด ” กับหลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร ซึ่งท่านมีอายุมากแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นเลิศ ครั้งเมื่อเดินทางไปเล่าเรียนวิชาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ครั้งเมื่อเดินทางไปเล่าเรียนวิชาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จึงเตรียมเพียงกระดาษและปากกาติดตัวไปเท่านั้น เพื่อจดคาถาตามคำบอกของหลวงพ่อจ่าง ปรากฏว่าท่านจดตามไม่ทัน พอหลวงพ่อจ่างท่านสอบถาม หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์อึกอักไม่สามารถตอบได้ จึงต้องกลับมาศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ทำให้ท่านได้เรียนรู้ถึงการเรียนกับพระผู้ใหญ่ว่า
    “ ต้องเอาเทปไปบันทึกไว้ถึงจะดี ” แปลอีกนัยหนึ่งคือ การทำสิ่งใดต้องรอบครอบเตรียมพร้อมเสมอ
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้เรียนวิชาทำขุนทะเล (ปลัดขิก) กับอาจารย์สิงห์ วัดหนองโพธิ์ ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อบุตร วัดพรหมวิหาร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง หลวงพ่อโศกท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ สมัยยังอยู่จำพรรษาที่วัดปากทะเล จังหวัดเพชรบุรี
    เวลาที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ทำขุนทะเลมักมีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่าน โดยเวลาที่ท่านทำขุนทะเล ท่านจะบอกกล่าวเฉพาะหลวงปู่แก้ว วัดปากทะเล หลวงปู่โศก วัดปากคลอง หลวงปู่บุตร วัดพรหมวิหารและอาจารย์เส็ง แต่ท่านไม่ได้บอกกล่าวหลวงพ่ออี๋แม้สักครั้ง
    เมื่อท่านเข้าสู่นิทรา ท่านฝันว่า มีพระภิกษุชรารูปร่างอ้วนนิด ๆ ขาว ๆ ท้วม ๆ เดินเข้าเดินออกในกุฏิของท่าน เหมือนมาทักท้วงว่าข้ามผ่านท่าน ไม่กล่าวถึงท่านได้อย่างไร ทำไมถึงไม่บอกล่าวท่าน หลังจากนั้นเวลาที่ท่านทำขุนทะเลท่านจะกล่าวถึงหลวงพ่อ
    ทุกวันนี้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะทำวัตถุมงคลเฉพาะของหลวงปู่ใจ ( พระราชมงคลวุฒาจารย์) วัดเสด็จ หลวงปู่หยอด ชินว์โส วัดแก้วเจริญ วิชาที่เรียนมาจากอาจารย์รวมก็มีทำบ้าง นอกจากนี้ยังมี “ ยันต์มงกุฎพรหม ” ตามตำราของหลวงปู่แจ้งที่ได้เก็บรักษาเอาไว้และไม่ลืมกล่าวกับเจ้าของวิชาว่า
    “ หลวงปู่ ลูกจะขอสืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้สูญหาย ขอให้หลวงปู่อนุญาตให้ลูกได้เรียน เพื่อจะได้สร้างวัด สร้างพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ”
    แล้วหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ก็ทำได้สมประสงค์ จนเป็นที่ล่ำลือไปทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลองในปัจจุบันนี้
    เรื่องราวที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรที่ท่านได้อ่านไปนั้น ไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด ดังเช่นตัวอย่างของบุคคลท่านหนึ่ง กำนันตี๋ หรือคุณสหัสไชย เกียรติเกษมสุข กำนันตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ที่แต่เดิมนั้นกำนันตี๋เป็นคนใจร้อนวู่วาม พอได้มาพูดคุยกับหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดประดู่แล้ว ทำให้ดวงตาเห็นธรรม ได้ธรรมะและวิธีปฏิบัติกลับบ้าน
    จากคนใจร้อนวู่วาม กลายเป็นคนที่สุขุมใจเย็น เป็นที่ยกย่องของประชาชนในปกครอง มีชีวิตที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัด และยังกล่าวว่าตนเองเคยเดินทางไปกราบเจ้าอาวาสมาแล้วหลายวัดพบว่าแตกต่างจากเจ้าอาวาสวัดประดู่อย่างมาก เพราะหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ให้ความเป็นกันเอง ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ คนรวยคนจนเท่าเทียมกันหมด ใครที่ถวายของท่านให้ท่านก็จะนำมาแจกจ่ายแก่คนยากจนเพื่อดำเนินชีวิตต่อไป
    ส่วนพระเครื่องที่ได้จากมือหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์นั้นกำนันตี๋กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้นเพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์เฉียดตายมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 กำนันตี๋ได้รับพระขุนแผนปฐมฤกษ์ จากหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ไปได้ไม่นาน ขณะเดินทางกลับราชบุรีไปบ้านไร่ เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถคันหน้าเกิดเพลาหักกระเด็นมาเกือบโดนรถของกำนันตี๋ที่นั่งอยู่ ซึ่งน่าจะกระเด็นเข้ามาโดยตรง เพราะพื้นถนนเป็นผิวเรียบไม่ขรุขระ แต่ปรากฏว่าเพลาดังกล่าวกระเด็นไปอีกทิศทางหนึ่ง ซึ่งกำนันตี๋เชื่อว่าเป็นเพราะพระขุนแผนปฐมฤกษ์ ที่ขึ้นคอเอาไว้นั่นเอง ที่ทำให้แคล้วคลาดรอดตายมาได้ดังปาฏิหาริย์
    ภาพขยาย..... ภาพขยาย..... ภาพขยาย.....
    ถ้าท่านได้อ่านเรื่องราวของพระดีศรีแม่กลองท่านนี้แล้ว จะเดินทางไปกราบสักการะท่านก็ไม่ยาก วัดประดู่ จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เพียงลัดฝ่ามือเท่านี้เอง โดยเฉพาะการที่ได้เข้าไปชมฝีมือการปั้นหุ่นดินสอพองของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ฯ ด้วยแล้ว ต้องยอมรับกันในแวดวงนักปั้นที่เดียวว่างานปั้นหุ่นของท่านไม่เป็นสองรองใคร
    นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาและฝึกอบรมเยาวชนในชุมชนให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ พาผู้มีจิตศรัทธาเข้าชมพิพิธภัณฑ์พร้อมอธิบายเรื่องราวที่มาที่ไปได้อย่างคล่องแคล่วสนุกสนาน เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ท่านต้องการให้เยาวชนเข้าวัดสนใจในพุทธศาสนา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติใช้ได้จริง พร้อมกันนี้ยังได้สนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปะวัฒนะธรรมการทำหัวโขน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกทำหัวโขนและเศียรครูต่าง ๆ มีการศึกษาเรียนรู้และสาธิตโดยไม่มีการหวงวิชาแต่อย่างใด
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้วางรูปแบบในการพัฒนาวัดให้เกิดความสะอาด สงบ ร่มรื่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน อันเป็นแนวทางให้โครงการ “ วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ” ประสบความสำเร็จและเป็นแนวทางในการพัฒนาวัดไปสู่ความสำเร็จและเป็นแนวทางในการพัฒนาวัดไปสู่ความยั่งยืน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้มีจิตศรัทธาแวะเวียนเข้าไปเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและกราบนมัสการสนทนาธรรมกับท่านมหาสุรศักดิ์อย่างไม่ขาดสาย
    พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกโข) น.ธ. เอก ป.ธ. 5 เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง เจ้าคณะตำบล วัดประดู่ ต.วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม อายุ 55 ปี 33 พรรษา ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2504 โยมบิดาชื่อ นายประสิทธิ์ โยมมารดาชื่อนางบุญเรือง อยู่กำเหนิด เรียนจบชั้น ม.ศ.3 มีความชำนาญด้านศิลปกรรม งานประฏิมากรรม ( งานปั้น ) หลวงพ่อพระมหาสุรศักด์ ท่านได้บรรพชา ( บวชเป็นสามเณร )ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2519 ที่วัดปัจจันตาราม จ.สมุทรสาคร โดยมีพระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวงพ่อสุด วัดกาหลง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ ท่านอุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ที่วัดปัจจันตาราม โดยมีสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กทม. เป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับฉายา
    อติสกโข หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและตั้งใจเรียนภาษาบาลีไวยกรณ์จน พ.ศ. 2519 ก็สามารถสอบนักธรรมตรีได้ พ.ศ. 2520 ท่าน สอบนักธรรมโทได้ พ.ศ. 2521 ท่านสอบนักธรรมเอกได้ที่ สำนักเรียน วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กทม. หลวงพ่อพระมหาสุรศักด์ ท่านมีความมานะ ศึกษา ทางธรรม มาโดยตลอดปี พ.ศ. 2529 สามารถสอบไล่ได้ ป.ธ. 5 ที่สำนักเรียน วัดปทุมคงราชวรวิหาร กทม. ท่านมีความชำนาญเรื่องการแสดงพระธรรม เทศนา วิชาโหราศาสตร์ วิชาออกแบบการก่อสร้าง ต่อมา พ.ศ.2533 ชาวบ้าน อ.อัมพวา ได้กราบนมัสการเรียนเชิญท่านมาจำพรรษารักษาการณ์ แทน เจ้าอาวาส วัดประดู่ พ.ศ.2534 ท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดประดู่ พ.ศ.2547 ท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์และได้เลื่อน
    ตำแหน่งมาโดยตลอด พ.ศ.2554 ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูพิศาลจริยาภิรม พ.ศ.2559 ท่านได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสนาธุระ ในราชทินนามที่พระภาวนาวิสุทธิโสภณ
    วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม
    ประวัติ วัดประดู่พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม สร้างขึ้นปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจาก วัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้ตรี ชนิดสามัญ ในสมัยหลวงปู่แจ้ง เป็น เจ้าอาวาส วัดประดู่ ท่านเป็นพระที่มีวิชาไสยเวทย์แก่กล้ามีลูกศิษย์ เช่น หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงปู่ ใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ร.ศ.123 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้นทางชลมารคมายัง วัดประดู่ฯ แห่งนี้ พระองค์ทรงทำครัวเสวยพระกระยาหารเช้าที่ วัดปรดู่ พระองค์ทรงพระราชศรัทธาต่อ หลวงปู่ แจ้งฯได้นิมนต์ท่านเข้าพระราชวังหลายครั้งที่สำคัญ พระองค์ ท่านได้ถวายเครื่องราชศรัทธาที่สำคัญให้ไว้กับหลวงปู่ แจ้งฯ เช่น เรือพระที่นั่งพร้อมเก๋ง 4 แจว พระแท่นบรรทม ตาลปัตรพัดรอง( พระนารายณ์ทรงครุฑ ) นาฬิกาปราริส สลกบาตร พร้อมฝาบาตรไม้ฝังมุก ฯ ปัจจุบันทาง วัดประดู่ฯ จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ ให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กทม. ได้เสด็จทรงเยี่ยมคณะพระสงฆ์ วัดประดู่ฯและทรงอนุญาตให้สร้าง พิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระ ญาน สังวรฯวัดบวรนิเวศ กทม.ด้วย นำมายังซึ่งความปิติยินดีของคณะสงฆ์ วัดประดู่ฯและประชาชนโดยทั่วกัน
    พระมหาสุรศักดิ์ ท่านเรียนวิชาไสยเวทย์จากครูบาอาจารย์ดังนี้ วิชาโหราศาสตร์ จาก อาจารย์สุกรี พัฒนสุพงศ์ วิชาสักยันต์ จากอาจารย์ รวม สุขศรี วิชาอาคมจาก ครูนาค จ. กาญจนบุรี วิชาทำตะกรุดโลกธาตุ ตะกรุด ยันต์โสรฬมงคล ตะกรุดโภคทรัพย์ ตะกรุดมหาระงับปราบหงษา ตะกรุดมหาปราบ ไหมเบญจรงค์ 5 สี จากพระครูสุนทรธรรมกิจ ( หลวงพ่อ หยอด ชินวโส อดีต เจ้าอาวาส วัดแก้วเจริญ ) วิชาเป่าทอง จากหลวงปู่ ดร. พิชัย วัดเขาหงส์ จ. ลพบุรี วิชานะปัดตลอด จาก หลวงปู่จ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี วิชาทำเบี้ยแก้ จาก หลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว จ. นครปฐม วิชาทำสีผึ้งน้ำมันมหาเสน่ห์ จากอาจารย์เสน่ห์ บ้านบางกล้วย จ.ราชบุรี วิชาประสานกระดูก จากอาจารย์สุดตา จ.ร้อยเอ็ด วิชาต่างๆจาก อาจารย์สุข ในเวียง จ. ร้อยเอ็ด วิชาทำขุนทะเล (ปลัดขลิก) จากอาจารย์เส่ง ศรีคำ วิชากัมมัฎฐาน จากหลวงปู่คำ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ วิชากัมมัฎฐาน จากหลวงพ่อ ตา วัดเขาแก้ว จ. สระบุรี พระมหาสุรศักดิ์ ท่านจัดสร้าง วัตถุมงคลเช่น เหรียญ รูปหล่อ ตะกรุดต่างๆ ผ้ายันต์ เบี้ยแก้ พ่อขุนทะเล ฯลฯ มีประสบการณ์ ด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันตามแนวพระเกจิอาจารย์สาย จ.สมุทรสงคราม
    ภาพขยาย.... ภาพขยาย.... ภาพขยาย...
    ที่มาโดย :: นิตยสารพระเครื่องเซียนพระ ฉบับที่ 546 และฉบับที่ 547 :: Web Design Factory
    web peakaji.com
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่อย่างสูงครับ
    1735577686813.jpg
    เหรียญพระไพรีพินาศปลุกเสกปี ๒๕๕๘ สวยเดิมผิวรุ้งครับ
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20241230_235234.jpg IMG_20241230_235438.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1735532936133.jpg


    FB_IMG_1735666562123.jpg

    สวัสดีปีใหม่ทุกๆท่านครับขอนำพรของครูบาอาจารย์
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    วันนี้จัดส่ง


    1735731408102.jpg

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2025
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1735877282470.jpg
    b-30-05-12-22-46-29.jpg
    เมื่อประมาณปลายปีพ.ศ. 2534 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ที่ชุมชนตรอกบวรรังษี หลังวัดบวรนิเวศวิหารในตอนกลางดึกประมาณตี 1 ต้นเหตุเกิดจากบ้านของแขกขายถั่วซึ่งติดอยู่กับตึกสว.ธรรมนิเวศที่เตรียม ทอดถั่วสำหรับขายในวันต่อไป ไฟได้ลุกลามแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆอย่างใหญ่โตมโหฬารไม่อาจยับยั้งได้ อีกทั้งถนนเข้าชุมชนนั้นก็คับแคบมาก และมีสิ่งกีดขวางมากมาย ยากที่รถดับเพลิงจะเข้าไปทำการสกัดไฟใดๆได้ ศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ทุบประตูพระตำหนักชั้นบนอันเป็นที่ประทับอย่างแรง เพื่อปลุกเจ้าพระคุณสมเด็จฯให้หนีไฟ ซึ่งตอนนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชกำลังทรงนั่งสมาธิอยู่ จึงทรงมีรับสั่งสั้นๆอย่างพระทัยเย็นแต่เพียงว่า “ไฟไหม้รึ..??” ครั้นแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ทรงครองจีวรเสด็จลงจากพระตำหนัก ตอนนั้นพระสัทธิวิหาริกต้องการนำเสด็จไปที่ศาลา 150 ปีอันตั้งอยู่กลางวัด ซึ่งน่าจะเป็นที่น่าจะปลอดภัยกว่า แต่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมิโปรดที่จะกระทำเช่นนั้น แต่กลับเสด็จเข้าไปที่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่เพลิงกำลังโหมไหม้อย่างหนักหน่วงอยู่ โดยเสด็จขึ้นไปยังบนชั้น 5 ของตึกสว. ธรรมนิเวศซึ่งอยู่ติดๆกับเขตเพลิงไหม้โดยมิทรงหวั่นเกรง ต่อภยันตรายใดๆ เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเสด็จขึ้นถึงชั้นที่ 5 ของตึกสว.ธรรมนิเวศ ก็มีรับสั่งให้ศิษย์เปิดหน้าต่างออก ทำให้แลเห็นเพลิงกำลังโชนไหม้ชุมชนแออัดอย่างรุนแรง เสียงไฟที่กำลังโหมกระหน่ำ เสียงผู้คนที่ขนของหนีไฟเอาชีวิตรอดดังสับสนอลหม่านระงมไปหมด เป็นที่น่าหวาดหวั่นปนน่าสังเวชเวทนาเป็นที่ยิ่ง เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น ก็ทรงมองตรงไปยังเบื้องหน้า แล้วก็ทรงมองขึ้นไปยังฟ้าเบื้องบน ก่อนที่จะยกพระหัตถ์ขึ้นโบก 3 ครั้ง และแล้วสิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่สุด ก็พลันบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาของทุกผู้คนในฉับพลัน พริบตาเดียว ก็ปรากฏมหาเมฆก้อนใหญ่ลอยเหนือบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ในทันใด ลมที่กำลังกรรโชกแรงที่ทำให้ไฟไหม้แผ่ขยายรุนแรงยิ่งขึ้นก็หยุดราวกับปิดสวิทซ์ แม้กระทั่งใบไม้ก็ไม่ไหวกระดิก และในบัดดลนั้น ก็เกิดฝนตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก หนักเสียจนไม่มีทีท่าวี่แววว่าจะหยุดได้ง่ายๆ ทำให้เพลิงไหม้มหาวินาศนั้นค่อยๆบรรเทาความร้อนแรงลงจนมอดดับไปต่อหน้าต่อตา อย่างน่าอัศจรรย์ใจเป็นที่สุด..!!!!!!!! เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นตอนปลายเดือนธันวาคม ซึ่งเป็น”ฤดูหนาว” ซึ่งตามธรรมดา ฝนได้ขาดช่วงไปตามธรรมชาตินานมากแล้ว.... เมื่อทอดพระเนตรเห็นฝนตกลงมาดับไฟ บรรเทาทุกขเวทนาแก่สัตว์ผู้ยากได้สมพระประสงค์แล้ว สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชก็เสด็จกลับเข้ามากราบพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ชั้น 5 อยู่พักใหญ่ จากนั้นก็เสด็จลงมายังชั้นล่างของตึกสว.ธรรมนิเวศ เพียงย่างพระบาทแรกที่เสด็จออกมา ฝนที่กำลังตกอยู่ก็หยุด ฟ้าที่กำลังฉ่ำด้วยเม็ดฝนก็เปิดโล่งขึ้นมาในทันที บรรดาชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็มาคุกเข่ารับเสด็จ พลางส่งเสียงสาธุการแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชที่ได้ทรงพระเมตตา”เรียกฝนดับไฟ”ให้ มอดดับไป หลายๆคนต่างร่ำไห้น้ำตาไหลอาบหน้าด้วยความตื้นตันและซาบซึ้งในพระกรุณา ปาฏิหาริย์ซึ่งทรงสำแดงให้ปรากฏต่อหน้าต่อตาของทุกๆคนอย่างที่ไม่มีใครอายใคร"
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระชัยวัฒน์(พิมพ์อุบาเก๋ง)รุ่นสู่มาตุภูมิสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชทรงเททอง ๑๔ ธ.ค.๒๕๓๒ วัดบวรนิเวศวิหาร
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    FB_IMG_1735877287887.jpg FB_IMG_1735877285271.jpg FB_IMG_1735877293642.jpg FB_IMG_1735877290753.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1735890913221.jpg
    หลวงปู่อ่อน นันทสาโร (พระครูนันทสารพิสุทธิ์)
    วัดลุมพินี ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
    .....#ประวัติโดยสังเขป ท่านเป็นคนพื้นที่นาเตย เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2456 ปีฉลู มีพี่น้องร่วมมารดาอยู่3คน ท่านเป็นคนกลาง และได้อุปสมบทเป็นพระเมื่อปี พ.ศ.2477 (เมื่อครบอายุบวช) นับแต่นั้นมาไม่เคยลาสิกขา ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดลุมพินี และเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์แสงที่เป็นพระลูกวัดด้วยกันในคราวนั้น ท่านได้ศึกษานักธรรมตรีและโทจนจบ แล้วไปต่อบาลีอยู่ในเมือง.....
    .....#หลวงปู่อ่อนท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลุมพินี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 จนถึงปีที่ท่านมรณภาพ คือปี พ.ศ.2549 ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนันทสารพิสุทธิ์ และท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอท้ายเหมืองอยู่นานหลายสิบปี จนกระทั่งขอลาออกเพื่อให้ท่านอื่นได้เข้ามาบริหารบ้าง ทั้งๆที่ท่านยังมีสุขภาพแข็งแรงคล่องแคล่วว่องไว นั่นเกิดจากการไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง พระสงฆ์หลายๆรูปในเขตอำเภอนี้ รวมไปถึงตัวจังหวัดต่างก็เกรงใจ เพราะดูเหมือนว่าในยุคนั้นท่านจะมีอายุพรรษาอาวุโสที่สุดของจังหวัดพังงา อีกประการหนึ่งด้วยความเมตตาธรรมเพื่อส่วนรวมของท่านด้วย
    .....#หลวงปู่อ่อนสมัยที่ท่านเป็นพระหนุ่มนั้น ไม่ค่อยได้พูดได้คุย เป็นผู้นิยมความสันโดษ ยิ่งเมื่อได้ฝึกกรรมฐานกับพระอาจารย์แสงด้วยแล้ว วันหนึ่งๆ ท่านจะเก็บตัวเงียบไม่พูดจาอะไรกับใครท้้งนั้น เดิมทีท่านเป็นคนพูดน้อยอยู่แล้ว ยิ่งท่านเคร่งครัดปฏิบัติก็เลยไม่พูดกับใครเลย ใครต่อใครต่างก็ว่าท่านเป็นพระดุ หากใครที่ไปหาท่านในสมัยนั้น จะได้ยินท่านพูดไม่เกิน3คำเท่านั้น โยมผู้หญิงหากจะไปกราบท่านจะต้องไปกับญาติหรือมีเพื่อนไปด้วย มิฉะนั้นท่านจะไม่ออกจากกุฏิมาเสวนาด้วยเป็นอันขาด เพราะท่านเกรงว่าจะผิดพระธรรมวินัย เมื่อมีใครเข้าใจผิดแล้วโจษขานกัน
    .....#หลวงปู่ท่านภาวนาสมาธิตลอดเวลา ทุกขณะจิต สำรวมกายวาจาใจ ท่านมีความเมตตาในการช่วยเหลือญาติโยม โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะและศาสนา อิสลามหลายคนให้ความเคารพท่านเป็นอย่างมาก ปฏิปทาของหลวงปู่อ่อนตั้งแต่เป็นพระหนุ่ม จนถึงแก่พรรษา ไม่มีสิ่งใดที่แตกต่างไปจากกันเลย ด้วยการปฏิบัติของท่านมีความคงเส้นคงว่าเช่นนี้อยู่เสมอ พระสงฆ์ต่างให้ความเคารพในหลวงปู่ อีกทั้งเป็นพระอาวุโสที่พรรษากาลมากที่สุดและยังดำรงขันธุ์อยู่ของจังหวัดพังงายุคนั้นอีกด้วย
    .....#หลวงปู่อ่อนท่านได้นอนอาพาธรักษาตัวอยู่ที่ รพ.วชิระภูเก็ต ณ ตึกสงฆ์ของหลวงปู่สุภาท่านสร้างไว้ ก่อนหลวงปู่มรณภาพท่านรู้ว่าท่านไม่ไหวแล้ว จึงสั่งให้ลูกศิษย์และผู้ดูแลพาท่านกลับวัด และได้มรณภาพละสังขารลงที่วัดอย่างสงบ ด้วยโรคแก่ชรา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 อายุ 93 ปี 72 พรรษา เวลาประมานตี5หัวรุ่ง และศพท่านก็ไม่เน่าเปื่อย ก่อนละสังขารหลวงปู่ได้เขียนจดหมายสั่งไว้ว่า ห้ามเผาท่านในเมรุเผาศพ ให้เผากลางแจ้งแบบโบราณโดยให้ชาวบ้านช่วยกันหาฟืนมา ห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ ห้ามจัดงานพิธีใดๆทั้งสิ้น แต่ลูกศิษย์ลูกหาต่างไม่ยอมเผาศพท่านตามที่หลวงปู่สั่งไว้ จึงได้บรรจุสังขารหลวงปู่ภายในโลงแก้วตั้งไว้ในศาลาวัดลุมพินี เหมือนท่านแค่นอนหลับอยู่และผมก็งอกยาวขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่เคารพนับถือศรัทธา ต่างไปกราบไหว้ขอพรหรืออธิษฐานขอให้หลวงปู่ช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ และสำเร็จตามปรารถนา
    .....#ถึงแม้หลวงปู่จะดับขันธุ์ไปแล้ว แต่ท่านได้ฝากความดีด้วยปฏิปทาที่น่าเคารพนับถือและสิ่งสักการะบูชาไว้มากมาย ให้ลูกหลานและผู้ที่ศรัทธาได้ระลึกถึงหลวงปู่ และวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นต่างก็มีประสบการณ์ ทั้งด้านแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถ คงกระพันมหาอุต รอดพ้นอันตรายจากสิ่งต่างๆ รวมถึงด้านเมตตาค้าขาย เงินทองไม่ขาด เมื่อจะขอให้หลวงปู่ช่วยกิจอันใดให้จุดธูปบอกกล่าว หากไม่เกินกรรมของผู้นั้นต่างก็ประสบผลสำเร็จ...
    .....#ลูกศิษย์หรือผู้ใด ที่ได้เสาะแสวงหาหรือศึกษาประวัติจริงๆจะทราบกันดีครับ รวมไปถึงผู้ที่มีความศรัทธาในหลวงปู่อ่อน ต่างก็ได้พบเจอกับประสบการณ์ และสำเร็จกิจดังคำอธิษฐานกัน เหมือนตัวผมเองครับ ที่ได้พบเจอประสบการณ์ต่างๆที่ผมขอหลวงปู่แล้วก็สำเร็จมาหลายครั้ง อะไรที่ผมคิดว่าจวนตัวแล้วแต่กลับผ่านพ้นไปอย่างง่ายดาย ผ่อนหนักกลายเป็นเบา แคล้วคลาด และล้มรถไม่เป็นอะไรเลย เงินทองมีใช้ไม่ขาดมือ ทำให้ผมเชื่อสนิทใจ และรู้สึกเกิดความศรัทธาอย่างยิ่ง ผมก็มีเพียงแค่วัตถุมงคลของหลวงปู่เท่านั้นครับ ที่บูชาติดตัวอยู่ทุกๆวันนี้ หลวงปู่ท่านมีเมตตาสูงและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีศีลบริสุทธิ์ ไม่ยึดติด ไม่เปิดเผยหรือโอ้อวด พระดีใกล้ตัวเราที่น่ากราบไหว้นับถือเคารพบูชาได้อย่างสนิทใจโดยมิต้องสงสัย หลวงปู่ท่านไม่เคยทิ้งลูกหลานไปไหนครับ คอยดูแลช่วยเหลือลูกหลานเสมอมา.....ขอเพียงแค่เรา "เชื่อและศรัทธา"......

    ###ประสบการณ์ผ้ายันต์ของหลวงปู่อ่อน วัดลุมพินี###
    สึนามิที่คร่าชีวิตทรัพย์สินผู้คนไปมากมหาอนันตังครั้งนั้นเป็นเหตุให้ผมได้รู้จักหลวงพ่ออ่อน วัดลุมพินีโดยไม่คาด
    คุณธำรง ปัทมภาส ได้เล่าให้ฟังผ่านทางจดหมายและภาพถ่ายซึ่งสมัยนั้นยังไม่รู้จักการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ทว่า ได้ไปกู้ภัยและเก็บศพที่บ้านอะไรไม่ทราบ(ลืม)ได้พบเห็นความน่าอัศจรรย์ยิ่งที่นั่น
    บ้านไม้หลังหนึ่งตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลางสิ่งสปรักหักพัง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่ราบเป็นหน้ากลอง ทั้งด้านข้างซ้ายและขวาก็ราบพนาสูรไปด้วย
    เรียกว่าโดยรอบบ้านพินาศหมด เว้นแต่บ้านไม้หลังนี้เพียงหลังเดียวที่ไม่ได้รับอันตรายเลยแม้แต่น้อย
    เจ้าของบ้านเองก็ไม่ทราบว่าบ้านของตนเองรอดพ้นคลื่นสึนามิมาได้อย่างไร ในขณะที่บ้านอื่นๆพังพินาศทั้งหมด แม้แต่เพื่อนบ้านบางคนที่วิ่งหนีน้ำเข้ามาในบ้านหลังนี้ก็ปลอดภัย ไม่มีใครได้รับอันตราย
    คุณธำรงเล่าว่า สังเกตุเห็นที่หน้าจั่วบ้านนั้นมีผ้ายันต์สีแดงแปะอยู่ผืนหนึ่ง ไม่ทราบว่าเป็นผ้ายันต์ของใครที่ไหน
    ผมจึงขอร้องให้คุณธำรงช่วยกลับไปสืบดูว่าเป็นผ้ายันต์ของใครกันแน่
    หลังจากนั้นคุณธำรงก็ได้แจ้งให้ทราบว่าเป็นผ้ายันต์ของวัดอะไรจำไม่ได้อยู่แถวๆจังหวัดอะไรก็ไม่แน่ใจอีกเหมือนกัน เพราะว่าลืมสนิท อาจเป็นจังหวัดระนองหรือจังหวัดอื่นๆแถวๆนั้น ซึ่งเป็นวัดที่ไม่ได้มีชื่อเสียงหรือมีครูบาอาจารย์ผู้วิเศษแต่อย่างใด
    ต่อมาผมได้วานเพื่อนซึ่งเป็นเซลล์ขายยาภาคใต้ให้ช่วยไปดูที่วัดนั้นเพื่อสอบถามความเป็นมาของผ้ายันต์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    หลังจากนั้นเพื่อนของผมก็ได้รายงานว่า ผ้ายันต์นั้นทางวัดจัดสร้างขึ้นเองแล้วนำไปขอให้หลวงปู่อ่อน วัดลุมพินี จังหวัดพังงา ปลุกเสก
    ผมผู้ซึ่งไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อหลวงปู่อ่อนก็หูผึ่ง รีบโทรฯหาที่อยู่ภูเก็ตว่าไปดูลาดเลาที่วัดลุมพินีว่ามีอะไรยังไงบ้าง เป็นเหตุได้ตะกรุดของหลวงปู่อ่อนมาดอกหนึ่งเหมือนฝัน เขาเรียกว่าตะกรุดรัตนะอะไรสักอย่างนี่แหละ
    จากนั้นจึงค่อยๆเริ่มซึบซับทราบว่าหลวงปู่อ่อนเป็นพระเถระที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่อยู่ในหมู่ครูบาอาจารย์สายใต้หลายรูป ที่แม้ครูบาอาจารย์บางรูปจะออกเหรียญรุ่นแรกของตนเอง ยังต้องเอาไปขอหลวงปู่อ่อนเสกให้
    ชาวเรือประมงแถวนั้นล้วนแต่ศรัทธาเชื่อมั่นในคุณวิเศษของหลวงปู่อ่อนเป็นอย่างยิ่ง
    แม้จะเผชิญพายุกลางทะเลรุนแรงเพียงใด อธิษฐานขอความช่วยเหลือจากหลวงปู่อ่อน พายุก็สงบลงอย่างน่าอัศจรรย์
    ผมโชคดีที่ได้รับมรดกขลังที่หลวงปู่อ่อนทิ้งไว้ให้มาส่วนหนึ่ง และได้เคยนำมาผสมสร้างพระไปหลายครั้งหลายรุ่น แต่ไม่เคยโม้ให้ใครทราบ
    ดูเหมือนว่าจะโม้เป็นครั้งแรกก็คือพระผงสำเร็จลุนที่สร้างแจกฟรี ซึ่งได้มีการโรยผงแร่เกาะล้านที่หลวงปู่อ่อนเสกให้ไว้ด้วยทุกองค์
    อยากบอกว่า "หอยพริก" ที่ฝังอยู่ด้านหลังพระพิฆเนศปางอุ้มพระชายานั้นคือมรดกขลังที่หลวงปู่อ่อนทิ้งไว้ให้เช่นกัน
    //เครดิต อ.อำพล เจน//
    ## ปัจจุบันศิษย์เอกผู้สืบทอดพุทธาคมของหลวงปู๋อ่อน ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเขีนนยันต์ จารยันต์ตะกรุด ปลัดขิกให้กับหลวงปู่อ่อน ในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คือหลวงพ่อสมพงษ์ โชติกโร
    ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ วัดหนองคู ต.โนนโหนน
    อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ผ้ายันต์ชุดนี้คือผ้ายันต์ชุดสุดท้ายที่หลวงพ่อสมพงษ์ได้สร้างขึ้น ในนามวัดหนองคู และได้นำไปให้หลวงปู๋อ่อนเสกเป็นชุดสุดท้ายก่อน หลวงปู่อ่อนจะละสังขารลง ในปี 2549
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ขุนแผนทาทองหลวงปู่อ่อนวัดลุมพินี
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    FB_IMG_1735890916297.jpg FB_IMG_1735890919011.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,796
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1736062783334.jpg
    ลงประวัติให้อ่านกันคับ ในปัจจุบันแม้ระยะเวลาจะห่างออกมาจากพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ ปีกว่าๆ สัจจธรรมจากการตรัสรู้แท้ของพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่ไม่หนีหายไปไหน แต่หากว่าได้อยู่กับสาวกผู้มีความเพียรต่อการศึกษา จดจำและปฏิบัติอย่างถูกต้องแท้จริงเท่านั้น แม้สาวกผู้มีความเพียรดังกล่าวนี้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีสืบทอดต่อๆ กันมามิได้ขาดสาย ดังจะเห็นได้จากกรรมานุภาพของพระภิกษุบางรูป มีผลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ยากที่พระภิกษุธรรมดาอื่นๆ อีกจำนวนมากจะทำเช่นนั้นได้
    หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทอด หลวงพ่อท่านคล้าย หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อโอภาสีหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงพ่อทิม หลวงพ่อครูบาอินโต หลวงพ่อถิร หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อชื่น พระอาจารย์ฝั้น และอื่นๆ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษในยุคใหม่นี้และในยุคดังกล่าวนี้มีที่จะต้องกล่าวถึงอย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นพระภิกษุที่เปรียบเสมือนเป็น“ช้างเผือก” ในพุทธอาจักร นั่นคือ หลวงพ่อหอม แห่งวัดซากหมากซึ่งเป็นวัดเล็กๆ ทางจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทย แต่กลับมีชื่อเสียงโด่งดังในทางคุณวิเศษระบือลือลั่นไม่น้อยไปกว่าบรรดาท่านผู้ทรงคุณวิเศษที่ได้กล่าวนามมาแล้วนั้นเลย
    ในมณฑลพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีสามัญที่จัดให้มีขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในประเทศไทย เว้นเสียแต่หลวงพ่อหอม วัดซากหมากจะอาพาธหรือติดศาสนกิจอย่างอื่นอยู่ก่อนเท่านั้นจึงไม่มีรายชื่อของท่านรวมอยู่ในมณฑลพิธีนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะในหมู่ผู้นิยมวัตถุมงคลทุกระดับ น้อยคนนักที่คงไม่ได้ยินกิติศัพท์ความเป็นเป็นผู้ทรงพุทธเวทย์อย่างยอดเยี่ยมของท่าน จากวัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น สิงห์งาช้าง สีผึ้ง นางกวักงาช้าง ไซมงคล พระกริ่งรูปเหมือน แหนบรูปเหมือน เหรียญรูปเหมือน แหวนทองแดงรูปเหมือน ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลอกเกตหรือตะกรุด ที่ล้วนแต่ให้คุณวิเศษแก่ผู้ที่มีไว้บูชาทั้งสิ้น
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีได้จัดให้มีงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษขึ้น เป็นพิธีใหญ่ที่สุดในพุทธอาจักรของโลก โดยมีการจัดทำพระเครื่องพระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆ ขึ้นไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก หลวงพ่อหอมแห่งวัดซากหมากก็เป็น ๑ ในจำนวนพระเวทยาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ ๑๐๘ รูป ที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาราธนาไปเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในมณฑลพิธี ณ.ท้องสนามหลวง ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาจากทุกมุมโลกเพื่ออนุโมทนาในการประกอบพิธีอันเป็นมหามงคลครั้งนั้นอย่างมืดฟ้ามัวดิน และด้วยเกียรติคุณอันสูงยิ่งของท่าน เมื่อท่านสำเร็จกิจกรรมในพระราชพิธีนั้นออกไปพักเป็นการชั่วคราว ที่วัดสุทัศน์เทพวนาราม ก็ยังปรากฏว่าได้มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หลั่งไหลติดตามไปขอพร และวัตถุมงคลจากท่านมิได้ขาดสายจนศิษย์ผู้ทำหน้าที่อุปัฏฐากต้องขอร้องให้หลวงพ่อได้มีเวลาจำวัดพักผ่อนบ้างแต่ก็ไม่เป็นผล เพราะตัวหลวงพ่อกลับพูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างยิ่งว่า”ช่างเขาเถอะลูก”และคำพูดคำนี้ภายหลังหลวงพ่อก็ได้ใช้เรื่อยมากับทุกๆ คนจนตลอดอายุขัยของท่าน
    เมื่อท่านเจ้าคุณพระอมรสุธี อดีตเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แห่งคณะ น.๑๘ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน)กรุงเทพฯ ดำริจะหาทุนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดชะอำคีรี อำเภอชะอำ เพชรบุรี และสร้างกุฏิเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กับสร้างอุโบสถวัดดอนตัน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จึงได้ร่วมกับพลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบก จัดทำพระแก้วมรกตจำลองฝังเพชรรุ่นวิสาขบูชา ผ้ายันต์ธงชัย เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน จ. น่าน โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีใหญ่ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ซึ่งเป็นพระภิกษุบ้านนอกจากชายฝั่งทะเลตะวันออกก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่คณะกรรมการผู้ดำเนินงาน อาราธนาไปร่วมเป็นพระเวทยาจารย์ด้วย เมื่อวันที่๒๔พฤษภาคม ๒๕๑๘โดยครั้งนั้นพระอาจารย์กัสสปมุนีแห่งสำนักปิปผลิวนาราม อำเภอบ้านค่าย ก็ได้อาราธนาไปร่วมพิธีด้วย
    การได้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญๆ ของหลวงพ่อหอมนี้ หากจะนำมากล่าวทั้งหมดทุกๆ ครั้งก็ดูจะเป็นการลำบากเหลือเกินเพราะมิได้มีศิษย์ใกล้ชิดท่านใดจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเลย
    ในสมัยที่หลวงพ่อหอมกำลังก่อสร้างวัดซากหมากฯอยู่นั้น ท่านได้เดินธุดงค์มาจากวัดมาบข่า เมื่อปี๒๔๗๑ มีพรรษาเพียงสองพรรษาเท่านั้นสันนิฐานว่าท่านคงประสงค์จะมาเยี่ยมบ้านเกิดของท่านที่บ้านสำนักท้อน แต่เมื่อผ่านบ้านซากหมาก ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าดงดิบซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดเช่น ช้าง เสือ หมูป่า ลิง ค่าง และงูพิษอาศัยอยู่มากมาย มีบ้านเรือนอยู่เพียงไม่กี่หลัง คือครอบครัวนายแผน นายมาน นายแหว นายจิ๊ด นางนก และนายไพร หลวงพ่อได้พบกับบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่สองหลังทรุดโทรมจนเกือบใช้การไม่ได้แล้ว สอบถามชาวบ้านก็ทราบว่าเป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งพระอาจารย์ล้าเคยอยู่มาก่อน แต่ได้ปล่อยให้เป็นสำนักล้างมาประมาณ ๑๐ปีเศษ หลวงพ่อจึงตกลงใจที่จะฟื้นฟูสำนักสงฆ์แห่งนี้ให้เป็นวัดขึ้นมาให้ได้ จึงได้เข้าป่าไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเขานางหย่อง เพื่อแสวงหาไม้ที่จะนำไปปลูกสร้างถาวรวัตถุของวัดที่ตั้งใจไว้ และในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ในถ้ำนั้น ก็ปรากฏว่ามี ช้าง เสือ และสัตว์ร้ายอื่นๆ มาวนเวียนอยู่ใกล้ท่านตลอดเวลา แต่ก็เป็นที่น่ามหัศจรรย์ที่สัตว์ร้ายเหล่านั้นหาได้เข้าทำร้ายท่านไม่ ตรงกันข้ามเมื่อนานๆ เข้ากลับปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นเชื่องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสามารถพูดกับช้างป่ารู้เรื่องกันเป็นอย่างดี ถึงขนาดทำอะไรๆ ตามคำสั่งท่านได้
    เมื่อท่านคัดเลือกไม้ที่ต้องการได้แล้ว จึงได้นำชาวบ้านขึ้นไปตัดโค่นจนได้จำนวนพอแก่ความต้องการ แต่ก็เกิดมีปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะชักลากไม้เหล่านั้นลงมาแปรรูปข้างล่างได้ เพราะเป็นระยะทางไกลถึง ๗ กิโลเมตร จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่ขึ้นมาช่วยตัดโค่นต้นไม้กลับลงมาที่สำนักสงฆ์ซากหมากก่อน เพื่อที่จะหาวิธีขึ้นไปชักลากไม้ลงมาจากเขานางหย่องให้ได้
    แต่เมื่อได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านเป็นเวลาหลายวันก็ยังไม่พบวิธีที่ต้องการหลวงพ่อจึงย้อนขึ้นไปบนเขาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสำรวจดูเส้นทางให้ละเอียดเสียก่อนอีกครั้งหนึ่งพอหลวงพ่อไปถึงเชิงเขาก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าที่เชิงเขานั้นมีไม้ที่ตัดไว้บนเขาได้ลงมากองอยู่จนครบทุกท่อน กับได้เห็นรอยเท้าช้างป่าขนาดใหญ่รอบๆ บริเวณกองไม้และทางขึ้นเขาเปรอะไปหมดซึ่งต่อมาหลวงพ่อก็ทราบว่าเป็นฝีมือช้างป่าที่คุ้นเคยกับท่านจำนวน ๗ เชือก ช่วยกันชักลากมาไว้นั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ชาวบ้านได้ประสบกับความมหัศจรรย์ในอภินิหาริย์ของหลวงพ่อและเริ่มบังเกิดความศรัทธาอย่างสูงมาตั้งแต่นั้น
    เมื่อหลวงพ่อสร้างอุโบสถได้มีชาวบ้านใกล้ๆ วัดเข้ามาหาหลวงพ่อบอกว่าช้างป่าเข้าไปในไร่เก็บกินพืชผลที่เขาปลูกเอาไว้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก เขาจะยิงก็เกรงใจหลวงพ่อขอให้หลวงพ่อช่วยเขาด้วยเถิดเมื่อหลวงพ่อได้ทราบเช่นนั้นก็รับปากว่าจะช่วย และลุกเดินไปยืนบริกรรมอยู่สักครู่หนึ่งหน้าโบสถ์แล้วร้องตะโกนขึ้นว่า” ลูกหลานพญาฉัททันต์ อย่าไปเหยียบย่ำไร่ของเขาเลย เจ้าของเขาจะยิงเอาของเรามีอยู่แล้วในแปลงขวามือไปกินได้”ซึ่งภายหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีช้างเข้าไปรบกวนชาวบ้านอีกต่อไปเลย แต่ตรงกันข้ามกับของหลวงพ่อที่มีอยู่ใกล้ๆ วัดกลับไม่มีพืชผลเหลืออยู่เลย เพราะฝีมือช้างป่านั้นเอง
    อีกครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อสร้างความมหัศจรรย์แก่ชาวบ้านเอาไว้คือเมื่อประมาณปี ๒๔๘๑ตอนนั้นหลวงพ่อบวชได้๑๒พรรษาแล้ววันหนึ่งได้มีนายพรานช้างมาขอพักที่วัดและตอบคำถามของหลวงพ่อว่าจะมาล่าช้างในป่าแถบๆ นี้แต่เวลาใกล้คร่ำจึงขอพักเอาแรงที่วัดสักคืนก่อน หลวงพ่อก็อนุญาตให้พรานเหล่านั้นพักตามประสงค์แล้วหลวงพ่อเดินไปยืนบริกรรมที่หน้าโบสถ์สักครู่ก็ตะโกนขึ้นว่า”ลูกหลานพญาฉัททันต์ทั้งหลายวันนี้อย่าออกไปหากินไกลวัดมีคนเขาจะมายิงให้หากินอยู่ในบริเวณวัดนี้”เมื่อนายพรานออกป่าเพื่อล่าช้างก็ปรากฏว่าไม่พบช้างเลยแม้แต่ตัวเดียวเพราะช้างป่าเหล่านั้นได้ชวนกันมาหากินอยู่ภายในบริเวณวัดหมด นายพรานจึงต้องคว้าน้ำเหลวกลับไป
    ต่อมาหลวงพ่อพร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๔ รูป ได้ชวนกันไปหากระเพรา ๗ อ้อม ด้วยการเดินธุดงค์เมื่อเดินทางไปถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งหลวงพ่อบอกว่าสงสัยจะเป็นเขตจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นท้องที่เดิมบางนางบวชในปัจจุบันได้พบศาลายกพื้นสูงมากหลังหนึ่งอยู่ในป่าทึบ มีหนังสือเขียนไว้มีข้อความว่า”ใครผ่านมาทางนี้เมื่อมืดแล้วให้ขึ้นไปอยู่ข้างบนเพราะมีสัตว์ชุกชุมมาก”แต่หลวงพ่อกลับบอกพระที่ไปด้วยกันว่าเราปักกลดกันอยู่ข้างล่างนี้แหละไม่ต้องขึ้นไปหรอก ทั้งหมดก็ปักกลดอยู่ข้างล่างนั้นเอง เมื่อปักกลดเสร็จหมดทุกองค์แล้วหลวงพ่อก็ได้เสกทรายซัดล้อมกลดไว้โดยรอบ และสั่งพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดว่าอย่าได้ออกไปนอกกลดเป็นอันขาดไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ชวนกันนั่งสมาธิเจริญภาวนาแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์โดยทั่วกันซึ่งในคืนวันนั้นปรากฏว่ามีสัตว์ร้ายหลายชนิดมาวนเวียนอยู่แถวรอบๆ กลดเหมือนกันแต่ไม่มีตัวใดเข้ามาทำร้ายจนรุ่งเช้าสัตว์เหล่านั้นก็หายไปในป่าหมด หลวงพ่อจึงได้ชวนพระที่มาด้วยกันเดินทางต่อไป
    ในการเดินทางต่อไปในช่วงนี้ หลวงพ่อเล่าว่าเป็นป่าเขาโดยตลอดขนาดเดินทางมาสามวันแล้วยังไม่พบบ้านเรือนคนเลยแม้แต่หลังเดียวต้องอดอาหารกันทั้งสามวันจนกระทั่งวันที่สี่จึงได้สวนทางกับชาวบ้านคนหนึ่งหาบขนมจีนผ่านมาแล้วเอาขนมจีนนั้นถวายทุกองค์ได้ฉันกันจนอิ่มหลวงพ่อได้ถามชายคนนั้นว่า”ต่อจากที่นี่ไปอีกไกลไหมจึงจะถึงบ้านคน”ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า”พอพลบค่ำก็จะเห็นแสงไฟบ้านคน”แล้วเดินหายไปในป่านั้น
    หลวงพ่อจึงชวนพระที่ไปด้วยออกเดินทางต่อไปซึ่งตลอดทางที่เดินผ่านไปนั้นไม่พบบ้านคนเลยจึงน่าสงสัยว่าคนที่ถวายขนมจีนนั้นเป็นใครกันแน่ เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาจะอยู่แถวนั้นได้อย่างไรกัน
    จนกระทั่งเวลาพลบค่ำจึงได้พบบ้านคน จริงตามที่ชายคนนั้นบอกไว้ จึงชวนพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดปักกลดพักที่บริเวณใกล้ๆ กับหมู่บ้านนั้น และต่อมาก็เดินทางกลับวัดซากหมากฯ โดยไม่ได้กระเพรา ๗ อ้อมมาตามต้องการ เพราะไม่พบว่ามีอยู่ที่ใดเลย
    ส่วนเรื่องที่พบคนเอาขนมจีนมาถวายกลางป่าทั้งๆ บริเวณใกล้ๆ นั้นไม่มีบ้านคนเลยก็คงเป็นปริศนาให้แปลกใจอยู่ตลอดมา
    สมัยอู่ตะเภามีฐานทัพอเมริกันตั้งอยู่ ได้มีฝรั่งนิโกร ซึ่งเป็นทหารนักบินคนหนึ่งมีเมียเช่าเป็นคนไทยภาคอีสาน ได้พากันไปหาหลวงพ่อที่วัด แล้วเช่าพระกริ่งรูปเหมือนของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวเป็นประจำ และมีอยู่ครั้งหนึ่งทหารฝรั่งนิโกรคนนี้ได้ถูกคำสั่งให้ขับเครื่องบินไปนครพนม แต่บังเอิญไปเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกระหว่างทาง เครื่องบินนั้นได้รับความเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทหารที่ไปด้วยกันก็เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสกันทุกคน แต่ฝรั่งนิโกรซึ่งเป็นนักบินคนนี้ไม่ได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย จึงบังเกิดความเลื่อมใสหลวงพ่อเป็นอย่างมาก เมื่อมีโอกาสจะต้องมาหาหลวงพ่อที่วัดเป็นประจำ เมื่อวัดหลวงพ่อมีงานก็จะมาช่วยงานอย่างแข็งขันทุกครั้งไป เมื่อถูกส่งกลับไปอเมริกาแล้วก็ยังส่งเงินมาถวายหลวงพ่ออยู่เนืองๆ
    มีอยู่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าวัยรุ่นย่านบางรักกรุงเทพฯ ยกพวกต่อยตีกันเป็นมวยหมู่ มีการบาดเจ็บกันเป็นระนาว แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่เป็นอะไรเลยทั้งๆ ที่ได้เข้าไปประจัญบานกับเขาด้วยอย่างเมามัน ซึ่งภายหลังปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บนั้นล้วนแต่มี ”สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ทั้งนั้น สอบถามได้ความว่าเคยร่วมคณะกฐินจากกรุงเทพฯ ซึ่งไปทอดที่วัดซากหมากฯ แล้วเช่า“สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวกันคนละตัว ซึ่งครั้งแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ จนได้ประสบเหตุเข้ากับตัวเองจึงเชื่อและพาพรรคพวกเพื่อนฝูงเดินทางไปขอเช่าที่วัดกันอีกหลายคนด้วยกัน แต่หลวงพ่อก็เตือนว่า ”ถ้ารังแกข่มเหงเขา สิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ”
    ตามธรรมดาทุกๆ ปี ที่วัดซากหมากฯ จะต้องมีงานประจำปีและมีอยู่ปีหนึ่งหลวงพ่อได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นรุ่นแรก ได้มีทหารจำนวนหนึ่งไปเที่ยวงานและเช่าพระกริ่งนี้คนละองค์แล้วชวนกันไปหลังโรงเรียนวัดซากหมากซึ่งอยู่ใกล้วัดนั้นเอง เพื่อจะทดลองความศักดิ์สิทธิ์ดูให้แน่ใจ จึงได้นำเอาพระกริ่งของหลวงพ่อออกมาวางรวมกันแล้วยิงด้วยปืน .๓๘ ก็ปรากฏว่ายิงกี่ครั้งๆ ก็ไม่ออก แต่เมื่อเบนปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออกทุกนัด ทหารเรือกลุ่มนั้นจึงกลับเข้ามาในวัดและขอเช่าเพิ่มกันอีกจนเงินหมดกระเป๋า เมื่อกลับไปแล้วยังได้บอกกล่าวให้บรรดาเพื่อนฝูงพากันมาเช่ากันไปไว้ประจำตัวอีกมากมาย และตั้งแต่นั้นมาเมื่อหลวงพ่อมีงานอะไรขึ้น บรรดาทหารเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบจะมาช่วยกันอย่างมากมายทุกครั้งไป
    เมื่อนายสงั่น ไตร่ตรอง ได้เป็นกำนันตำบลสำนักท้อนใหม่ๆ เคยขับรถยนต์ไปธุระที่สมุทรปราการพร้อมกับลูกบ้านอีก ๘ คนแต่พอรถไปถึงโค้งบางปิ้งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโค้งผีสิง จะด้วยเหตุอันใดก็ไม่อาจทราบได้รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำไปหลายตลบ เผอิญมีตำรวจอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์เข้าคิดว่าจะต้องมีคนในรถได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายแน่ๆ จึงรีบวิ่งเข้าไปเพื่อจะช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน แต่เมื่อเข้าไปถึงก็ต้องประหลาดใจอย่างมาก เพระไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดที่อยู่ในรถคันนั้นได้รับบาดเจ็บกันเลย ซึ่งต่อมาเมื่อมีการสอบถามกันขึ้นด้วยความสงสัย จึงทราบว่าทุกคนที่ไปกันในรถคันนั้นต่างก็มี “สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อหอมติดตัวกันทั้งนั้น
    วิทยาเวทย์ที่เป็นคุณวิเศษของหลวงพ่อหอมวัดซากหมากอีกประการหนึ่งที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยได้เรียนรู้มาก่อนคือ”การต่อชะตาดิน” ซึ่งคุณวิเศษนี้ก็เป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างมากทีเดียว คือ หากที่ดินของผู้ใดที่เคยอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการใดๆ มาก่อน เกิดอาการเสื่อมโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ดีเหมือนเดิม หรือกิจการบนดินนั้นเสื่อมโทรมลง หลวงพ่อก็จะไปทำพิธี ”ฝังหิน” ให้ แล้วกิจการบนที่ดินแห่งนั้นก็จะกลับคืนเป็นคุณแก่เจ้าของดั่งเดิมอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ซึ่งวิชาต่อชะตาดินนี้ได้เคยมีบรรดาศิษย์อยากจะเรียนจากหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อก็บอกว่าผู้ที่จะเรียนได้จะต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น และเมื่อเรียนแล้วก็จะต้องตั้งมโนปนิธาณด้วยว่า “จะบวชจนตายในผ้ากาสาวพัตร์” คือจะสึกออกไปครองเพศฆราวาสไม่ได้อย่างเด็ดขาด ถ้าผิดไปจากนี้แล้วจะต้องถูก”ฟ้าผ่า”ทันที จึงไม่มีใครกล้าพอที่จะเรียนต่อจากท่าน เพราะการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ใช่เป็นของง่ายนักที่จะประกาศตนว่าจะไม่สึกไว้ล่วงหน้า
    นอกจากหลวงพ่อหอมวัดซากหมากจะเป็นผู้มีวิทยาคุณในทางเครื่องรางของขลังแล้ว ท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดอีกด้วย ทั้งนี้เพราะท่านได้เคยศึกษาเล่าเรียนมาจากบิดาของท่านซึ่งเป็นแพทย์ประจำตำบล ในสมัยเมื่อท่านยังเป็นฆราวาสอยู่
    ตามธรรมดาทุกๆ วันจะมีคนป่วยด้วยโรคต่างๆ มาหาท่านที่วัดเพื่อขอให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าโรคร้ายเหล่านั้นให้หาย วันหนึ่งๆ ถึง๔๐-๕๐ คน หลวงพ่อจึงเป็นพระภิกษุผู้ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง ทั้งที่เป็นคนไทย จีน แขกซิกส์ และฝรั่ง ดังจะเห็นได้จากเมื่อหลวงพ่อมรณภาพได้มีผู้หลั่งไหลกันไปเคารพศพของท่านอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในวันถวายน้ำสรงศพของท่าน เจ้าหน้าที่ได้จัดให้เรียงแถวกันเข้าไป ต้องใช้เวลาถึงสามชั่วโมงเศษจึงหมดคนที่ไปถวายน้ำสรงท่าน
    หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค อดีตเจ้าอาวาสวัดซากหมาก หมู่ที่ ๒ ตำบลสำนักท้อน กิ่งอำเภอบ้านฉาง (ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง) จังหวัดระยอง เดิมชื่อ หอม ทองสัมฤทธิ์ เกิดวันจันทร์ เดือน๑๐ ปีขาล พุทธศักราช๒๔๓๓ เป็นบุตรของนายสัมฤทธิ์ กับนางพุ่ม ทองสัมฤทธิ์
    มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสามคน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง พี่ทั้งสองคนเป็นหญิง คนโตชื่อ นางวอน คนรองชื่อนางเชื่อม เมื่อเยาว์วัยอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่บ้านเกิดของท่านเอง ส่วนในการศึกษาเบื้องต้นนั้นเป็นน่าเสียดายที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านได้ศึกษากับใครที่ไหน เพราะในสมัยนั้นโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญ เช่นบ้านเกิดหลวงพ่อ คงยังไม่มีตั้งขึ้นแน่นอน
    การดำรงชีพของหลวงพ่อในสมัยนั้นก็เป็นการช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่และเก็บของป่าขายในตัวตลาด ซึ่งการเดินทางไปตลาดบ้านฉางหรือตลาดสัตหีบในสมัยนั้นลำบากมาก เพราะยังไม่มีถนนอย่างเช่นในปัจจุบัน ต้องอาศัยทางเกวียน ซึ่งผ่านป่าดงดิบ แวดล้อมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ถ้าเป็นฤดูฝนด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความลำบากเป็นทวีคูณ และคงจะเป็นเพราะว่าหลวงพ่อเคยมีชีวิตจำเจอยู่แต่ในป่าดงดิบนี่เอง จึงทำให้ท่านพยายามพัฒนาป่าให้กลับกลายเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญขึ้นในทุกๆ ด้าน โดยท่านเห็นว่าหากมีถนนตัดจากจากที่เจริญเข้าสู่หมู่บ้านได้เมื่อใด ความเจริญนั้นก็ต้องขยายตัวของมันเองตามถนนไปด้วยอย่างแน่นอน จึงได้ร่วมกับ นายหยอย สุวรรณสวัสดิ์กำนันตำบลสำนักท้อนคนก่อน ชักนำชาวบ้านช่วยกันตัดถนนจากบ้านฉาง เข้าไปจนถึงบ้านซากหมากระยะทาง ๑๒ กิโลเมตรจนสำเร็จ และถนนสายนี้ในปัจจุบันได้กลายเป็นถนนสายอเนกประสงค์แล้วอย่างสมบูรณ์
    เมื่อหลวงพ่ออายุครบ๒๑ปี ก็โอกาสทำหน้าที่ของลูกชายไทยอย่างเต็มภาคภูมิด้วยการได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในกองทัพเรือ ในสมัยที่ฐานทัพเรือยังตั้งอยู่ที่บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสังกัดอยู่หน่วยไหนและใครบ้างที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน ทราบแต่เพียงว่าในขณะที่ท่านรับราชการอยู่นั้นไม่เคยถูกลงโทษฐานกระทำผิดวินัยเลย ทั้งไม่เคยมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับบรรดาเพื่อนๆ ด้วย ตรงกันข้ามกับเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูงทุกคน เพราะปกติท่านเป็นคนมีนิสัยเยือกเย็น สุขุมและโอบอ้อมอารีต่อทุกคนอยู่แล้ว
    เมื่อรับราชการทหารครบ ๒ปีทางราชการก็ปลดออกจากประจำการ จึงกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพที่บ้านสำนักท้อนตามเดิม และในช่วงนี้เองก็ได้แต่งงานกับ นางเจียม ซึ่งเป็นหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกันนั้น และมีบุตรด้วยกัน ๓ คนคือ นายพิน ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่ง ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่น ทองสัมฤทธิ์
    การครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนของหลวงพ่อ ได้เป็นไปอย่างธรรมดาเรื่อยๆ มาโดยพร้อมกันนั้นก็ได้พยายามถ่ายทอดวิชารักษาโรคต่างๆ จากบิดาไปด้วยจนมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปจากบิดาของท่านแต่อย่างใด แล้วก็ได้ใช้วิชาความรู้นี้ช่วยเหลือเพื่อนบ้านตลอดมา
    หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙อายุ ๓๖ ณ พัทธสีมาวัดทับมา ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีหลวงพ่อขาว วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นอนุสาวนาจารย์
    เมื่อหลวงพ่อหอมอุปสมบทใหม่ๆ ยังเป็นนวกภิกษุผู้น้อยด้วยคุณวุฒิไม่อาจจะปกครองตนเองและผู้อื่นได้ จึงยังจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้นในฐานะอันเตวาสิกของหลวงพ่อชื่น อยู่ที่วัดมาบข่า แต่เพียงชั่วระยะ ๒ พรรษาเท่านั้นหลวงพ่อหอมก็เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างน่าอัศจรรย์ เนื่องจากเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลิศยากที่จะหาพระภิกษุรูปใดในรุ่นเดียวกันเสมอเหมือนได้ แม้หลวงพ่อชื่นเองก็ยังเคยปรารภให้พระภิกษุรูปอื่นๆ ฟังว่า ”อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ”และต่อมาหลวงพ่อหอมก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อผู้มีชื่อเสียงหอมทวนลมจริงดั่งคำของหลวงพ่อชื่นนั้น
    เมื่อหลวงพ่อหอมได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระอาจารย์เบื้องต้นไปอยู่ที่วัดซากหมากใกล้ๆ บ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ได้พยายามค้นคว้าศึกษาพุทธเวทย์เพิ่มเต็มอย่างจริงจังจนบังเกิดผลดังที่ได้ประจักษ์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์อย่างถ้วนหน้าแล้วนั้น
    นอกจากท่านจะได้สร้างวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธ์ เพื่อให้ผู้มีไว้บูชาบังเกิดที่พึ่งทางใจอย่างได้ผลแล้วก็ยังได้สร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้ในวัดอีกหลายประการด้วยกัน เช่น อาคาร ศาลา หอระฆัง หอไตรกลางสระน้ำและอีกหลายๆ อย่างที่ท่านได้สร้างไว้
    ด้วยความที่หลวงพ่อหอมเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีให้ปรากฏในศาสนจักรและราชอาณาจักรมากมายนี่เองจึงได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เป็นพระครูภาวนานุโยค ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ นับเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งแก่หลวงพ่อและบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วหน้ากันและในโอกาสนี้เองที่หลวงพ่อหอมได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนแหนบบูชารูปเหมือน (ชนิดสั้น) รูปปั้นเหมือนองค์จริงแบบบูชาเป็นรุ่นแรกขึ้น กับได้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นสองแบบหน้านูนครึ่งองค์ด้านหลังเหมือนกับเหรียญรุ่นแรกพร้อมกับแหวนทองแดงรูปเหมือนและแบบเดียวกับที่สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๘
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญเสมาหลวงพ่อหอม
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250105_143858.jpg
    IMG_20250105_143920.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...